กษ. เปิดเวที ดึงภาคีเครือข่ายระดมความเห็น ทบทวนแผนเกษตรอินทรีย์ ปี 60-65

พฤหัส ๐๕ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๑:๓๙
วันนี้ (5 กันยายน 2562) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การทบทวนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2564 สู่แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2560-2565 ว่าประเทศไทยได้มีการประกาศยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2561 เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล และใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน ดังนั้น ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงได้จัดให้มีการทบทวนสาระสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2564 เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

ด้านนางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวเสริมว่า การจัดประชุม เชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 2 จัดขึ้นเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในวงกว้างอีกครั้ง โดยเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา และผู้แทนเกษตรกร ไปแล้วครั้งหนึ่ง ณ จังหวัดนครปฐม และได้ปรับเปลี่ยนชื่อ "ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564" เป็น "แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2560-2565" เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในการจัดทำแผนภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

ทั้งนี้ ปัจจุบันแนวทางของเกษตรอินทรีย์เป็นที่ตระหนักและทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจากเกษตรอินทรีย์ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของเกษตรกรรมยั่งยืน ใช้หลักการพึ่งพิงความสมดุลตามธรรมชาติ มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้สินค้าเกษตรอินทรีย์มีความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค และได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดบางประการ ทำให้ประเทศไทยยังไม่สามารถขยายการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในแต่ละปีได้มากนัก ประกอบกับสินค้าเกษตรอินทรีย์ภายในประเทศมีราคาค่อนข้างสูงและยังหาไม่ได้ในตลาดทั่วไป ดังนั้น การขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของไทย จำเป็นต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วน ตั้งแต่เรื่องเมล็ดพันธุ์ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์อินทรีย์ ปัจจัยการผลิต สารชีวภัณฑ์ต่างๆ การจัดทำฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์ การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร และการส่งเสริมการตลาดและช่องทางการจำหน่ายสินค้าอย่างเป็นระบบ การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ภาคีเครือข่ายจะนำเสนอประเด็นการพัฒนาในด้านต่างๆ และเปิดเวทีให้ร่วมกันระดมความคิดเห็น ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายการทำงานที่เข้มแข็ง เพื่อให้แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2560-2565 มีความสมบูรณ์และครอบคลุมในทุกประเด็นมากยิ่งขึ้น สำหรับเกษตรกร และท่านที่สนใจข้อมูล แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2560-2565 สามารถสอบถามได้ที่ส่วนนโยบายและแผนพัฒนาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โทร. 0 2940 6487-8 ในวันและเวลาราชการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๘ เม.ย. หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๘ เม.ย. คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital