ผลติดตามปลูกพืชหลากหลายแทนนาปรัง ช่วยเกษตรกรเพิ่มรายได้ มั่นใจปีหน้าเข้าร่วมต่อเนื่อง

อังคาร ๑๐ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๐:๓๓
นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการประเมินโครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2562 ซึ่งมีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นเจ้าภาพหลัก เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรลดรอบการทำนาในฤดูนาปรัง สร้างรายได้จากการปลูกพืชอื่นทดแทนการปลูกข้าว และสร้างโอกาสให้เกษตรกรได้เรียนรู้การเพาะปลูกพืชอื่นในพื้นที่นา โดยดำเนินการสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวไปปลูกพืชที่หลากหลาย ไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ มีระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ ตุลาคม 2561 - มิถุนายน 2562 พื้นที่เป้าหมาย 53 จังหวัด รวม 13,500 ครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่เป้าหมาย 200,000 ไร่

ผลการติดตามการดำเนินโครงการ พบว่า มีเกษตรกรที่ร่วมโครงการและปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวนาปรังไปปลูกพืชอื่นใน 48 จังหวัด (ร้อยละ 91 ของเป้าหมาย) จำนวน 21,919 ครัวเรือน (ร้อยละ 162 ของเป้าหมาย) พื้นที่ 162,763 ไร่ (ร้อยละ 81 ของเป้าหมาย) ครอบคลุมพื้นที่นา ทุกภาคของประเทศยกเว้นภาคใต้ โดยพบว่า เกษตรกรร้อยละ 78 เข้าร่วมโครงการในปี 2560 - 2561 และปรับเปลี่ยนการผลิตอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ส่วนเกษตรกรร้อยละ 22 เป็นเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นปีแรก โดยมีพื้นที่เฉลี่ยครัวเรือนละ 7.25 ไร่ ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการปรับเปลี่ยนการผลิตเฉลี่ย 7,250 บาท/ครัวเรือน

จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 320 ราย ในพื้นที่ 18 จังหวัด (เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี ปทุมธานี ชัยภูมิ อุบลราชธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สกลนคร หนองบัวลำภู นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสุพรรณบุรี) ระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2562 พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวผลผลิตในโครงการแล้ว โดยพืชที่เกษตรกรปรับเปลี่ยนทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง ได้แก่ ถั่วเขียว พืชผัก ถั่วเหลือง ข้าวโพดหวาน ถั่วลิสง พืชอื่นๆ (เช่น แตงโม แตงไทย) และข้าวโพดฝักอ่อน ตามลำดับ ซึ่งภายหลังการจำหน่ายผลผลิตเกษตรกรมีรายได้เฉลี่ย 4,205 บาท/ไร่ สูงกว่าการปลูกข้าวนาปรังถึง 2,700 บาท/ไร่

ภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการในระดับมาก โดยร้อยละ 89 มีความตั้งใจที่จะเข้าร่วมโครงการในปีถัดไปอย่างแน่นอน ซึ่งสิ่งที่จูงใจให้เกษตรกรตัดสินใจปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวนาปรังมาปลูกพืชอื่นทดแทนมากที่สุด คือ การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ รองลงมาคือ การมีปริมาณน้ำเพียงพอ รายได้หรือผลตอบแทนที่ได้รับสูงขึ้น รวมทั้งต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงมากนัก อย่างไรก็ตาม พบว่า มีเกษตรกรร้อยละ 48 ประสบปัญหาด้านราคาผลผลิตต่ำ ดังนั้น การดำเนินโครงการในระยะต่อไป ควรมีมาตรการในการบริหารจัดการผลผลิตควบคู่กับการปรับเปลี่ยนปลูกพืชเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๓ เซ็นทารา เปิดตัว โคซี่ เวียงจันทน์ น้ำพุ โรงแรมไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ ใจกลางเมือง พร้อมอิสระแห่งการเดินทาง
๑๐:๐๙ THE GAIN ยกขบวนวิทยากรระดับประเทศ มุ่งสู่งานสัมมนา การเทรดและลงทุนปี 2024
๑๐:๒๗ W เผย IFA หนุนเพิ่มทุน 2.5 พันล้านหุ้นขาย PP รับแผนเข้าถือหุ้นฟรุตต้าฯ 51% พร้อมปลดล็อก CBC
๑๐:๓๐ ผถห.TFG โหวตหนุนแจก TFG-W4 ฟรี! อัตรา 10 : 1 ราคาใช้สิทธิ 3.80 บ.พร้อมจ่ายปันผลเงินสด 0.01 บ./หุ้น ปักธงปี 67 รายได้โต 10%
๑๐:๑๙ ASIA เตรียมขายหุ้นกู้มีหลักประกัน มูลค่า 300 ลบ. อายุ 2 ปี อัตราดอกเบี้ย 7 - 7.20% มูลค่าหลักประกันเฉียด 1,600 ลบ. คาดเปิดจองซื้อวันที่ 27 - 29 พ.ค.
๑๐:๓๘ ไมเนอร์ โฮเทลส์ ประกาศรวมอัตลักษณ์องค์กรในระดับโลก ด้วยการรีแบรนด์ เอ็นเอช โฮเทล กรุ๊ป เป็น ไมเนอร์ โฮเทลส์ ยุโรป แอนด์
๑๐:๕๔ ยูนิโคล่ร่วมกับมารีเมกโกะ เปิดตัว UNIQLO x Marimekko คอลเลคชันลิมิเต็ดเอดิชันประจำฤดูร้อน 2024 เติมเต็มความสดใสให้ซัมเมอร์ ในธีม Joyful Summer
๑๐:๔๒ TERA ฟอร์มเจ๋ง! เปิดเทรดวันแรกเหนือจอง 122.86% ลุยให้บริการ T.Cloud รับอนาคตธุรกิจคึกคัก ปักหมุดผลงาน 3 ปีเติบโตเฉลี่ยเกิน
๑๐:๐๙ โบรกฯ แสกน GFC ส่งซิก Q1/67 พุ่ง
๑๐:๐๐ ผถห. WINMED ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.0295 บ./หุ้น-รับเงิน 21 พ.ค.นี้ รุกตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก เพิ่มรายได้ประจำผถห. ตั้งเป้ารายได้ปี 67 โตเกิน 20%