กทม.แนะประชาชนลดปัจจัยเสี่ยง Sick Building Syndrome

อังคาร ๑๔ มกราคม ๒๐๒๐ ๑๖:๕๔
นายชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กทม. กล่าวกรณีสื่อมวลชนเสนอบทความ เมืองแห่งโอกาส..แต่ไม่น่าอยู่ (กทม.) ระบุเนื้อหาวิถีชีวิตในกรุงเทพฯ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจว่า ปัจจุบันคนในสังคมใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบมีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ด้านเกิดความเคร่งเครียดอยู่ตลอดเวลาส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและสภาพจิตใจ อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ทำงานในตึกหรือภายในอาคารที่มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพไม่เหมาะสมรวมทั้งปัจจัยทางจิตสังคมส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยที่สัมพันธ์กับอาคารที่เรียกว่า Sick Building Syndrome (SBS) หมายถึงภาวะผิดปกติด้านสุขภาพ ทางระบบตา ระบบทางเดินหายใจ ระบบผิวหนัง อาการทั่วไปที่เกิดขึ้นคล้ายๆกลุ่มคนทำงานในอาคารที่มีความสัมพันธ์กับช่วงเวลาที่อยู่ในอาคาร แต่ไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่นอนได้ ซึ่งอาการจะหายไปเมื่อออกนอกอาคาร โดยมีปัจจัยจากอุณหภูมิ แสง เสียง การสั่นสะเทือน การระบายอากาศ มลพิษเช่น ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัญหาน้ำรั่วซึม ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ไม่เหมาะสม ซึ่งควรเพิ่มอัตราการระบายอากาศ โดยจัดให้มีพัดลมดูดอากาศ จัดผังองค์กร แยกส่วนที่ชัดเจนลดแหล่งกำเนิดพิษ หลีกเลี่ยงการสัมผัส ลดความเครียดจากการทำงานพักสายตา ออกกำลังกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เป็นต้น ส่วนการเจ็บป่วยที่เกิดจากอาคาร (Building Related Illness) เป็นการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงานในอาคารที่สามารถระบุสาเหตุของการเจ็บป่วยได้ เช่น วัณโรค เชื้อไข้หวัดใหญ่ เชื้อแบคทีเรีย ทั้งนี้ เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานในออฟฟิศ ลดการเจ็บป่วยด้วยโรคออฟฟิศซินโดรม สำนักอนามัยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคคนวัยทำงานในสถานประกอบการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีแนวปฏิบัติในการป้องกันและลดการเกิดออฟฟิศซินโดรม ตลอดจนออกหน่วยคัดกรองสุขภาพในสถานประกอบการ เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ พร้อมทั้งให้ความรู้ในการป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค

ในส่วนของปัญหามลพิษทางอากาศในอาคารที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อนามัยของประชาชนที่ผ่านมาสำนักอนามัยได้จัดบริการตรวจวัดคุณภาพอากาศในอาคารสาธารณะต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข และอาคารสำนักงานต่าง ๆ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสมต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้บริการในอาคารนั้น ส่วนอาคารสาธารณะขนาดใหญ่ เช่น โรงแรม ห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า มีการดำเนินการภายใต้โครงการ Bangkok Clean and Green เพื่อให้อาคารสาธารณะเหล่านี้ มีการจัดการด้านความสะอาด ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมที่ดีไม่ก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายแก่ประชาชนผู้ใช้บริการในอาคารสาธารณะนั้น นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 จะมีการสัมมนาผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่กว่า 200 แห่ง เพื่อกำหนดมาตรการในการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมภายในอาคารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นการป้องกันโรคติดต่อต่าง ๆ รวมทั้งการจัดการหม้อไอน้ำเพื่อลดการปล่อยฝุ่นละอองและมลพิษอากาศออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4