อยากวิ่งนำต้องทำตาม!! ก้าวสู่อุตฯ อัจฉริยะยุคใหม่ ต้องใส่ใจ 4 ความ “สมาร์ท” แบบญี่ปุ่น

ศุกร์ ๐๖ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๔:๒๓
ในช่วงเวลาที่อุตสาหกรรมกำลังมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาแทบจะตลอดเวลา สิ่งหนึ่งที่ถูกพูดถึงอย่างมากก็คือ การนำ"ระบบอัจฉริยะ" หรือที่เรียกกันอย่างสั้นๆว่า "สมาร์ท" เข้ามาเป็นเฟืองหลักสำหรับขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ก้าวไปสู่ Smart Industry หรือ โรงงานอัจฉริยะ ไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิตที่มีความทันสมัย การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เอื้อต่อการทำงานให้สะดวก ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งในเรื่องของการประหยัดพลังงานและการใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยระบบสมาร์ทเหล่านี้นับเป็นสิ่งที่หลาย ๆ สถานประกอบการควรหันมาใช้และให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยสร้างทั้งภาพลักษณ์ การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเพื่อให้รับมือได้ทันกับบริบทโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง

ประเทศหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับการนำระบบ "สมาร์ท" มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมคือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะเห็นได้จากการนำระบบไอโอที หุ่นยนต์ เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย และระบบการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆมาใช้ในการดำเนินงานหลายๆประเภท โดยระบบสมาร์ทต่างๆของญี่ปุ่นยังเป็นต้นแบบและถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมของหลายๆประเทศ รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรมในไทย นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการจัดงานนิทรรศการและงานแฟร์ด้านเครื่องจักรและระบบการผลิตทีทันสมัย เพื่อแบ่งปันข่าวสารข้อมูล ตลอดจนกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมได้เรียนรู้เทคโนโลยีนวัตกรรมที่จำเป็น ทั้งนี้ จากความใส่ใจในกระบวนการดังกล่าว จึงไม่น่าแปลกใจที่วันนี้ประเทศญี่ปุ่นจะยังคงไว้ซึ่งสถานะความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมระดับแถวหน้าของโลก

นายทาดาชิ โยชิดะ ประธานสมาคมบริหารจัดการประเทศญี่ปุ่น หรือ JMA กล่าวว่า Smart Industry จะไม่ใช่แนวคิดในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอีกต่อไป หากแต่จะเป็นพัฒนาการและการปฏิวัติรูปแบบโรงงานแบบใหม่ ที่หลายๆระบบจะต้องมีความเป็นอัจฉริยะ มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ชาญฉลาด และมีเครื่องจักร หรือกระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในการก้าวไปสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะนั้น สถานประกอบการต่างๆจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติของความเป็น "SMART" 4 ประเภท ได้แก่

- Smart People คือการพัฒนากำลังคนให้มีทักษะและมีความพร้อมกับการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมในยุคใหม่อยู่เสมอ ซึ่งควรจะเริ่มตั้งแต่ในสถาบันการศึกษา เช่น ทักษะการเขียน Coding ทักษะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเฉพาะทาง การผลิตวิศวกรที่สามารถรองรับความต้องการและผลกระทบทางอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น วิศวกรด้านความเสี่ยง วิศวกรการเงิน วิศวกรด้านไอโอที นอกจากนี้ยังควรจะต้องพัฒนาความสามารถเฉพาะทางที่หุ่นยนต์ หรือ AI ไม่สามารถทดแทนมนุษย์ได้ เพื่อรับมือกับแนวโน้มการถูกแทนที่แรงงานด้วยเครื่องมือดังกล่าวในอนาคต

- Smart Technology & Innovation โดยเป็นการนำระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ในทุกกระบวนการทางอุตสาหกรรม เพื่อให้ผลลัพธ์ในกระบวนการผลิตและการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและลดผลเสียให้น้อยลงที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีที่มีความจำเป็นสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในยุคใหม่คือ IoT (Internet of Things) เป็นการนำระบบอินเทอร์เน็ตมาเชื่อมโยงกับระบบต่างๆภายในสถานประกอบการ เพื่อให้การสั่งการทำงานง่าย รวดเร็ว และสามารถกระทำได้ในทุกที่ทุกเวลา ส่วนต่อมาคือ Big Data ซึ่งจะเป็นระบบที่วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทำนายพฤติกรรม การเตือนภัย แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงช่วยในการตัดสินใจให้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามด้วย หุ่นยนต์ ซึ่งจะมีหน้าที่ในการทำงานทดแทนส่วนที่มนุษย์ไม่สามารถกระทำได้ เช่น การทำงานในพื้นที่หรือบรรยากาศที่มีความเสี่ยง การผลิตที่มีความต่อเนื่องหรือระยะเวลาที่ยาวนาน Blockchain ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ความลับของบริษัท การเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ และสุดท้ายคือระบบ AI ซึ่งเป็นระบบที่มีความขำนาญเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์คุณภาพของสินค้า การคำนวณ การตรวจจับความผิดพลาดจากการดำเนินงาน เป็นต้น

- Smart Maintenance หรือระบบบำรุงรักษาอย่างชาญฉลาด ซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่างวิศวกรรมการซ่อมบำรุงรักษา ระบบการบริหารจัดการการผลิต ระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์ข้อมูล การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต Cloud Computing และ Big Data พร้อมนำข้อมูลสารสนเทศ ต่าง ๆ มาใช้ในการวิเคราะห์และทำนายล่วงหน้าว่าเครื่องจักรหรือสายการผลิตใดมีแนวโน้มที่จะมีปัญหา โดยในการยกระดับ Smart Maintenance ดังกล่าว จะช่วยให้ทราบถึงข้อมูลสภาพการทำงานของเครื่องจักรและเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้น ทำให้ดำเนินการแก้ไขป้องกันปัญหาได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การมีระบบบำรุงรักษาอย่างชาญฉลาดยังช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งภาคอุตสาหกรรมไทยยังถือว่ายังมีค่าใช้จ่ายในด้านนี้ปีละไม่ต่ำกว่าหลักแสนล้านบาท

- Smart Environment & Community ซึ่งเป็นการจัดการบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงาน เช่น พื้นที่ที่สามารถแลกเปลี่ยนแนวความคิดเพื่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เช่น นวัตกรรม เทคโนโลยีให้เกิดขึ้นในองค์กร รวมทั้งให้ความสำคัญในการบริหารจัดการ หรือมีโซลูชั่นที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เทคโนโลยีในการกำจัดมลพิษทั้งทางบก น้ำ อากาศ นวัตกรรมการนำกลับมาใช้ใหม่ การกำจัดกากขยะอุตสาหกรรมและกากขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมกับชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเติบโตและยั่งยืน

นายทาดาชิ กล่าวเสริมว่าประเทศญี่ปุ่น นอกจากจะให้ความสำคัญกับความ "SMART" ในด้านต่างๆแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่องคือ การจัดงานแฟร์และนิทรรศการด้านอุตสาหกรรม โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นเสมือนเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ ประสบการณ์ และกระตุ้นให้ภาคเอกชนมีความตื่นตัวที่จะแข่งขันการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ทั้งยังเป็นการเผยแพร่ภาพลักษณ์อุตสาหกรรมของประเทศให้ดูมีความทันสมัยและเปี่ยมไปด้วยการพัฒนาที่ไม่เคยหยุดนิ่ง พร้อมที่จะรักษามาตรฐานและประสิทธิภาพที่ดีอยู่เสมอ ทั้งนี้ หนึ่งในนิทรรศการด้านอุตสาหกรรมที่ได้การยอมรับ และถูกจัดมาอย่างต่อเนื่องคือ Maintenance & Resilience Tokyo ซึ่งเป็นงานที่ให้ความสำคัญกับระบบการซ่อมบำรุงรักษา เทคโนโลยีที่จำเป็นในการผลิต อุปกรณ์ เทคโนโลยี และโซลูชั่นในการบำรุงรักษาโรงงานและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆที่จำเป็น โดยมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ของญี่ปุ่นให้ความสนใจในการนำเทคโนโลยีมาจัดแสดง พร้อมด้วยการสัมมนาให้ความรู้จากภาครัฐและเอกชน และได้ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาเกือบ 60 ปี

ทั้งนี้ JMA ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพ ความเป็นพันธมิตร และความสำคัญของการเป็นฐานด้านการผลิตของไทย จึงได้มีความคิดริเริ่มที่จะนำงาน Maintenance & Resilience Tokyo มาจัดครั้งแรกในประเทศไทยภายใต้ชื่อ Maintenance & Resilience Asia 2019 หรือ MRA 2019 โดยการจัดงานดังกล่าว JMA มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่นที่มีฐานการผลิตในไทย โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รวมทั้งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีศักยภาพที่ดีทัดเทียมกับญี่ปุ่น นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังจะช่วยให้ไทยก้าวไปสู่ศูนย์กลางแห่งความทันสมัยในด้านกระบวนการผลิต การบำรุงรักษา และนวัตกรรมเทคโนโลยี และช่วยกระตุ้นให้ประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียนเดินหน้าในทิศทางเดียวกัน ซึ่งงานดังกล่าวจะถูกจัดขึ้นในวันที่ 2 – 4 ตุลาคม 2562 ณ ไบเทค บางนา นอกจากจะมีการจัดแสดงเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากญี่ปุ่นแล้ว ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานสำคัญต่างๆ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัทเอกชนต่างๆ มาร่วมขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตไปอีกระดับ

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เอ็กซโปซิส จำกัด โทรศัพท์ 02 – 5590856 อีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest