สัญญาณปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองภายในกระทบเศรษฐกิจ สถานการณ์สงครามการค้าดีขึ้นระยะสั้น

อังคาร ๑๕ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๒๘
ปัจจัยเสี่ยงจากผลกระทบสงครามการค้าจีนสหรัฐฯปรับตัวในทิศทางดีขึ้น การเจรจามีความคืบหน้าเลื่อนการขึ้นกำแพงภาษีออกไปก่อน แต่การยุติลงของการกีดกันทางการค้าจะไม่เกิดขึ้นในเร็ววันและยังมีความไม่แน่นอนสูง ส่งผลลบต่อระบบการค้าโลกและการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกต่อไป คาดธนาคารกลางสหรัฐอาจปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ปลายเดือนตุลาคม กดดันให้เงินบาทแข็งค่าแตะระดับ 29 บาทต่อดอลลาร์ได้

หวั่นปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองภายในเพิ่มขึ้นกระทบความเชื่อมั่นของภาคการลงทุนและภาคการบริโภค การสร้างวาทกรรมเกลียดชังและแบ่งแยกคนไทยกระทบต่อบรรยากาศการเจรจาหารือถกแถลงเพื่อสร้างประชาธิปไตยผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทุกภาคส่วนควรร่วมกันสร้างความปรองดองสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปประเทศให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น

15.00 น. 13 ต.ค. 2562 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฎิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ประเมินว่า ปัจจัยเสี่ยงจากผลกระทบสงครามการค้าจีนสหรัฐฯล่าสุดปรับตัวในทิศทางดีขึ้นบ้าง การเจรจามีความคืบหน้าเลื่อนการขึ้นกำแพงภาษีออกไปก่อน แต่การยุติลงของการกีดกันทางการค้าจะไม่เกิดขึ้นในเร็ววันและยังมีความไม่แน่นอนสูง ส่งผลลบต่อระบบการค้าโลกและการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกต่อไป สหรัฐมีกำหนดเพิ่มการเรียกเก็บภาษีต่อสินค้านำเข้าจากจีนวงเงิน 2.5 แสนล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 30% ในวันที่ 15 ต.ค. จากเดิมที่ระดับ 25% และมีกำหนดเก็บภาษี 15% ต่อสินค้านำเข้าจากจีนวงเงิน 1.6 แสนล้านดอลลาร์ในวันที่ 15 ธ.ค. โดยมีการเลื่อนการปรับขึ้นภาษีนำเข้าออกไปก่อน อย่างไรก็ตาม สงครามทางการค้าและประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาในสินค้าไฮเทค รวมทั้ง การขัดแย้งกรณีฮ่องกงจะยังคงยืดเยื้อและสร้างความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกต่อไป

สหรัฐอเมริกายังอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบจีนในการเจรจาทางการค้า เพราะจีนต้องพึ่งพิงสหรัฐฯมากกว่าสหรัฐฯพึ่งพิงจีนในทางการค้ามีผลวิจัยบ่งชี้ว่าหากสงครามทางการค้ายืดเยื้อต่อไป สหรัฐฯจะเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 5-10% ของจีดีพี แต่จีนจะเสียหายมากถึง 25-30% ของจีดีพี และ เงินสำรองระหว่างประเทศของประเทศต่างๆยังถือในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯมากกว่า 65-70% และยังคาดการณ์ว่า ดอลลาร์สหรัฐฯจะยังคงเป็นเงินสกุลหลักของระบบการเงินโลกไปอีกนาน ขณะที่เงินหยวนเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศเพียงแค่ 1-3% เท่านั้น ส่วนจีนมีข้อได้เปรียบ คือ มีฐานะทางการคลังที่ดีกว่าสหรัฐฯมากและสามารถนำมาตรการทางการคลังมากระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่หากได้รับผลกระทบจากความยืดเยื้อของสงครามทางการค้า และจีนมียุทธศาสตร์ชัดเจนในการขยายบทบาทในเวทีการเมืองและเศรษฐกิจระหว่าประเทศโดยเฉพาะผ่านนโยบาย one belt one roadและมีความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนในการเป็นผู้นำในเทคโนโลยีแห่งอนาคต มีแผนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรม 2025 และแผนAI2030 การที่สหรัฐฯขึ้นบัญชีดำบริษัทไฮเทคของจีนโดยกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนกลุ่มน้อย หรือ NBA ถูกบอยคอยจากจีนเป็นผลจากการให้สัมภาษณ์สนับสนุนผู้ชุมนุมประท้วงในฮ่องกง ล้วนเห็นแนวโน้มอย่างชัดเจนว่าได้มีการนำเอาประเด็นสิทธิมนุษยชนและประเด็นการเมืองเข้ามาเกี่ยวพันกับการตอบโต้กันทางเศรษฐกิจมากขึ้น นโยบายกำกับการใช้ Big Data กลุ่มชาติตะวันตกจะมีฐานคิดเรื่องการคุ้มครองเจ้าของ Data คือประชาชนมากกว่าจีน กลุ่มประเทศในยุโรปได้ออกกฎหมาย General Data Protection Regulation ขณะที่หลายคนวิตกกังวลว่า ในประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบอำนาจนิยม รัฐบาลอาจร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการกำกับควบคุมเสรีภาพของประชาชน การที่รัฐบาลร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีดิจิทัลก็อาจจะมีประโยชน์มากในการนำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบายต่างๆโดยต้องอยู่บนหลักการเคารพในเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพ อย่างเทคโนโลยีจดจำใบหน้า (Facial Recognition) สามารถตรวจจับคนร้ายได้อย่างรวดเร็ว

ในเรื่องทิศทางดอกเบี้ยโลกนั้น คาดธนาคารกลางสหรัฐอาจปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ปลายเดือนตุลาคม กดดันให้เงินบาทแข็งค่าแตะระดับ 29 บาทต่อดอลลาร์ได้ ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกได้ ธุรกิจส่งออกจึงต้องทำประกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน ขณะเดียวกันการแข็งค่าของเงินบาทเพิ่มขึ้นอีกเป็นโอกาสของการนำเข้าวัตถุดิบ เครื่องจักรอุปกรณ์เพื่อการลงทุน

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวอีกว่า ปัจจัยเสี่ยงภายนอกจากเศรษฐกิจโลกเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้

ส่วน ปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองในประเทศเราสามารถควบคุมได้หากทุกภาคส่วนปฏิบัติตามกฎหมาย ยึดหลักนิติรัฐนิติธรรม เคารพหลักการประชาธิปไตย ยึดความปรองดองสมานฉันท์ ไม่มองคนเห็นต่างเป็นศัตรู มองความหลากหลายทางความคิดเป็นเรื่องปรกติ เสรีภาพทางวิชาการและสื่อมวลชนที่มีการใช้อย่างรับผิดชอบจะทำให้เกิดภูมิปัญญาในการหาทางออกให้ประเทศ ควรเปิดกว้างให้สังคมสามารถถกเถียงกันได้ด้วยเหตุผลในทุกเรื่อง

ดร. อนุสรณ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า "หวั่นปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองภายในเพิ่มขึ้น หวั่นการสร้างสถานการณ์ สร้างวิกฤติเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับอำนาจนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ สภาวะดังกล่าวจะกระทบความเชื่อมั่นของภาคการลงทุนและภาคการบริโภค และอาจนำประเทศไปสู่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองได้ การสร้างวาทกรรมเกลียดชังและแบ่งแยกคนไทยกระทบต่อบรรยากาศการเจรจาหารือถกแถลงเพื่อสร้างประชาธิปไตยผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทุกภาคส่วนควรร่วมกันสร้างความปรองดองสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปประเทศให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น และ จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4