เร่งมาตรการรับมือ 'ภัยแล้ง’ สศก. แนะ เกษตรกรปลูกพืชทางเลือก ใช้น้ำน้อย

อังคาร ๒๘ มกราคม ๒๐๒๐ ๑๐:๐๒
นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ภาคกลาง มีแนวโน้มที่รุนแรง และแผ่วงกว้างกระทบพื้นที่เกือบทุกจังหวัด ซึ่งจังหวัดชัยนาท และจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 จังหวัดชัยนาท (สศท.7) ได้ทำการแปลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8 (ข้อมูล ณ 19 มกราคม 2563) พบว่า จังหวัดชัยนาท พื้นที่ตำบลเขาท่าพระ อำเภอเมืองชัยนาท ตำบลกุดจอก อำเภอหนองมะโมงและตำบลห้วยกรดพัฒนา อำเภอสรรคบุรี ส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่ตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ เป็นพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรง
เร่งมาตรการรับมือ 'ภัยแล้ง สศก. แนะ เกษตรกรปลูกพืชทางเลือก ใช้น้ำน้อย

จากการลงพื้นที่ของ สศท.7 เพื่อติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เบื้องต้นพบว่า พืช ข้าวนาปรัง และมันสำปะหลัง ได้รับผลกระทบทำให้ผลผลิตลดลง จึงมีการเตรียมข้อมูลและวางแผนด้านการเพาะปลูกให้กับเกษตรกรที่ประสบปัญหา ให้ลดการเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำปริมาณมาก โดยเฉพาะข้าวนาปรัง และหันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย อาทิ ถั่วลิสง ถั่วเขียว ข้าวโพดหวาน ซึ่งเป็นพืชที่ตลาดยังมีความต้องการต่อเนื่อง โดยสินค้าทางเลือกแต่ละชนิดมีต้นทุนและผลตอบแทน ดังนี้

- ถั่วลิสง ต้นทุนนับตั้งแต่เริ่มต้นปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 5,430 บาท/ไร่ ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 75 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 356 กก./ไร่ ให้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 2,146 บาท/ไร่/รอบการผลิต ราคาที่ขายได้ ณ ไร่นา 21 บาท/กก.

- ถั่วเขียว ต้นทุนนับตั้งแต่เริ่มต้นปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 2,283 บาท/ไร่ ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 75 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 123 กก./ไร่ ให้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 3,175 บาท/ไร่/รอบการผลิต ราคาที่ขายได้ ณ ไร่นา 44 บาท/กก.

- ข้าวโพดหวาน ต้นทุนนับตั้งแต่เริ่มต้นปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 6,776 บาท/ไร่ ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 60-70 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,819 กก./ไร่ ให้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 4,138 บาท/ไร่/รอบการผลิต ราคาที่ขายได้ ณ ไร่นา 6 บาท/กก.

ด้านนายชีวิต เม่งเอียด ผู้อำนวยการ สศท.7 กล่าวเสริมว่า สศท.7 ในฐานะหน่วยงานผู้แทนคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ และคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด ได้เสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งด้านการเกษตร โดยให้เกษตรกรที่ประสบปัญหาในพื้นที่ ปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงในช่วงภัยแล้ง และยังได้มีการสำรวจพื้นที่ขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภค บริโภคและการเกษตร พร้อมทั้งรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรและประชาชน ใช้น้ำอย่างประหยัด เก็บกักน้ำ และซ่อมแซมแหล่งน้ำ เพื่อให้สามารถเก็บน้ำใช้ได้อย่างเพียงพอตลอดฤดูการเพาะปลูก นอกจากนี้ เกษตรกรและประชาชนยังสามารถรับทราบข้อมูลสถานการณ์ พื้นที่แห้งแล้ง ได้ที่เว็บไซต์ http://drought.gistda.or.th เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจทำการเพาะปลูก หากแปลงเกษตรอยู่ในพื้นที่ภัยแล้งปีนี้ ควรจะเลือกปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยหรือพืชทนแล้งแทนได้ ทั้งนี้ ท่านที่สนใจรายละเอียดข้อมูลการเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้ง สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.7 โทร.05 640 5007-8 หรืออีเมล [email protected]

เร่งมาตรการรับมือ 'ภัยแล้ง สศก. แนะ เกษตรกรปลูกพืชทางเลือก ใช้น้ำน้อย เร่งมาตรการรับมือ 'ภัยแล้ง สศก. แนะ เกษตรกรปลูกพืชทางเลือก ใช้น้ำน้อย เร่งมาตรการรับมือ 'ภัยแล้ง สศก. แนะ เกษตรกรปลูกพืชทางเลือก ใช้น้ำน้อย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital