กทม.พร้อมรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง – เร่งหาทางแก้ปัญหาดินสไลด์

อังคาร ๐๔ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๑๗:๐๙
พันตำรวจโท สมเกียรติ นนทแก้ว ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) กทม. กล่าวถึงปัญหาภัยแล้ง ส่งผลกระทบต่อหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ เช่น พื้นที่เขตหนองจอก เกิดถนนทรุด คลองสายต่าง ๆ น้ำแห้งขอด และพบเหตุไฟไหม้หญ้า รวมทั้งแนวเขื่อนในซอยสังฆสันติสุข 61, 63, 81 และถนนภายในซอยสุวินทวงศ์ 42 ซึ่งเกิดการสไลด์ตัวและดินยุบลงไป เนื่องจากระดับน้ำในคลองลดลงว่า สปภ. ได้จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาภัยจากภัยแล้ง เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง รวมทั้งจัดเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ รถดับเพลิง รถบรรทุกน้ำดับเพลิง และอุปกรณ์ พร้อมปฏิบัติการได้ทันทีเมื่อได้รับการร้องขอ ขณะเดียวกันได้มีหนังสือประสานการประปานครหลวง ขอรับการสนับสนุนน้ำประปาโดยไม่คิดมูลค่า เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาภัยแล้งในพื้นที่กรุงเทพฯ
กทม.พร้อมรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง เร่งหาทางแก้ปัญหาดินสไลด์

นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. กล่าวว่า สนย. ได้ติดตามสถานการณ์และวางแผนแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชน โดยเข้าดำเนินการเจาะสำรวจชั้นดิน บริเวณริมคลองนครเนื่องเขตและคลองแสนแสบในพื้นที่เขตหนองจอก และนำตัวอย่างชั้นดินที่ได้จากการเจาะสำรวจ ไปทดสอบหาคุณสมบัติของชั้นดิน

เพื่อใช้เป็นข้อมูลทางวิศวกรรมในการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์ภัยแล้ง

นายณรงค์ เรืองศรี ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวว่า สนน. ได้ประชุมร่วมกับกรมชลประทานและหน่วยงานต่าง ๆ ทุกสัปดาห์ เพื่อติดตามสถานการณ์และวางแผนแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง ส่วนกรณีแนวเขื่อนในซอยสังฆสันติสุข 61, 63, 81 และถนนภายในซอยสุวินทวงศ์ 42 ที่เกิดการสไลด์ตัวและดินยุบ ในเบื้องต้น สนน. ได้ดำเนินการแก้ไข โดยขุดดินหลังเขื่อนออก พร้อมสกัดคานทับหลัง ค.ส.ล. เพื่อจำกัดแนวการล้ม ไม่ให้ลุกลามออกไป พร้อมเฝ้าระวัง ติดตาม สังเกตพฤติกรรมของเขื่อน ซึ่งในเบื้องต้นยังอยู่ในสภาวะปกติ ไม่มีการเคลื่อนตัวเพิ่ม นอกจากนั้น ยังได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเขตหนองจอกและวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบหาสาเหตุเขื่อนเอียง โดยเจาะสำรวจดินบริเวณที่เขื่อนเอียง ตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของเสาเข็ม ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการตรวจสอบแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างรอผลการตรวจสอบ เพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขต่อไป

นายวุฒิภัทร คำประกอบ ผู้อำนวยการเขตหนองจอก กทม. กล่าวว่า ในส่วนของสำนักงานเขตหนองจอก ได้ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนปัญหาภัยแล้งผ่านประธานศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำแขวง รวมทั้งส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกพืชทดแทน พืชใช้น้ำน้อย พัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่ให้สามารถกักเก็บน้ำได้ปริมาณมากขึ้น ขณะเดียวกันได้สำรวจบ้านเรือนประชาชนตลอดแนวการก่อสร้างเขื่อนในพื้นที่เขตหนองจอก รวมถึงบริเวณที่เกิดปัญหาแนวเขื่อนเอียง เพื่อรวบรวมข้อมูลส่งให้สำนักการระบายน้ำ กทม. วางมาตรการเยียวยา นอกจากนั้น สำนักงานเขตฯ ยังได้สำรวจพื้นที่เสี่ยงเกิดปัญหาไฟไหม้หญ้า พร้อมวางมาตรการป้องกันและแก้ไข โดยที่ดินเอกชนปล่อยรกร้าง จะตรวจสอบผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน เพื่อประสานให้ดำเนินการหามาตรการป้องกัน ได้แก่ การล้อมรั้วพื้นที่ ตัดแต่งต้นไม้ลดปัจจัยเสี่ยงเกิดไฟไหม้ ส่วนพื้นที่นา จะจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือห้ามเผาตอซังข้าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ