วว. มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ศุกร์ ๐๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๑๔:๕๑
จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความต้องการสินค้าและบริการของผู้บริโภค เพื่อใช้ทรัพยากรในระบบการผลิตให้สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมหรือนำกลับมาใช้ใหม่ รองรับการขาดแคลนทรัพยากรในอนาคต "เศรษฐกิจหมุนเวียน" หรือ Circular Economy จึงเป็นแนวคิดหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังสอดรับกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหลักการสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ให้เกิดการวางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการใช้ผลิตภัณฑ์ให้นานที่สุด ส่งเสริมการใช้ซ้ำ ลดขยะหรือของเสียเหลือศูนย์ เพื่อนำขยะหรือของเสียภายหลังจากการผลิตหรือบริโภคกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ นำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบรอบสอง สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
วว. มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

แนวคิดดังกล่าวถูกนำมาใช้ในการจัดการขยะหรือของเสียทั้งด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการจัดการขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ เกิดนวัตกรรมพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ เพิ่มการขยายตัวภาคอุตสาหกรรม เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพ อีกทั้งยังสามารถลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม ก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดการขยะหรือของเสีย ภายใต้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อผลิตวัตถุดิบรอบสองจากขยะหรือของเสีย รวมถึงสร้างนวัตกรรมต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างสรรค์ เพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดผลกระทบเชิงลบที่เกิดจากขยะหรือของเสียที่มีปัญหาการสลายตัวทางชีวภาพต่ำ

เทคโนโลยีจัดการขยะภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

วว. ขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้ "โครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและขยะพลาสติกในชุมชนเพื่อการบูรณาการอย่างยั่งยืน" โดยขับเคลื่อน 2 รูปแบบ ประกอบด้วย

1.การใช้เทคโนโลยีในการคัดแยกขยะและการฝึกอบรม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

2.ขับเคลื่อนนวัตกรรมต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างสรรค์ลดขยะหรือของเสียเหลือศูนย์ (Zero Waste) อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ วว. ใช้เทคโนโลยีในการคัดแยกขยะ มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบเม็ดหรือเกล็ดพลาสติก ผลิตเป็นวัตถุดิบหมุนเวียน การทำเชื้อเพลิงขยะ (RDF) การบำบัดน้ำเสียเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพและใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพให้เกิดประสิทธิภาพ และนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดขยะหรือของเสียเหลือศูนย์ รวมถึงการปฏิรูปเพื่อฟื้นฟูบ่อขยะ และนำทรัพยากรในบ่อขยะมาใช้ประโยชน์ พร้อมประเมินศักยภาพการสลายตัวของสารอันตรายในสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับว่าโครงการวิจัยนี้สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนด้านการจัดการขยะ

เทคโนโลยีการฟื้นฟูและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมของ วว.

วว.มีห้องปฏิบัติการวิจัย วิเคราะห์ทดสอบสมบัติการสลายตัวทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการกับหน่วยงานสากลทั้งในประเทศและต่างประเทศ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนด้านภาคการผลิตอุตสาหกรรม ผลักดันให้ผู้ผลิตปรับปรุงคุณภาพสินค้าหรือบริการ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ทางเลือกหนึ่งในการฟื้นฟูและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติกคือ การใช้พลาสติกสลายตัวทางชีวภาพ (Compostable Plastics) ที่มีคุณสมบัติเด่นคือ สลายตัวได้ง่ายและเร็วกว่าพลาสติกทั่วไปในสภาวะธรรมชาติ หลังกระบวนการย่อยสลายจะกลายเป็นปุ๋ยหมักที่เป็นประโยชน์กับพืชและไม่มีผลตกค้างในระดับที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

ผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างสรรค์ของ วว.

วว. ต่อยอดงานวิจัยพัฒนานวัตกรรมต้นแบบเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างสรรค์ ซึ่งมีศักยภาพเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ เป็นตัวอย่างในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มและลดขยะหรือของเหลือศูนย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้

ถ่านหอม 3 in 1 นำถ่านเปลือกผลไม้ สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการผสมกับดินธรรมชาติและใช้เทคนิคในการเอิบชุม พัฒนาให่มีกลิ่นหอมอยู่ในตัวถ่านเปลือกผลไม้ และสามารถปล่อยกลิ่นหอมอย่างช้าๆ หลังจากกลิ่นหอมหมด ถ่านหอมจะมีคุณสมบัติดูดซับกลิ่นอับในตู้เสื้อผ้า ตู้รองเท้า หรือในบ้าน เมื่อถ่านเปลือกผลไม้หมดสภาพยังสามารถนำไปใส่ในกระถางต้นไม้ เพื่อเพิ่มความพรุนให้กับดิน นับเป็นการนำของเสียมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ในรูปแบบต่างๆและกลับคืนสู่ธรรมชาติ

ไข่น้อยต่อยมดและชอล์กไล่มดแดง จากเปลือกไข่ที่จัดเป็นขยะอินทรีย์ซึ่งไม่มีมูลค่า วว. พัฒนาเป็นชอล์กที่สามารถสร้างรายได้ชิ้นละ 15-20 บาทต่อแท่ง เมื่อหมดความจำเป็นจากการใช้งาน สามารถนำมาใช้เป็นสารปรับปรุงดินที่เป็นกรด โดยไม่ต้องพึ่งพาการใช้สารเคมีเพื่อปรับสภาพดินที่เป็นแหล่งอาหารให้กับมนุษย์และสัตว์

คาปูชิโน่ซอยส์ เป็นการใช้ประโยชน์จากกากกาแฟและสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมพร้อมความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนารายได้จากมูลค่ากากกาแฟกิโลกรัมละ 7 บาท สร้างมูลค่าเพิ่มถึงกิโลกรัมละ 40 บาท จากภาพลักษณ์ที่สวยงามยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพืชไม้ดอกไม้ประดับของไทยได้อีกทางหนึ่ง

Smart Coagulant วว.พัฒนาเถ้าชีวมวลเป็นสารเร่งตะกอนร่วมกับซีโอไลต์ด้วยกระบวนการทางความร้อน (Hydrothermal Method) ทำให้สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการเติมสารเคมีเพื่อปรับค่าความเป็นกรดด่าง ทำให้นำน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรมนี้ช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนในการผลิตสารเร่งตกตะกอนที่มีในปัจจุบัน

ซีโอไลต์บ่อกุ้งจากเถ้าชีวมวล วว. พัฒนาเถ้าชีวมวลเป็นซีโอไลต์ ด้วยกระบวนการทางความร้อน (Hydrothermal Method) ทดแทนการนำเข้าซีโอไลต์ที่ได้จากแร่ภูเขาไฟ โดยซีโอไลต์จากเถ้าชีวมวลสามารถกำจัดแอมโมเนียในบ่อกุ้ง บ่อปลา หรือน้ำเสียที่มีปริมาณแอมโมเนียสูง ภายหลังการใช้งานยังสามารถนำซีโอไลต์มาผสมกับเถ้าชีวมวลประเภทอื่นๆผลิตเป็นปุ๋ยละลายช้าให้กับชาวสวนหรือเกษตรกรได้

วัสดุดูดซับยูเรีย วว. มีความเชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนาผลิตซีโอไลต์จากของเสียภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อดูดซับของเสีย รวมถึงการผลิตปุ๋ยละลายช้า ทั้งนี้ วว. ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบวัสดุดูดซับยูเรียด้วยซีโอไลต์จากตอซังข้าว ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะหรือของเสียได้อย่างเป็นรูปธรรม

ก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียเศษอาหาร ด้วยกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ (Anaerbic Digestion) สามารถนำหุงต้มได้ นอกจากนี้ยังสามารถปรับปรุงค่าความร้อนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ทั้งด้านความร้อน ไฟฟ้า และการอัดไบโอมีเทนที่ใช้งานกับรถยนต์ เป็นต้น นวัตกรรมนี้เป็นการนำน้ำเสียมาใช้ประโยชน์รวม ทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์

ถนนยางมะตอย การพัฒนานวัตกรรมในการผลิตยางมะตอยจากขยะพลาสติก โดยการผสมพลาสติก PVC ร่วมกับพลาสติกชนิดอื่นๆ หินฟันม้า และยางรถยนต์เก่า เป็นอีกวิธีหนึ่งในการกำจัดขยะพลาสติกและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการผลิตเป็นยางมะตอยสำหรับใช้กับถนนในประเทศ ลดการใช้ทรัพยากรปิโตรเลียม โดยการใช้ขยะพลาสติกทั้งบนบกและในทะเล อันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดขะหรือของเสียเหลือศูนย์ อีกทั้งยังลดการปลดปล่อยก๊าซคทร์บอนไดออกไซด์ได้อีกทางหนึ่ง

ภารกิจของ วว. ในการมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยการวิจัยและพัฒนาผลิตนวัตกรรมต้นแบบดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของผลสำเร็จจากการดำเนินงานของ วว. ในหลากหลายมิติ ซึ่งจะสอดประสานถักทอให้เศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศก้าวเข้าสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนตามนโยบายการบริหารประเทศ ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ "BCG" ซึ่งจะช่วยต่อยอดจุดแข็งของประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจาก "ทำมากแต่ได้น้อย" ไปสู่ "ทำน้อยแต่ได้มาก" ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง "ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน"

วว. มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วว. มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วว. มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้