โรเบิร์ต วอลเทอร์ส เผยผลสำรวจการจ้างงานในประเทศไทยยังพิจารณาจากประสบการณ์ มากกว่าศักยภาพ

พฤหัส ๐๗ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๗:๕๖
- บริษัทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คัดเลือกผู้สมัครจากการประเมินด้านศักยภาพมากกว่าประสบการณ์ จะได้ผู้สมัครทีมีคุณภาพถึงร้อยละ 94 นอกจากนี้ร้อยละ 42 ของผู้ว่าจ้างทั่วภูมิภาค ยังไม่เคยคัดเลือกผู้สมัครจากศักยภาพเนื่องจากยังขาดประสบการณ์ตรง

- เกือบร้อยละ 52 ของการจ้างงานในประเทศไทยเป็นการพิจารณาจากศักยภาพผู้สมัคร และพบว่าร้อยละ 48 ยังไม่เคยพิจารณา โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 16 ผู้ว่าจ้างที่ทำการสำรวจยังไม่ได้เปิดรับวิธีดังกล่าว และกว่าร้อยละ 44 ปฏิเสธการจ้างผู้สมัครที่มีศักยภาพแต่ขาดคุณสมบัติหรือประสบการณ์ที่เหมาะสม

- ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานยังคงเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกในกระบวนการสรรหา อย่างไรก็ตามความสามารถในการเรียนรู้อย่างรวดเร็วถือเป็นปัจจัยที่สำคัญเช่นกัน

โรเบิร์ต วอลเทอร์ส ที่ปรึกษาด้านการสรรหาชั้นนำระดับโลก ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ว่าจ้างที่ใช้แนวทางการคัดเลือกผู้สมัครจากศักยภาพและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การเติบโตระยะยาว รายงานผลสำรวจ "พัฒนาคนเก่ง เฟ้นหาจากศักยภาพ" (Grow your Talent, Hire Based on Potential) จากโรเบิร์ต วอลเทอร์ส ฉบับล่าสุดที่ได้มีการเผยแพร่ในเดือนพฤจิกายนนี้ ได้รวบรวมไว้ด้วยข้อมูลเชิงลึกจากผู้ว่าจ้างกว่า 3,000 คนทั้งจากประเทศไทยและอีก 5 ประเทศได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และเวียดนาม

จากรายงานดังกล่าวพบว่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร้อยละ 94 ของผู้สมัครที่ถูกคัดเลือกจากศักยภาพนั้นยังคงทำงานอยู่กับองค์กร อย่างไรก็ตามเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ42) ของผู้ว่าจ้างในภูมิภาคยังคงลังเลที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การสรรหาบุคลากรที่ใช้แนวทางประเมินจากประสบการณ์แค่เพียงปัจจัยเดียว ทั้งๆที่วิธีดังกล่าวถือเป็นการสิ้นเปลืองทั้งเวลา บุคลากรในการสรรหา การประเมินและการบริหารจัดการพนักงาน ที่ท้ายสุดแล้วไม่ได้เหมาะสมกับองค์กร

ความลังเลที่จะปรับใช้การสรรหาจากศักยภาพซึ่งเป็นประเด็นที่ได้ถูกให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นในขณะนี้ ได้สะท้อนออกมาจากผลสำรวจในกลุ่มผู้เข้าร่วมการสำรวจในประเทศไทยเช่นกัน ดังนั้น การปรับใช้กลยุทธ์ดังกล่าวจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อกลยุทธ์การสรรหาในอนาคต จากความเห็นของคุณศรีสกุล ทันวุฒิกุล ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด (กลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพ) บริษัทโรเบิร์ต วอลเทอร์ส

"คนเก่งถือเป็นทรัพยากรที่เป็นที่ต้องการอย่างมากและเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าสำหรับบริษัททั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ด้วยประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการพัฒนาที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน การวางกลยุทธ์ในการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อดึงดูดกลุ่มคนที่มีความสามารถจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบรรลุความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนและผลักดันการเติบโตที่ประสบความสำเร็จ ในขณะที่การแข่งขันเพื่อแย่งชิงคนเก่งยังคงดำเนินต่อไปอย่างเข้มข้น การคัดเลือกพนักงานจากการประเมินศักยภาพเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การพัฒนาพนักงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวม"

ประเทศไทยยังดูที่ประสบการณ์มากกว่าศักยภาพ

ในประเทศไทย กว่าร้อยละ 60 ของผู้ตอบแบบสำรวจได้พิจารณาประสบการณ์ผู้สมัคร เป็นหนึ่งในสามปัจจัยแรกในการว่าจ้างผู้สมัคร โดยมากกว่าร้อยละ 46 มุ่งเน้นไปที่ความสามารถของผู้สมัครในการเรียนรู้อย่างรวดเร็วและมากกว่าร้อยละ 33 ให้ความสำคัญกับทักษะทางด้านบุคคล เช่นการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน การบริหารจัดการ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะแสดงให้เห็นถึงความเต็มใจที่จะให้ความสำคัญกับศักยภาพผู้สมัคร แต่ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าร้อยละ 44 ระบุว่าพวกเขาปฏิเสธผู้สมัครที่มีศักยภาพมาก แต่ขาดคุณสมบัติหรือประสบการณ์ที่เหมาะสม

ประเทศไทยเริ่มเห็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงมีความลังเลที่จะจ้างงานจากศักยภาพผู้สมัคร

ในขณะที่เกือบร้อยละ 52 ของผู้เข้าร่วมการสำรวจเคยจ้างงานโดยพิจารณาจากศักยภาพผู้สมัครมากกว่าประสบการณ์หรือคุณสมบัติที่เหมาะสม ซึ่งตรงกันข้ามกับกว่าร้อยละ 48 ของผู้เข้าร่วมการสำรวจที่ไม่เคยทดลองวิธีดังกล่าว ซึ่งในจำนวนนี้มีถึงเกือบร้อยละ 16 ที่ตอบว่าจะไม่ลองพิจารณาวิธีดังกล่าวเช่นกัน

คุณลักษณะที่แสดงถึงศักยภาพของผู้สมัครที่มีผลต่อการพิจารณาในประเทศไทย

ในประเทศไทย ผู้ตอบแบบสอบถาม ระบุคุณลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการจ้างงานจากการประเมินศักยภาพ สิ่งเหล่านี้ประกอบด้วย ความเต็มใจที่จะเรียนรู้ (ร้อยละ 74.23) แรงจูงใจ (ร้อยละ 64.95) การมีส่วนร่วม (ร้อยละ 34.02) ความคิดสร้างสรรค์ (ร้อยละ 28.87) ข้อมูลเชิงลึก (ร้อยละ 16.49) ความสนใจใคร่รู้ (ร้อยละ 13.40) และเหตุผลอื่น ๆ คิดเป็นกว่าร้อยละ 4 ซึ่ง ร้อยละ 85 ของผู้ที่ได้รับการการจ้างงานเหล่านี้ได้รับการยอมรับจากทีมว่าได้กลายป็นสมาชิกที่มีความสำคัญโดยที่ร้อยละ 38 ของกลุ่มคนเหล่านี้ได้ถูกประเมินหลังจากที่ได้ใช้เวลาระยะหนึ่งฝึกฝนพวกเขา

ความล่าช้าของการสรรหา

หนึ่งในประเด็นสำคัญของการจ้างงานที่พิจารณาจากประสบการณ์คือความล่าช้าของการสรรหา ในประเทศไทย น้อยกว่าร้อยละ 5 ของตำแหน่งงานจากแบบสอบถามที่ใช้เวลาการสรรหาน้อยกว่า 1 เดือนและเกือบร้อยละ 40 ได้ใช้เวลาการสรรหาระหว่าง 1-2 เดือน และมากกว่าร้อยละ 49 ที่ใช้ระยะเวลานานถึง 2-6 เดือน และมีจำนวนถึงร้อยละ 6 ที่ใช้เวลานานถึงครึ่งปี ซึ่งการปรับใช้กลยุทธ์การสรรหาจากศักยภาพจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาความล่าช้าที่เกิดจากการสรรหาได้

อย่างไรก็ตาม กระบวนการสรรหาที่ได้ดำเนินการสำเร็จนั้นมีบางส่วนที่ผลลัพธ์ไม่ได้ตรงกับที่คาดหมาย ซึ่งโดยส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 29 พบว่าพนักงานไม่ส่งมอบผลงานตามที่คาดหวัง มากกว่าร้อยละ 19 ถูกประเมินว่าไม่มีทัศนคติในการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ไม่มีทักษะความรู้หรือความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม

เหตุผลที่การจ้างงานจากศักยภาพยังคงไม่ได้รับความนิยม

รายงานในหัวข้อ "พัฒนาคนเก่ง เฟ้นหาจากศักยภาพ" (Grow your Talent, Hire Based on Potential) ได้เปิดเผยว่าผู้ตอบแบบสอบถามทั่วทั้งภูมิภาคมักจะเลือกผู้สมัครที่สามารถปฏิบัติงานได้ทันที ข้อกำหนดเชิงเทคนิคของตำแหน่งงานและการขาดความสามารถในการประเมินศักยภาพผู้สมัครเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การคัดเลือกผู้สมัครจากศักยภาพไม่ได้รับความนิยม ซึ่งหนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสอบถาม (ร้อยละ 30) เชื่อว่าผู้สมัครที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์ที่ตรงจะแสดงความสามารถในที่สุด

ในประเทศไทยพบว่าเหตุผลสำคัญที่ผู้ตอบแบบสอบถามไม่ใช้วิธีการจ้างงานจากศักยภาพ เนื่องจากต้องการพนักงานที่สามารถทำงานได้ทันที (ร้อยละ 44.83) รวมทั้งแต่ละตำแหน่งงานเน้นความรู้ ประสบการณ์ และทักษะเฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 44.83) นอกจากนี้บริษัทยังไม่มีเวลา บุคลากรและความเชี่ยวชาญที่จะให้การฝึกอบรมในเชิงลึก (ร้อยละ 41.38) และมีความยากลำบากในการระบุว่าบุคคลนั้นเหมาะสมกับทีมของพวกเขาหรือไม่ (ร้อยละ 37.93) ใช้เวลาและเพิ่มภาระในการฝึกฝนผู้สมัคร (ร้อยละ 37.93) เชื่อว่าคนที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์ที่เหมาะสมจะแสดงให้เห็นเองในที่สุด (ร้อยละ 24.14) พบว่าเป็นการยากที่จะประเมินศักยภาพของบุคคล (ร้อยละ 17.24) และกังวลว่าผู้สมัครจะไม่สามารถเรียนรู้ได้เร็วพอ (ร้อยละ 13.79)

การรักษากลุ่มคนที่มีความสามารถ สำหรับทักษะเฉพาะ

รายงานนี้ยังได้นำเสนอแนวทางสำหรับบริษัทที่ต้องการปรับกลยุทธ์การสรรหาให้มีการวัดในเชิงศักยภาพด้วย ซึ่งแนวทางดังกล่าวรวมถึงการระบุข้อกำหนดที่สำคัญหรือข้อกำหนดที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งงาน คำบรรยายลักษณะงานที่ตรงกับความเป็นจริง การมองหาสัญญาณของโอกาสหรือความก้าวหน้าจากประสบการณ์ผู้สมัครและการใช้ความเชี่ยวชาญจากที่ปรึกษาด้านการสรรหาในการคัดเลือก

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานหรือบริษัทโรเบิร์ต วอลเทอร์ส ประเทศไทย กรุณาเข้าไปที่ www.robertwalters.co.th

โรเบิร์ต วอลเทอร์ส เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดหางานระดับมืออาชีพที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการสรรหาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเพื่อดำรงตำแหน่งพนักงานประจำ พนักงานสัญญาจ้างและพนักงานชั่วคราวในทุกระดับตำแหน่ง สำนักงานสาขาประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญด้านการคัดสรรบุคลากรในสายงานด้านต่างๆ อาทิเช่น สายงานบัญชีและการเงิน สายงานธนาคารและสถาบันการเงิน สายงานบริหารและที่ปรึกษา สายงานทรัพยากรบุคคล สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ สายงานการขายและการตลาด สายงานด้านซัพพลายเชนและจัดซื้อรวมไปถึงธุรกิจทางด้านสุขภาพ โรเบิร์ต วอลเทอร์สก่อตั้งในปี 1985 ปัจจุบันมีสำนักงานใน 31 ประเทศทั่วโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้