ที่พำนักของจินตนาการ (Imagination Sanctuary) โดย ภูทิป จันทรักษา 7 - 21 กันยายน 2562

พุธ ๐๔ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๗:๐๐
ริชาร์ต โคห์ โปรเจกต์ มีความยินดีที่จะนำเสนอนิทรรศการเดี่ยวของ ภูทิป จันทรักษา (เกิดปีพ.ศ. 2538) ในประเทศไทย ในนิทรรศการที่มีชื่อว่า 'ที่พำนักของจินตนาการ (Imagination Sanctuary)' จะมีตั้งแต่วันที่ 7-21 กันยายน 2562 ศิลปินจะนำเสนอภาพวาด 6 ผลงานล่าสุดของเขา ด้วยเทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ

นิทรรศการ "ที่พำนักของจินตนาการ" โดย ภูทิป จันทรักษา (เกิดปีพ.ศ. 2538 ที่ประเทศไทย) เป็นการพูดถึงคำกล่าวที่ว่า ที่พำนักของจินตนาการ คือ "ชายขอบของความจริง" จากหนังสือ "ศิลปะแฟนตาสติก" โดย วอลเตอร์ ชูเรียน โดยคำว่า "ชายขอบ" ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงคำว่า "ชายขอบของความจริง" จึงสื่อความหมายได้มากมาย เช่น ความจริงอันไม่เป็นที่ยอมรับหรือยากที่จะยอมรับ ในนิทรรศกาของเขา ภูทิปดัดแปลง และทำให้ความเหมือนจริงตามธรรมชาติ นั้นบิดเบี้ยวไปจากเดิม ซึ่งเปรียบเสมือนชายขอบของความจริง โดยภูทิปลดทอนความ เหมือนจริงลงให้เหลือเพียงรูปร่าง รูปทรง ในการลดทอน ความ เหมือนจริงของวัตถุนั้นลง แต่ยังสร้างอารมณ์ความรู้สึกอันหลากหลายให้เกิดขึ้นใน งานศิลปะของเขาด้วย

เมื่อกล่าวถึงคำาว่า "ที่พำนักของจินตนาการ" อาจสื่อได้ว่าในจินตนาการมีความจริงหลักเป็น พื้นฐานความคิดอยู่ หรือมีขอบเขตของสังคมที่ควบคุมความเป็นจริงศิลปินจึง ต้องการนำเสนอจินตนาการที่เป็นชายขอบของความจริงออกมาในรูปแบบงานศิลปะ เพื่อ ให้เป็นที่อยู่ของความจริงชายขอบดังกล่าว ดังนั้นนิทรรศการนี้จึงเป็นการ ถามถึงที่พำนักสำหรับจินตนาการ คือพื้นที่ใด อาจจะเป็นเฟรมผ้าใบที่ศิลปินถ่ายทอด จินตนาการลงไป หรือผู้ชมที่ใช้จินตนาการเพื่อรับชมงานศิลปะในนิทรรศการนี้

รูปทรงของภาพวาดภูทิปมีทั้งรูปแบบที่คุ้นเคย และแปลกปลอม กลายร่างมาจากความรวดเร็วในเทคนิคการปัดแปรงสี ที่จับภาวะจิตใจของศิลปินในขณะกำลังสร้างผลงาน สีสันยังคงทำหน้าทีสำคัญสำหรับศิลปะของเขา และยังใช้พรรณาความคิดบางอย่างเกี่ยวกับความเป็นจริง โดยเฉพาะสีเข้มและสีสด ได้ถูกใช้ให้กระตุ้น 'จินตนาการ' ของผู้ชม แนวคิดดังกล่าวสนับสนุนให้เข้าใจได้ว่า รูปทรงลักษณะในแบบ ประติมากรรมกึ่งนามธรรมเป็นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นในศิลปะของภูทิป

สิ่งที่โดดเด่นและเป็นเสน่ห์หลักในผลงานศิลปะของภูทิปคือการถ่ายทอดมาในรูปแบบ Expressionism ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะอเมริกัน โดยเฉพาะจากศิลปินอย่าง แจ็คสัน พอลล็อก นอกจากนี้มีการใช้ฝีแปรงที่รุนแรง และรูปทรง ที่บิดเบี้ยวไปจากรูปทรงธรรมชาติ ภูทิปได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานที่มาจากจิตใต้สำนึก ภูทิปยังได้รับอิทธิพลจากจิตรกรรูปลักษณ์ชาวไอริชอย่าง ฟรานซิส เบคอน ที่ใช้เทคนิคในการสร้างงานศิลปะอันหลากหลาย เช่น การปล่อยให้สีเคลื่อนไหวอย่างอิสระ การสะบัดพู่กัน โดยศิลปินทั้งสองมีอิทธิพลต่อภูทิปเป็นอย่างมากในฐานะศิลปินใหม่สร้างชื่อเสียงของตนเอง

ริชาร์ต โคห์ ไฟน์ อาร์ต เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 มีพื้นที่จัดแสดงในเมืองกัวลาลัมเปอร์ กรุงเทพ และสิงคโปร์ ริชาร์ต โคห์ ไฟน์ อาร์ต เป็นผู้สนับสนุนศิลปะร่วมสมัยตะวันออกเฉียงใต้ในระดับภูมิภาคและแพล็ตฟอร์มระดับนานาชาติ โดยมีความเชื่อเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพและการงานของศิลปิน แกลอรี่มุ่งค้นหาและพร้อมที่จะมอบโอกาสให้ศิลปินที่มีความสามารถ เพื่อพวกเขาจะได้นำผลงานศิลปะมาจัดแสดง ผ่านนิทรรศการในรูปแบบสิ่งพิมพ์และดิจิตอลรวมถึงการร่วมมือกับแกลอรี่ระหว่างประเทศ ริชาร์ต โคห์ ไฟน์ อาร์ต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ แคสเปอร์สกี้เผย บริษัทมากกว่าครึ่งในเอเชียแปซิฟิกใช้ AI และ IoT ในกระบวนการทางธุรกิจ
๑๗:๑๔ พร้อมจัดงาน สถาปนิก'67 ภายใต้ธีม Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
๑๗:๓๓ โรงแรมชามา เลควิว อโศก กรุงเทพฯ จัดโปรโมชั่นฉลองเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๓๘ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยชาวสระแก้ว มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝน ณ
๑๗:๔๙ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร พร้อมมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 ท่าน
๑๗:๑๘ แน็ก ชาลี - มุก วรนิษฐ์ ชวนเปิดประสบการณ์ความเฟรช ในงาน Space of Freshtival 30 มีนาคมนี้ ที่ สยามสแควร์วัน
๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ