กอปภ.ก.ประสานศูนย์ ปภ.เขต และจังหวัดเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และคลื่นลมแรงในช่วงวันที่ 19 - 23 ก.ย. 62

พฤหัส ๑๙ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๔:๐๕
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประสานหน่วยปฏิบัติในพื้นที่เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และคลื่นลมแรง ในช่วงวันที่ 19 - 23 กันยายน 2562 โดยให้ศูนย์ ปภ.เขต ในพื้นที่ร่วมกับจังหวัดติดตามข้อมูลปริมาณน้ำ การระบายน้ำ และแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกลสาธารณภัยและเครื่องมืออุปกรณ์เข้าประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันที รวมถึงประชาสัมพันธ์แนวโน้มสถานการณ์ภัยแก่ประชาชนผ่านทุกช่องทางการสื่อสาร อีกทั้งแจ้งเตือนประชาชนให้ติดตามสถานการณ์น้ำและปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ติดตามสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำท่า และปัจจัยเสี่ยงเชิงพื้นที่ พบว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศกัมพูชา ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางมีฝนตกเพิ่มขึ้นและฝนหนักบางพื้นที่ ประกอบกับในช่วงวันที่ 22 – 23 กันยายน 2562 ร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 19 - 23 กันยายน 2562 อีกทั้งคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร โดยมีพื้นที่เสี่ยงภัย

แยกเป็น พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ประกอบด้วย ภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี ตราด ภาคกลาง ได้แก่เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร ระนอง พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง ประกอบด้วย ภาคกลาง ได้แก่ ระยอง จันทบุรี ภาคใต้ ได้แก่ ระนอง พังงา และภูเก็ต ซึ่ง กอปภ.ก. ได้ประสานศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตและจังหวัด ในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวเตรียมพร้อมป้องกันและรับมือสถานการณ์ภัย โดยกำชับให้ดำเนินการตามมาตรการและแนวทาง การปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน ระดับน้ำ และแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ควบคู่กับการจัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์เข้าประจำพื้นที่เสี่ยง ให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันที นอกจากนี้ ประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้มงวดมาตรการ ความปลอดภัยทางทะเล โดยเฉพาะการห้ามเดินเรือขนาดเล็ก รวมถึงให้ผู้ควบคุมเรือตรวจสอบความพร้อมของตัวเรือ เครื่องยนต์ จัดเตรียมเครื่องมือประจำเรือและอุปกรณ์ช่วยชีวิตทางน้ำให้พร้อมใช้งาน อีกทั้งกำชับสถานประกอบการในพื้นที่ ริมชายฝั่งทะเลแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวห้ามประกอบกิจกรรมทางทะเลทุกประเภทในช่วงที่มีคลื่นลมแรง ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามพยากรณ์อากาศ และปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน จากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4