สภาวิศวกร ชี้มหาดไทย เร่งคลอด “กฎกระทรวง” มาตรฐานออกแบบอาคารรับแผ่นดินไหว พร้อมเชื่อกรุงเทพฯ ปลอดภัย หากมีแผนรับมือ-บริหารจัดการที่เหมาะสม

พฤหัส ๒๑ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๖:๔๘
สภาวิศวกร ชี้กระทรวงมหาดไทย เร่งคลอด "กฎกระทรวง" พร้อมเร่งบรรจุพื้นที่จากเดิม 22 จังหวัด เป็น43 จังหวัด เพื่อกำหนดมาตรฐานการก่อสร้างอาคารรูปแบบใหม่ ที่ต้องออกแบบโครงสร้างอาคารให้สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนของการเกิดแผ่นดินไหว พร้อมเสนอ 3 แนวทางเตรียมพร้อมคนกรุงเทพฯ รับมือแผ่นดินไหว คือ 1. จัดอบรมให้ความรู้ประชาชน เรื่องผลกระทบจากแผ่นดินไหว วิธีการดูแลอาคารให้ปลอดภัย 2. มีการตรวจสอบอาคารตามความเสี่ยง โดยแบ่งประเภทของอาคารตามความเสี่ยง เช่น สีแดง อาคารเก่าที่เสี่ยงมาก ต้องปรับปรุง เสริมโครงสร้างทันที สีส้ม อาคารที่เสี่ยงระดับกลาง ที่ต้องหมั่นตรวจสอบ ตามกำหนด และ สีเหลือง อาจมีความเสี่ยง เช่น มีการต่อเติม และ3. มีสถานีวัดแรงสั่นสะเทือน พร้อมแจ้งเตือนประชาชนในทุกช่องทางทันที หลังหลังคืนวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 จนถึงเช้าวันที่ 21 พฤศจิกายน2562 พบแผ่นดินไหวต่อเนื่อง ต่ำสุด 2.9 และสูงสุดที่ 6.4

รองศาสตราจารย์ เอนก ศิริพานิชกร รองประธานอนุกรรมการประสานงานด้านภัยพิบัติ สภาวิศวกร กล่าวว่า จากเหตุแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่องในคืนวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 ถึงช่วงเช้าวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 ในระดับความรุนแรงต่ำสุดที่ 2.9 และสูงสุดที่ 6.4 นั้น ทำให้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ตั้งแต่บริเวณภาคเหนือ ลงมายังบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยผู้ที่พักอาศัยหรืออยู่บนตึกสูง สามารถรับรู้ถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน เหตุเพราะดินในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นดินอ่อนและเป็นแอ่งกะทะ แต่ทั้งนี้ ประชาชนในพื้นที่ไม่ต้องกังวลใจ เพราะการก่อสร้างในแต่ละอาคาร จะมีวิศวกรทำหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัยให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถดูแลตัวเองขณะเกิดแผ่นดินไหวเบื้องต้นได้โดยหาที่กำบัง เช่น หลบใต้โต๊ะ และไม่อยู่ใกล้บริเวณชั้นหนังสือหรือตู้ เป็นต้น แต่ในกรณีที่ประชาชนมีความกังวลใจ หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาคารที่พักอาศัยอยู่ สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง เช่น สังเกตรอยร้าวแนวเฉียงบริเวณกำแพง/เสา ฯลฯ จากนั้นบันทึกภาพรอยร้าวดังกล่าว พร้อมส่งคำร้องเพื่อขอตรวจสอบได้ที่ สภาวิศวกร หรือวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) โดยจะมีการจัดส่งทีมวิศวกรอาสาลงพื้นที่เพื่อทำการตรวจสอบเป็นลำดับถัดไป

ดร.ประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการสภาวิศวกร กล่าวว่า สภาวิศวกร ชี้กระทรวงมหาดไทย ควรเร่งออกกฎกระทรวง กำหนดรับรองน้ำหนักความต้านทานความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ฉบับใหม่ พร้อมเร่งบรรจุพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวจากเดิม 22 จังหวัด เป็น 43 จังหวัด เพื่อกำหนดมาตรฐานการก่อสร้างอาคารรูปแบบใหม่ ที่ต้องออกแบบโครงสร้างอาคารให้สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนของการเกิดแผ่นดินไหว พร้อมกันนี้ สภาวิศวกร ขอเชิญชวนประชาชนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เป็นส่วนหนึ่งในการรายงานผลการเกิดแผ่นดินไหว เพื่อเป็นข้อมูลในการติดตั้งเครื่องมือวัดอัตราเร่ง และเป็นฐานข้อมูลที่ช่วยให้การออกแบบเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของอาคารในอนาคต มายังสภาวิศวกร หรือ วสท. โดยมีรายละเอียดดังนี้ ชื่อผู้รายงานผล ที่ตั้งอาคารที่อยู่อาศัย พร้อมระบุชั้น และเวลาเกิดเหตุ ณ ขณะนั้น

โดยปัจจุบันมีการติดตั้งเครื่องวัดอัตราเร่งแล้ว 4 แห่งคือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)

ด้าน ศาสตราจารย์ ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร กล่าวเสริมว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมคนกรุงฯ ให้พร้อมรับมือต่อการเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต ภาครัฐ-หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเตรียมความพร้อมใน 3 ด้าน คือ 1. จัดอบรมให้ความรู้ประชาชน เรื่องผลกระทบจากแผ่นดินไหว วิธีการดูแลอาคารให้ปลอดภัย 2. มีการตรวจสอบอาคารตามความเสี่ยง โดยแบ่งประเภทของอาคารตามความเสี่ยง เช่น สีแดง อาคารเก่าที่เสี่ยงมาก ต้องปรับปรุง เสริมโครงสร้างทันที สีส้ม อาคารที่เสี่ยงระดับกลาง ที่ต้องหมั่นตรวจสอบ ตามกำหนด และ สีเหลือง อาจมีความเสี่ยง เช่น มีการต่อเติม และ 3. มีสถานีวัดแรงสั่นสะเทือน พร้อมแจ้งเตือนประชาชนในทุกช่องทางทันที

อย่างไรก็ตาม สำหรับอาคารในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว คือ อาคารเก่าๆ กึ่งกลาง กึ่งสูง หรือมีการก่อสร้างก่อนปี 2550 เพราะอาคารลักษณะดังกล่าว ได้รับการออกแบบและก่อสร้างมายาวนาน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ รุดตรวจสอบความแข็งแรงเชิงโครงสร้างของอาคารอย่างใกล้ชิด เพราะในอนาคตอาจจะเกิดแผ่นดินไหวถี่ขึ้น และรุนแรงมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน สำหรับกลุ่มอาคารสูงรุ่นใหม่ มักเป็นอาคารที่มีโครงสร้างรองรับการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งใช้โครงสร้างเหล็กเป็นหลักตามมาตรฐาน พรบ. ควบคุมอาคาร ซึ่งกำหนดให้มีการรองรับแผ่นดินไหว อีกทั้งการออกแบบเพื่อรับแรงลม เสมือนช่วยเรื่องแผ่นดินไหวในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ สำหรับอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 2 ชั้น จะได้รับผลกระทบต่ำ เนื่องจากการสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหว จะไม่ส่งผลกระทบต่อการสั่นไหวของตึก

ทั้งนี้ สภาวิศวกร ได้จัดงานแถลงข่าว "แนวทางรับมือแผ่นดินไหวในพื้นที่ กทม.-ประเทศไทย" และจุดเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังด่วน เพื่อเป็นการเฝ้าระวังภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อเร็วๆ นี้ ณ สภาวิศวกร ซอยรามคำแหง 39 กรุงเทพฯ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1303 และเว็บไซต์ www.coe.or.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest