“ประภัตร” หนุน “มกอช.” สู่ผู้นำมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารระดับโลก โชว์ผลงานรอบ 17 ปี ปักธงตั้งเป้าเพิ่มจำนวนสัญลักษณ์ Q ทุกเดือน สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค

พุธ ๐๙ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๑๖
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดงาน วันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ครบรอบ 17 ปี ณ มกอช. ว่า มกอช. เป็นหน่วยงานสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและเป็นกลไกลสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายการตลาดนำการเกษตรตามนโยบายหลัก 12 ด้านที่รัฐบาลแถลงไว้ โดยในปี 2563 เป็นปีแห่งการยกระดับคน และการบริหารจัดการมาตรฐานสินค้าเกษตรสู่เกษตร 4.0 จะมุ่งยกระดับด้านระบบมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยสนับสนุนตลาดนำการผลิต มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ตลาดออนไลน์ DGT Farm และระบบตรวตสอบย้อนกลับ QR Trace รวมทั้งเป็นปีที่กระทรวงเกษตรฯต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ก้าวทันการแข่งขันทางการค้า เศรษฐกิจ และกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ด้วยการการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรตามยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี

"มกอช. ถือเป็นหน่วยงานที่สำคัญในระบบภาคการเกษตร ที่เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน Q ที่มีความปลอดภัยก่อนบริโภคอย่างไรก็ตามแม้จะเป็นหน่วยงานเล็กแต่มีความสำคัญและมีผลงานที่โดดเด่น จึงต้องพัฒนาให้เป็นหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับของทั่วโลก ปัจจุบันมีการประกาศใช้มาตรฐานสินค้าเกษตรแล้ว 322 ฉบับ ซึ่งในวันนี้ได้มอบนโยบายให้มีการเพิ่มจำนวนมาตรฐานให้มากขึ้น ตั้งเป้าทุกเดือนต้องมีมาตรฐาน Q อย่างน้อย 10-20 เรื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ แนวทางการส่งเสริมสัญลักษณ์ Q ของ มกอช.จะต้องวางระบบออกมาตรฐานให้กับสินค้าเกษตรทุกชนิด อาทิ ปศุสัตว์ และพืช เป็นต้น เพื่อให้คนไทยได้ใช้สินค้า Q ที่มีคุณภาพมาตรฐาน โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นไปตามแนวนโยบายของรัฐบาล คือกัญชาที่ส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจ และปลอดภัย โดยได้มอบหมายให้ มกอช. ได้ไปศึกษาและวางแนวทางต่อไป " นายประภัตร กล่าว

ด้านนางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการ มกอช. กล่าวถึงผลงานของ มกอช.ในรอบ 17 ปีว่า มกอช.มีบทบาทสำคัญในการเป็นหน่วยงานกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศ (National Standardization Body: NSB) เพื่อให้มาตรฐานที่กำหนดขึ้นมีความเหมาะสม ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ปัจจุบันมีการประกาศใช้มาตรฐานสินค้าเกษตรแล้ว 322 ฉบับแบ่งเป็น มาตรฐานสมัคร 316 เรื่อง (พืช เกษตรกรอินทรีย์ ปศุสัตว์ ประมง และอื่นๆ) และมาตรฐานบังคับ 6 เรื่อง นอกจากนี้ด้านการส่งเสริมมาตรฐานได้มีการเชื่อมโยงการผลิต-การตลาดสินค้าQ ในตลาด 3 ประเภท แบ่งเป็น 1.ตรวจรับรองแหล่งจำหน่ายสินค้ามาตรฐานโครงการร้านอาหารวัตถุดิบปลอดภัยเลือกใช้สินค้า Q (Q restaurant) 3,200 สาขา Q Market 893 แผง Q Modern Trade 697 แผง 2.ระบบ QR Trace on Cloud 1,048 ราย 3.ตลาดDGTFarm.com 1,739 รายแบ่งเป็นผู้ขาย818 รายและผู้ซื้อ921 ราย

นอกจากนี้ยังได้ให้การรับรองสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ จำนวน 282 แห่ง พัฒนาต้นแบบโรงสีข้าว/โรงคัดบรรจุGMP จำนวน 5 แห่ง และพัฒนาระบบการรับรองแบบกลุ่มสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 20 กลุ่มใน 8 จังหวัด ส่วนด้านการดำเนินการตามนโยบายเกษตรแปลงใหญ่นั้นได้มีการดำเนินการในพื้นที่ 19 จังหวัด โดยให้ความรู้ด้านการผลิตตามมาตรฐาน GAP จำนวน 6 เรื่อง คือ ถั่วฝักยาว ถั่วลิสงหลังนา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดเมล็ดแห้ง GAP พืชอาหารและจิ้งหรีด แก่เกษตรกรรวมจำนวน 952 ราย และยังได้พัฒนาต้นแบบโรงงานแปรรูปมาตรฐาน 9 แห่ง(โรงสีข้าว 2แห่ง โรงคัดบรรจุผักผลไม้สด 6 แห่ง และโรงรวบรวมผักผลไม้สด 1แห่งอีกด้วย

"ปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารรายใหญ่ของโลก ในปี 2561 มีมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหาร 1.12 ล้านบาท ซึ่ง มกอช. ได้มีการบูรณาการร่วมกับกรมต่างๆ ของกระทรวงเกษตรฯ ตาม พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551 เพื่อควบคุม กำกับ ดูแลความปลอดภัยอาหารอย่างเบ็ดเสร็จตลอดห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ (Food chain) เพื่อให้ได้สินค้าที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้สินค้าเกษตรและอาหารของไทยได้รับการยอมรับและมียอดส่งออกไปตลาดโลกขยายตัวเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยความเชื่อมั่นด้านมาตรฐานความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศไทย รวมทั้งหน่วยรับรองระบบงานของ มกอช. ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้นอีกด้วย" นางสาวจูอะดี กล่าว

นางสาวจูอะดี กล่าวเพิ่มเติมว่า มกอช.ได้เร่งขับเคลื่อนประชาสัมพันธ์มาตรฐานสินค้าเกษตรในเวทีโลก และแสวงหาความร่วมมือคู่ค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ โดยการเข้าร่วมงาน Natural Product Expo West (NPEW) ซึ่งเป็นงานสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และมีโอกาสเติบโตทางการตลาดสูงที่สุด ซึ่งสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ค้าของไทยหลายราย รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือกับสำนักงานด่านการค้าของมลรัฐลอสแองเจลิส (LA Port) ที่เป็นท่าเทียบสินค้าใหญ่ที่สุดของทั้งฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ และของภูมิภาคอเมริกา ซึ่ง LA Port ให้ความสนใจและเตรียมพัฒนาความร่วมมือด้านการค้า-มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชกับท่าเรือของไทย โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมและระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ที่ผู้ประกอบการของไทยในปัจจุบันใช้เป็นท่าส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4