ชาวบ้านใช้วิจัยตำรับอาหาร "พาข้าวผู้ไท" นำทางสู้วิกฤตแม่น้ำโขง

ศุกร์ ๓๑ มกราคม ๒๐๒๐ ๐๙:๑๓
ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะปี 2553 ชาวบ้านในเขตพื้นที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เริ่มสังเกตพบความผิดปกติของแม่น้ำโขง โดยพบว่า แม่น้ำโขงมีการขึ้นลงผิดไปจากธรรมชาติ ส่งผลกระทบกับชีวิตของชาวบ้านที่ส่วนใหญ่ทำอาชีพประมงหาปลาในแม่น้ำโขง ผลกระทบจากการทำน้ำขึ้นลงไม่เป็นไปตามธรรมชาตินั้นทำให้ปลาไม่ขยายพันธุ์ และตลิ่งริมแม่น้ำโขงเริ่มทรุด ชาวบ้านที่นี่เชื่อว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบนิเวศแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงไป เกิดจากการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่กั้นแม่น้ำโขงทั้งทางฝั่งประเทศจีนและประเทศลาว ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทำให้ชาวบ้านรวมกลุ่มกันลุกขึ้นมาทำงานวิจัย "การปรับตัวด้านเศรษฐกิจของชุมชนภายใต้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงของลุ่มน้ำโขง" โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
ชาวบ้านใช้วิจัยตำรับอาหาร พาข้าวผู้ไท นำทางสู้วิกฤตแม่น้ำโขง

หนึ่งในการปรับตัวของชาวบ้านคือการริเริ่มฟื้นฟู ตำรับอาหารพาข้าวผู้ไทย นายนนทชัย โคตรอ่อน เปิดเผยว่า หลังจากที่ชาวบ้าน ต.โคกก่ง อ.ชานุมาน จ.อุบลราชธานี ประสบปัญหาจากวิกฤตแม่น้ำโขง ทำให้ชาวบ้านที่นี่เริ่มคิดปรับตัว โดยการร่วมกันทำงานวิจัย จนกระทั่งพบว่า ตำรับอาหารพาข้าวผู้ไท จะเป็นหนึ่งในทางรอดกับการต่อสู้กัลวิกฤตนี้ จึงร่วมกันหาแนวทางการเพิ่มมูลค่าผลผลิตในพื้นที่ โดยอาศัยต้นทุนทางทรัพยากรที่มีในชุมชน นำมาประยุกต์เป็นตำรับเมนูอาหาร เกิดเป็นตำรับอาหาร พาข้าวผู้ไท โดยหนึ่งตำรับจะประกอบด้วยอาหารหลัก คือ อาหารปิ้ง / ลาบหรือก้อย /ต้ม,แกง,อ่อม /คั่ว / หมก / นึ่ง / ป่น / ลวน / ซั่ว / แจ่ว / ตำ / ของหวาน ส่วนวัตถุดิบนั้นจะหมุนเวียนไปตามฤดูกาลที่หาได้จากชุมชน โดยสามารถเพิ่มมูลค่าให้ตำรับอาหารได้ถึง 500 บาท เป็นอาชีพทางเลือกสำหรับชาวบ้านนอกเหนือจากการทำประมง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาต่อการสร้างมูลค่าด้านกลไกทางการตลาด

รศ.ดร. เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สกสว. เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันทำให้ชาวบ้านริมฝั่งโขงต่างต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ให้กับชาวบ้าน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ชาวบ้านมีความรู้เพื่อต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่างเช่น เมื่อไม่สามารถทำกินในแม่น้ำโขง ชาวบ้านต้องหันมาปรับเปลี่ยนวิธีทำกินโดยใช้ทุนทางทรัพยากร ทุนวัฒนธรรม และทุนจากองค์ความรู้ก็จะทำให้ชาวบ้านสามารถต่อสู้กับวิกฤตแม่น้ำโขง

ชาวบ้านใช้วิจัยตำรับอาหาร พาข้าวผู้ไท นำทางสู้วิกฤตแม่น้ำโขง ชาวบ้านใช้วิจัยตำรับอาหาร พาข้าวผู้ไท นำทางสู้วิกฤตแม่น้ำโขง ชาวบ้านใช้วิจัยตำรับอาหาร พาข้าวผู้ไท นำทางสู้วิกฤตแม่น้ำโขง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ เม.ย. เปิดโพล! สงกรานต์ คนไทยยังอยาก รวย อวย Soft Power เสื้อลายดอก-กางเกงช้าง ต้องใส่สาดน้ำ
๑๗ เม.ย. ฮีทสโตรก : ภัยหน้าร้อน อันตรายถึงชีวิต
๑๗ เม.ย. STX เคาะราคา IPO 3.00 บาท/หุ้น เปิดจองซื้อ 18,19 และ 22 เม.ย. นี้ ปักธงเทรด mai 26 เมษายน 67
๑๗ เม.ย. ถอดบทสัมภาษณ์คุณอเล็กซานเดอร์ ฟาบิก (Alexander Fabig) และคุณปีเตอร์ โรห์เวอร์ (Peter Rohwer) ผู้เชี่ยวชาญ
๑๗ เม.ย. HIS MSC จัดงานสัมมนา The SuperApp ERP for Hotel
๑๗ เม.ย. ที่สุดแห่งปี! ครบรอบ 20 ปี TDEX (Thailand Dive Expo) มหกรรมธุรกิจท่องเที่ยวดำน้ำระดับเอเชีย งานเดียวที่นักดำน้ำรอคอย
๑๗ เม.ย. เคทีซีเสนอดอกเบี้ยพิเศษ 19.99% ต่อปี แบ่งเบาภาระสมาชิกใหม่บัตรกดเงินสด เคทีซี พราว
๑๗ เม.ย. ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง CHAO เตรียมเสนอขาย IPO ไม่เกิน 87.7 ล้านหุ้น ระดมทุนเข้าจดทะเบียนใน SET
๑๗ เม.ย. แอร์เอเชีย บิน สุวรรณภูมิ-หาดใหญ่ เริ่มต้น 1,000 บาทต่อเที่ยว* เสริมทัพหาดใหญ่ บินเลือกได้ทั้งดอนเมืองและสุวรรณภูมิ!
๑๗ เม.ย. YONG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ อนุมัติจ่ายเงินปันผล ในอัตรา 0.08 บาท/หุ้น