เปิดเรื่องราวของ “สตรี” ที่เป็นพลังขับเคลื่อนสิ่งดี ๆ เพื่อสังคม

จันทร์ ๐๙ มีนาคม ๒๐๒๐ ๑๖:๑๘
หลายปีที่ผ่านมาต้องบอกว่า “สตรีเพศ”ได้ก้าวสู่ผู้นำด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง บ้างก็มีบทบาททางด้านเศรษฐกิจบ้างก็เป็นผู้เปลี่ยนแปลงด้านสังคม แล้วก็ต้องยอมรับว่า “สตรียุคใหม่”ไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่เลี้ยงลูกอยู่บ้านหรือเก่งแค่เพียงเรื่องหุงหาอาหารเท่านั้น เพราะทุกวันนี้ “สตรีเพศ” ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าไม่ว่าจะอาชีพไหนๆ หรือบทบาทหนักอะไร ผู้หญิงก็ทำได้ดีสตรองไม่แพ้เพศที่แข็งแกร่งอย่างเพศชายเลยทีเดียว
เปิดเรื่องราวของ สตรี ที่เป็นพลังขับเคลื่อนสิ่งดี ๆ เพื่อสังคม

และเพื่อเป็นการยกย่องบทบาทของสตรีผู้แข็งแกร่งเนื่องในช่วงเดือนสตรีสากลวันนี้จึงได้รวบรวม “ที่สุด” แห่งสตรี เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการทำงานให้กับผู้หญิงยุคใหม่ซึ่งบทบาทของพวกเธอไม่ได้ทำเพื่อตัวเองเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคมและพร้อมที่จะส่งต่อสิ่งดีๆ เหล่านั้นไปสู่ผู้อื่นทุกเมื่อ ส่วนเรื่องราวของพวกเธอจะ“ที่สุด” มากแค่ไหนไปตามติดพร้อมกันได้เลย

ใจสู้ที่สุด

สุพัตรา จิโน หรือป้าพัตร สมาชิกโครงการปักจิตปักใจ หญิงที่ตาบอดตั้งแต่อายุ 2 ขวบแต่หัวใจไม่มืดบอดที่มีฝีมือการปักผ้าสวยงามไม่แพ้คนตาดี โดยลวดลายการปักผ้าของป้าพัตรถูกถ่ายทอดลงบนสินค้าไม่ว่าจะเป็นกระเป๋า หรือเสื้อผ้าในโครงการ “ปักจิต ปักใจ” ที่ช่วยสร้างอาชีพให้คนตาบอด ป้าพัตรเล่าว่า “รักในงานฝีมือจึงได้เข้าร่วมโครงการแม้ว่าดวงตาจะมองไม่เห็น ป้าพัตรใช้เวลาฝึกฝนไม่นานก็สามารถปักผ้าได้หลากหลายลวดลาย แต่ลวดลายที่ชอบมากที่สุดคือปลาโลมา เพราะเป็นสินค้าที่ ปวีณสุดา ดรูว์อิ้น มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2019 นำไปใช้เป็นเครื่องแต่งกาย และได้รับการสั่งซื้อจากแฟน ๆ นางงามเป็นจำนวนมาก ป้าพัตรยังเล่าอีกด้วยว่า ตอนเด็กๆ ไม่รู้เลยว่าปลาแต่ละชนิดแตกต่างกัน เพราะมองไม่เห็นแต่หลังจากที่เข้าร่วมโครงการปักจิตปักใจ ทางคุณครูมีแพทเทิร์นใหม่ๆ มาให้เราได้ลองจับ ลองปักจึงทำให้รู้ว่าปลาแต่ละชนิดมีรูปร่างหน้าไม่เหมือนกัน แม้ว่าป้าพัตรจะมองไม่เห็นแต่ก็ยังเฝ้าฝึกฝนปักผ้าอย่างไม่ย่อท้อ จนขณะนี้สามารถปักผ้าได้อย่างสวยงาม เรียกได้ว่าปรมาจารย์ด้านผ้าปักเลยก็ได้ว่า เพราะป้าพัตรมีความเชื่อเสมอว่า “ถ้าคนอื่นทำได้ เราก็ต้องทำได้”

ใจรักที่สุด

นางพวงเพ็ญ ลิ่มเสรีตระกูล หรือป้าเพ็ญ ข้าราชการที่เออรี่รีไทร์ออกมา เพื่อสานต่อการทอผ้าของเกาะยอ จังหวัดสงขลาจากคุณแม่ ป้าเพ็ญเล่าว่า ตนเกิดและโตในครอบครัวทอผ้า คุณแม่ทำอาชีพทอผ้ามาตั้งแต่ พ.ศ.2516 จึงทำให้มีความผูกพันกับการทอผ้ามาตั้งแต่เด็ก หลังจากที่รับราชการมานานประกอบกับปัญหาด้านสุขภาพจึงตัดสินใจลาออก และเข้ารับช่วงต่อจากคุณแม่ โดยช่วงแรกที่เข้าร่วมกับสมาชิก “กลุ่มทอผ้าป้าลิ่ม” ตนในฐานะประธานกลุ่มได้ร่วมพัฒนาและยกระดับผ้าทอเกาะยอให้มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ผ้าทอ เนื่องจากช่วงหลังผ้าทอเริ่มขายไม่ค่อยดี และคนทอผ้าก็ลดน้อยลง แต่ก็ไม่คิดจะหยุดทอผ้า เพราะการทอผ้าเป็นความผูกพันและเป็นอาชีพหลักของคนชุมชนเกาะยอ ดังนั้นตนจะเดินหน้าเพื่อพัฒนากระบวนการทอผ้าเกาะยอ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบรวดลายใหม่ๆให้มีความทันสมัย รวมทั้งหานวัตกรรมการย้อมผ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาผสมผสานกับการทอและการย้อมผ้าแบบดั่งเดิม โดยที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนจากไปรษณีย์ไทยในการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายทำให้ผ้าทอเกาะยอเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

สุดทุกส่ง

นางสาวกฤตยรัตน์ เกตุมรรค เจ้าหน้าที่นำจ่ายหญิงประจำ ปณ.แม่สรวย จ.เชียงใหม่ ที่ทำหน้าที่ส่งจดหมาย พัสดุให้ผู้ใช้บริการในตำบลท่าก๋อที่มีจำนวนมากกว่า 5,000 หลังคาเรือน ไม่ว่าจะร้อน จะฝน หรือจะหนาว พี่กฤตยรัตน์ก็ไม่ได้หยุดทำหน้าที่ เพราะการนำจ่ายพัสดุเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว พี่กฤตยรัตน์เล่าถึง จุดเริ่มต้นของการทำอาชีพนำจ่ายหญิง ที่ใครๆ มักจะเรียกกันติดปากว่า “บุรุษไปรษณีย์” ว่าตนเริ่มทำอาชีพนี้มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบันก็เป็นเวลากว่า 10 ปี ในละแวกตำบลท่าก๋อตนนำส่งมาแล้วทุกบ้าน ที่เข้ามาทำงานเป็นนำจ่ายเพราะเห็นว่าในสมัยก่อนการติดต่อสื่อสารค่อนข้างเป็นไปอย่างลำบากโดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัดที่เทคโนโลยียังเข้าไม่ถึง ลูกหลานที่ไปทำงานต่างถิ่นสามารถติดต่อกับครอบครัวได้เพียงทางจดหมายเท่านั้น ดังนั้นตนจึงอยากทำหน้าที่ที่คอยเชื่อมโยงคนที่อยู่ไกลจากครอบครัวให้ได้ใกล้กัน แต่พอทำได้สักระยะก็เริ่มรู้สึกว่างานนำจ่ายเป็นงานที่ ท้าทาย และเป็นงานที่สนุก นอกจากจะได้ขับรถไปตรอก ซอก ซอยต่างๆ เพราะระหว่างที่นำจ่ายก็จะได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนในชุมชนมากยิ่งขึ้น จนถึงปัจจุบันการนำจ่ายพัสดุเป็นมากกว่าการมาส่งของแล้วก็จากไป เพราะทุกครั้งที่ได้นำกล่องพัสดุมาส่งมักจะเห็นแววตาแห่งความตื่นเต้นของผู้รับกล่องพัสดุเสมอ ซึ่งบางครั้งการทำหน้าที่นำจ่ายก็คล้ายๆ กับการนำความสุขมาส่งให้ผู้ใช้บริการเช่นกัน นั่นเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่พี่กฤตยรัตน์อยากทำอาชีพนำจ่ายต่อไป และอยากจะพัฒนาการบริการให้ดีขึ้นไปอีก พร้อมทั้งตั้งปณิธานว่าไม่ว่าหนทางจะลำบากแค่ไหนก็จะต้องเอาพัสดุและซองจดหมายไปส่งถึงผู้รับให้ได้

หวังว่าเรื่องราวของ 4 สตรีที่ไปรษณีย์ไทยนำมาฝากนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงคนอื่นๆ หยิบไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และนำแนวคิดที่ได้ไปร่วมสร้างสิ่งดีๆ ออกสู่สังคมต่อไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ THP Contact Center 1545 หรือ www.thailandpost.co.th

ส่วนบริหารสื่อองค์กร ฝ่ายบริหารภาพลักษณ์องค์กร โทร. 0 2831 3512

มาริสาสีหาวัฒน์ /+6687-566-4233

วีนัสรินทร์ศิริผล /+6685-140-3665

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชนติดต่อ

เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์- JC&CO PUBLICRELATIONS –

วัชรกร เต่าทอง/+6685-098-6560 / [email protected]

ปวีณรัตน์ เฟื่องสีไหม /+6683-409-7488/ [email protected]

** MEDIA HOTLINE: 02-634-4557 / 081-486-3407** (ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้