"นราพัฒน์" ลุยพัฒนาเมืองเกษตรอัจฉริยะต้นแบบ

จันทร์ ๑๖ ธันวาคม ๒๐๑๙ ๐๘:๕๔
นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายคมสัน จำรูญพงษ์และนางดาเรศร์ กิตติโยภาส ลงพื้นที่เพื่อติดตามการพัฒนาการเกษตรอัฉริยะ ณ ศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ จังหวัดระยอง เพื่อขับเคลื่อนให้ศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามแนวพระราชดำริ 4 ประการ คือ 1) ให้พัฒนาด้านการเกษตร โดยเฉพาะปศุสัตว์และการประมงเพือการบริโภค 2) ให้มีศูนย์ฝึกปฏิบัติการด้านการประกอบอาชีพโดยมีแปลงสาธิตของราษฎรตัวอย่าง 4 แปลง แปลงละ 4 ไร่ สร้างบ้านพักอาศัยที่อยู่ โดยปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไป การดำเนินธุรกิจฟาร์มในรูปสหกรณ์และราษฎรหมุนเวียนเข้าอยู่ 3) ให้จัดเป็นศูนย์กลางส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ โดยให้เกษตรกรยืม พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ที่ดีไปผสมหรือเลี้ยงสัตว์เพื่อส่งลูกคืน และ 4) ให้มีศูนย์พัฒนาการเกษตร จะได้ศึกษาและเยี่ยมชมเพื่อนำเอาเป็นแบบอย่างการดำเนินงาน รวมทั้ง เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรอัจฉริยะต้นแบบ เชื่อมโยงการท่องเที่ยวผ่านการทำงานบูรณาการทุกภาคส่วนทั้งระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่

นายนราพัฒน์ กล่าวว่า ปัจจุบันกระทรวงเกษตรกำลังพัฒนาฐานข้อมูล (Big data) เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารในการดำเนินนโยบาย และประชาชนทั่วไป สามารถตอบโจทย์เกษตรกรรุ่นใหม่ ที่เน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี หากมีศูนย์เรียนรู้อัจฉริยะเช่นนี้ จะเป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้จริง สร้างการถ่ายทอดได้อย่างชัดเจน

การเปลี่ยน mindset ของเกษตรกรในการทำเกษตรยุคใหม่ สร้างช่องทางการหาตลาดเพิ่มขึ้น สามารถเป็นผู้ประกอบการรายย่อยได้เอง หรืออนาคตพัฒนาเป็นผู้ส่งออก หากมีการบูรณาการร่วมกันจะเป็นประโยชน์ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ผลักดันให้เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล

สำหรับศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ บนพื้นที่ 1,300 ไร่ มีฐานการเรียนรู้จากหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 7 ด้าน ได้แก่ งานชลประทาน งานปศุสัตว์ งานประมง งานพัฒนาที่ดิน งานวิชาการเกษตร งานด้านข้าว และงานพืชสวน ซึ่งที่นี่จะเป็นที่พึ่งของเกษตกรและประชาชนในจังหวัดและในประเทศไทยในการช่วยเหลือส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเกษตรกร เพื่อให้พวกเขาสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามแนวพระราชดำริ ผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุค Thailand 4.0 โดยตัวอย่างการพัฒนาการเกษตรอัจฉริยะ ได้แก่ การออกแบบสวนทุเรียนสมัยใหม่ เช่น ทุเรียนระยะชิด ทุเรียนต้นคู่ และทุเรียนกางแขน โดยใช้ระบบน้ำมินิสปริงเกลอร์ เครื่องจักรพ่นยา การใช้แอปพลิเคชันในมือถือควบคุมการให้น้ำ มีระบบเซนเซอร์ การควบคุมความชื้นในดิน และใช้งานวิจัยในการยกโคกเพื่อทำดินให้ฟู และรากไม่เน่า จากเดิมการปลูกทุเรียนปกติ 8*8 ต่อ 1 ไร่ ปลูกได้ 20 - 25 ต้น ผลผลิตเฉลี่ย 1,800 กิโลกรัม หากปลูกแบบสมัยใหม่จะสามารถอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรง่ายขึ้นในการทำการเกษตร และลดต้นทุนการใช้แรงงาน รวมถึงผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ จะนำการขับเคลื่อนการพัฒนาศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ รายงานผลต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) เพื่อส่งเสริม ขยายผลการพัฒนาศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงให้ทันสมัย สร้างแรงดึงดูดให้เกษตกรและประชาชนทั่วไปเข้ามาศึกษา เรียนรู้ สร้างงานและความมั่นคงทางอาชีพต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๗ เกษตรเขต 2 ภาคตะวันตก ร่วมเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารเช้าแด่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ตามโครงการบรรพชาสามเณร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28
๑๒:๒๖ 24WASH แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก 24ชั่วโมง มุ่งมั่นสร้างความแตกต่าง ด้วยแนวคิด Green Laundromat - ซักที่นี่
๑๒:๑๓ PIMO-ไพโม่ รับอานิสงส์เปลี่ยนแดดเป็นพลังงานไฟฟ้าด้วย Solar Cell
๑๒:๔๑ กลับมาอีกครั้ง!! NICE CAR AUCTION งานประมูลรถสวย คัดพิเศษที่ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ จัดเต็ม แจกทอง ผู้ประมูลสูงสุด 19 - 21 เมษายนนี้ ลานกิจกรรม MBK AVENUE โซน
๑๒:๑๒ ส่องไอเทมสุดฮอตกับคอลเล็กชั่นล่าสุด เอ็กซ์คลูซีฟเจแปนแบรนด์ จากสยาม ทาคาชิมายะ ห้างญี่ปุ่นหนึ่งเดียวในไทย ณ
๑๒:๔๐ โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา 12 แห่ง ผ่านการรับรองของ Bureau Veritas คว้า มาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จาก GSTC
๑๑:๐๑ เสิร์ฟวัตถุดิบท้องถิ่นนครปฐม รังสรรค์เมนูจานอร่อย 16 ร้านอาหารชั้นนำ กับ ปฐมบทใหม่ของความอร่อย ที่ เซ็นทรัล
๑๑:๔๘ นีเวีย ชวนสร้างพลังใจแบ่งความห่วงใยผ่านโครงการ นีเวีย ชวนแชร์ ส่งต่อความห่วยใยสร้างพลังใจแก่ผู้ป่วยมะเร็ง NIVEA Supporting Moment of
๑๑:๑๕ เฮงลิสซิ่ง สาดความสุข รับเงินก้อนใหญ่ ยกขบวนแจกความชุ่มฉ่ำ ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ 2567
๑๑:๕๒ บุญถาวร จัดงาน Builder Talk ชวน ลุงช่าง แชร์ไอเดียการสร้างตัวตน ผ่าน โซเชียลมีเดีย กับ งานก่อสร้าง