4 วิธีการนำเสนอผลงานที่ดีและวิธีการดึงดูดผู้ฟัง

อังคาร ๐๑ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๑๓:๐๐
เคยไหมที่เวลาเราเป็นผู้พูดหรือนำเสนองานต่างๆ แล้วไม่ได้รับความสนใจจากผู้ฟัง? เราจะรู้สึกอย่างไรที่ผู้ฟังไม่สนใจสิ่งที่เรากำลังนำเสนอ หรือเพราะอะไรที่ผู้ฟังเชื่อสิ่งที่เรากำลังพูด อาจจะเพราะเนื้อหาน่าเบื่อเกินไป หรือผู้พูดพูดจนลิงหลับ!! สาเหตุที่แท้จริงแล้วคือ การเตรียมตัวและการโน้วน้าวผู้ฟังไร้ประสิทธิภาพต่างหาก!!

มร.แอนดรูว์ สต๊อฟ ร่วมกับ Bnow.org เน็ตเวิร์คกิ้ง คอมมูนิตี้ สำหรับธุรกิจ จัดงาน "Become a Great Presenter and Increase your Influence" กิจกรรมการเล่าประสบการณ์การทำงานของแอนดรูว์ กว่า 30 ปี ที่ได้สอนวิธีการเป็นผู้นำเสนอผลงานที่ยอดเยี่ยม และช่วยให้ผู้คนสามารถสร้างแรงจูงใจยิ่งใหญ่ไปทั่วโลกได้ แอนดรูว์ได้แชร์เรื่องราวชีวิตถึงการนำเสนอนผลงานของเขาว่า ครั้งหนึ่งได้สร้างอิทธิพลพกับนักเรียนที่เขาได้ไปบรรยายในชั้นเรียน โดยให้ผู้ฟังการบรรยายได้ไตร่ตอรงถึงการนำเสนองานในอนาคตว่าจะมีผลกระทบอย่างไรกับทั้งผู้นำเสนอและผู้ฟังด้วย 4 วิธีสำหรับการเตรียมการนำเสนองานดังนี้

1. ต้องนำเสนองานอย่างมีเป้าหมาย การนำเสนอผลงานที่ดีนั้น จะต้องสรุปสาระสำคัญของสิ่งที่จะนำเสนอ และกำหนดขอบเขตของการนำเสนอให้ชัดเจน เพราะหากปราศจากเป้าหมายแล้ว ผู้ฟังจะรู้สึกว่ามาฟังเพื่ออะไร ทำให้เกิดผลเสียทั้งผู้พูดและผู้ฟัง

2. ต้องมีหลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่ชัดเจน เพื่อพิสูจน์ว่าประเด็นและเรื่องราวที่นำเสนอนนั้น เป็นข้อเท็จจริง สามารถพิสูจน์ได้

3. ต้องสร้างสถานการณ์ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง

4. ต้องเตรียมตัวสำหรับคำถามหรือข้อโต้แย้ง หลังจากนำเสนองานมักเกิดข้อสงสัยจากผู้ฟัง แต่หากเราเตรียมตัวดี นำเสนอให้ผู้ฟังเข้าใจ มักจะไม่เกิดข้อสงสัยหรือคำถามหลังการนำเสนองาน

มร.แอนดรูว์ ได้ยกตัวอย่างวลีของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ผู้บริหารเบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์ ว่า "คุณสามารถมีความรอบรู้ทุกอย่างในโลกได้ แต่คุณต้องสามารถถ่ายทอดออกมาให้ได้เช่นกัน" นอกจากนี้วอร์เรนได้เคยพูดหลายครั้งถึงความสำคัญของการสื่อสารว่า "ถึงแม้ว่าจะมีไอเดียดีแค่ไหน ถ้าไม่สามารถสื่อสารออกมาได้อย่างถูกต้อง ก็ไม่สามารถชักจูงคนอื่นได้เช่นกัน"

การนำเสนองานเป็นสิ่งที่ง่าย แต่มักจะไม่น่าสนใจ เพราะบางคนใช้เวลายาวนานในการนำเสนองานและไม่สามารถชักจูงใครได้เลย เพราะมันอาจจะซับซ้อนเกินไปหรืออาจจะเตรียมตัวไม่ดีพอ ในกรณีที่ไม่มีใครสนใจในสิ่งที่คุณพูด คุณจำเป็นจะทำต้องทำให้ผู้ฟังสนใจในการนำเสนองานของคุณ ผู้ฟังมาฟังการนำเสนองานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับตัวเขาเอง ดังนั้นคุณจำเป็นจะต้องถามตัวเองว่า อะไรคือสิ่งที่ผู้ฟังจะได้กลับหลังจากการนำเสนองานของคุณ มร.แอนดรูว์ กล่าวสรุป

เกี่ยวกับ มร.แอนดรูว์ สต๊อฟ

มร.แอนดรูว์ สต๊อฟ นักวิเคราะห์การเงินและหัวหน้าทีมวิจัยและการเขียนกลยุทธ์การลงทุนและผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัยการลงทุน เอ.สต๊อฟ (A.Stotz Investment Research) ผู้มีประสบการณ์ทำงานในโลกด้านการเงินมาเป็นเวลากว่า 30 ปี แอนดรูว์ ได้รับการคัดเลือกถึง 2 ครั้งในการเป็นนักวิจัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และยังเป็นประธานสมาคม ซีเอฟเอ ไทยแลนด์ อีกด้วย ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.astotz.com

เกี่ยวกับ Bnow

Bnow เน็ตเวิร์กกิ้ง คอมมูนิตี้ สำหรับธุรกิจ เริ่มก่อตั้งขั้นในปี 2546 โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ต้องการสร้างความหลากหลายให้กับสังคม Bnow สร้างกิจกรรมพบปะของนักธุรกิจ และสมาชิกที่ทำงานในกรุงเทพ ให้มีส่วนร่วมและกระตือรือร้นและการคิดบวก โดยมีการพบปะกัน สื่อสาร แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อให้เกิดการติดต่อทางธุรกิจหน้าใหม่ ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Bnow ได้ที่ www.bnow.org

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๒๑ งานวิจัย Kaspersky เผย ผลร้ายจากภัยคุกคามเป็นตัวกระตุ้นรูปแบบพฤติกรรมทางไซเบอร์ของนักการศึกษามากที่สุด
๐๘:๓๓ ซินเน็คฯ จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมกางแผนสร้างการเติบโต สู่เป้ารายได้ 40,000
๐๘:๓๘ BRR ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น แบบ Hybrid ประจำปี 2567 ผถห. เคาะจ่ายปันผล 0.20 บาท/หุ้น - ชูสตอรี่ ESG สู่ความยั่งยืน
๐๘:๑๖ DEMI HAIR CARE SCIENCE เปิดตัวผลิตภัณฑ์ฟื้นฟูผมเสียอย่างล้ำลึก ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด
๐๘:๓๔ ซีอีโอ BBGI ร่วมงาน OECD Global Forum on Technology ขึ้นเวทีเสวนาระดับโลกในหัวข้อ Sustainable Production ที่กรุงปารีส
๐๘:๒๓ ฟันโอ-ทิวลี่ คว้ารางวัล 2023 Top Influential Brands Award สุดยอดแบรนด์ที่ทรงอิทธิพลต่อผู้บริโภคมากที่สุด
๐๘:๔๗ เฮอริเทจ จัดโปรแรง เอาใจคนรักผลไม้ ลดสูงสุดกว่า 15%
๐๘:๕๘ ต้อนรับฤดูร้อนสไตล์เมดิเตอร์เรเนียนกับ GAMBERO ROSSO DI MAZARA กุ้งแดงมาซาร่า-ราชินีแห่งท้องทะเลซิซิลี ที่ห้องอาหารอิตาเลียน
๐๘:๔๐ Tinder ส่งฟีเจอร์ใหม่ Share My Date แชร์แผนการออกเดทในแอพฯ แบบเรียลไทม์ให้เพื่อน-ครอบครัว
๐๘:๐๘ เลี้ยงลูกตามใจ ไม่เคยขัดใจ เด็กอาจเสี่ยงเป็นฮ่องเต้ซินโดรม