กทม.เตรียมพร้อมรองรับสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์

จันทร์ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๗:๓๑
นายชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กทม. กล่าวตามที่ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยสถานการณ์ของผู้สูงอายุไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คาดในปี 2564 จะเข้าสู่ "สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์" ขณะที่ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุอายุคาดเฉลี่ยภาวะสุขภาพดีคนไทยในปี 2558 มีค่าเท่ากับ 66.8 ปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก และมีแนวโน้มเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังว่า ที่ผ่านมา สำนักอนามัยได้เตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุ เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 โดยดำเนินการผ่านแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การบูรณาการระดับสำนักงานและระดับเขต ขณะเดียวกันได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร พร้อมวางแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนก่อนวัยสูงอายุและเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ดังนี้ 1) ส่งเสริมสุขภาพประชาชนในวัยทำงานในสถานประกอบการทั้งภาครัฐและภาคเอกชนผ่านภาคีเครือข่ายสุขภาพ 2) คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อค้นหาภาวะสุขภาพปกติ เสี่ยง และป่วยเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากโรคพฤติกรรมสุขภาพ โรคติดต่อไม่เรื้อรัง 3) ดำเนินโครงการ PLC ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเชิงป้องกันระยะยาว 4) ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ (SRC)

เป็นศูนย์ต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านให้ติดสังคม โดยดูแลผู้สูงอายุแบบเช้าไปเย็นกลับ 5) จัดให้มีชมรมผู้สูงอายุครอบคลุมทุกพื้นที่ 6) ศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุ เพื่อดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ โดยกำหนดหลักสูตรแกนกลางศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุ ได้แก่ ความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการ การออกกำลังกาย และการจัดสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ

นายสุขสันต์ กิตติศุภกร รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กทม. กล่าวว่า ในส่วนของสำนักการแพทย์ ได้จัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ โดยมีทีมสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลทำการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม ส่งผลให้ผู้สูงอายุกลับเข้าสู่สังคมได้ รวมถึงการตรวจคัดกรองเพื่อวางแผนการดูแลรักษาผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันได้มีการประเมินการใช้ชีวิตประจำวัน (ADL) ค้นหาผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ที่มีความจำเป็นต้องเข้าดูแลถึงบ้าน ตามโครงการ กทม.ใส่ใจผู้สูงวัย หัวใจแกร่ง เป็นโครงการลงพื้นที่เยี่ยมผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงโดยทีมสำนักการแพทย์ สำนักอนามัย และสำนักงานเขต ร่วมกันขยายการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงในชุมชน นอกจากนั้น โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ยังให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังกับผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาล รวมถึงให้ข้อมูลสุขภาพผ่านสื่อออนไลน์ของโรงพยาบาล อีกทั้ง ปัจจุบันโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ได้จัดตั้งหอผู้ป่วยชีวาภิบาล ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่อยู่ในระยะกึ่งกลาง (Intermediate care : IMC) ที่พ้นจากระยะวิกฤต เพื่อฟื้นฟูร่างกายของผู้สูงอายุให้กลับคืนสู่สภาวะปกติก่อนกลับบ้านอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4