ฟักแม้วให้ระวังโรคราน้ำค้าง

ศุกร์ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๓:๕๒
ในช่วงที่มีอากาศหนาว มีน้ำค้างลงจัด และมีความชื้นในอากาศสูงเช่นนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกฟักแม้ว (ชาโยเต้ หรือ มะระหวาน) ให้หมั่นสังเกตอาการของโรคราน้ำค้างที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต มักพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้นก่อน ต่อมาขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบน เริ่มแรกพบแผลเหลี่ยมเล็กฉ่ำน้ำตามกรอบของเส้นใบย่อย ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กรณีที่ในตอนเช้ามีความชื้นสูง จะพบเส้นใยเชื้อราเป็นขุยสีขาวเทาตรงแผลใต้ใบ จากนั้น แผลจะขยายใหญ่ติดต่อกัน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ หากอาการรุนแรง จะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น และต้นที่เป็นโรคจะติดผลน้อย ผลมีขนาดเล็ก คุณภาพของผลจะลดลง กรณีเป็นโรคในระยะผลอ่อน จะทำให้ผลลีบเล็ก และบิดเบี้ยว

สำหรับพื้นที่ที่พบอาการของโรคราน้ำค้าง เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ และตัดแต่งใบที่อยู่ด้านล่างของต้นออกบางส่วน เพื่อให้แปลงปลูกมีอากาศถ่ายเทสะดวก ลดการสะสมเชื้อราสาเหตุโรค และทำลายแหล่งอาศัยของด้วงเต่าแตง อีกทั้งควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียนที่ไม่ใช่พืชตระกูลแตง ภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว ให้เกษตรกรเก็บเศษซากพืชส่วนที่เหลือนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที และให้เลือกใช้ผลหรือกิ่งพันธุ์คุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค หลีกเลี่ยงการปลูกพืชแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความชื้นสูง อากาศไม่ถ่ายเท และโรคระบาดได้รวดเร็ว ส่วนแปลงที่เป็นโรค ควรงดการให้น้ำในช่วงเย็น

กรณีพบด้วงเต่าแตงที่เป็นพาหนะเชื้อราสาเหตุโรค เกษตรกรควรกำจัดโดยการจับตัวด้วงเต่าแตงมาทำลาย หรือพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดด้วยสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

หากพบโรคเริ่มระบาด ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชแมนโคเซบ+เมทาแลกซิล-เอ็ม 64%+4% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไซมอกซานิล+ฟามอกซาโดน 30%+22.5% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10-15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ + วาลิฟีนาเลท 60% + 6% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้งบนใบและใต้ใบ พ่นทุก 5-7 วัน และควรหยุดพ่นสารก่อนเก็บผลผลิตอย่างน้อย 7 วัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4