รักษ์ภาษาไทย ดำรงความอารยะ

จันทร์ ๓๐ มีนาคม ๒๐๒๐ ๐๙:๓๑
เมื่อภาษาใดภาษาหนึ่งสูญหายไป ไม่มีคนใช้หรือเข้าใจ นั่นนับเป็นการสูญเสียอารยธรรมและภูมิปัญญาชุดหนึ่งของโลกทีเดียว อย่างภาษาของชาติพันธุ์ต่างๆ แม้ชนของชาติพันธุ์นั้นยังสืบเชื้อสายอยู่ แต่หากภาษาของพวกเขาที่สั่งสมมานานสูญสิ้น ภูมิปัญญาเช่นด้านสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคอันอาจจะเป็นประโยชน์กับการแพทย์ปัจจุบันก็จะอันตรธานไปด้วย
รักษ์ภาษาไทย ดำรงความอารยะ

การสูญสิ้นไปของภาษาและภูมิปัญญาเกิดขึ้นตามกาลเวลาและสภาพสังคมแต่โลกเทคโนโลยีดิสรัปชันและโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันทำให้อัตราเร่งของการหายไปของภาษาดูจะเพิ่มเป็นทวีคูณ องค์การยูเนสโกได้คาดการณ์ว่าในอีกไม่ถึง 100 ปี กว่า 6,000 ภาษาจะสาบสูญ อันรวมถึง 25 ภาษาที่มีอยู่ในประเทศไทยด้วย อาทิ ภาษามลาบรี (ภาษาผีตองเหลือง) ภาษาอูรักลาโว้ย ภาษาญัฮกุร ซึ่งใกล้เคียงกับภาษามอญโบราณในสมัยทวารวดี เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ ศ.ดร.มณีรัตน์?สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา?ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตสภา ประธานศูนย์พหุภาษาการแปลและการล่ามแห่งอาเซียน จึงมุ่งมั่นทำงานด้านภาษาและการแปล จนทำให้อาจารย์เป็นคนแรกที่ได้รับรางวัล?Global Human Settlements Outstanding Contribution Award 2019?ด้านบูรณาการภาษา?ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา ของ Sustainable Cities And Human Settlements Awards ภายใต้กรอบ?SDGs?ขององค์การสหประชาชาติ

“ภาษาไม่เพียงทำให้เราสื่อสารความหมายเพื่อเข้าใจกัน แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญของการสร้างความรู้ อารยธรรม และอัตลักษณ์ของกลุ่มชนด้วย ถ้าวันหนึ่ง ชนชาติเราไม่อยู่ แต่หากภาษายังคงมีอยู่อย่างถูกต้อง ก็จะส่งต่อความหมาย ความรู้ภูมิปัญญาให้คนในภายหน้าได้” อาจารย์มณีรัตน์ กล่าว

“ชาติมหาอำนาจดิ้นรนให้ภาษาของตนเป็นที่ต้องการและใช้ในหลายประเทศ เพราะการใช้ภาษาเป็นเครื่องแสดงอำนาจและศักยภาพของเจ้าของประเทศว่าสามารถดูแลทรัพยากรที่มีมูลค่าในประเทศได้”

นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์รุ่นที่ 37 อธิบาย “ความบริสุทธิ์ของภาษา” โดยย่อว่า หมายถึงการรักษาคำศัพท์ หลักไวยากรณ์ แบบอย่างการใช้ภาษาที่เป็นมาตรฐาน และฉันทลักษณ์ภาษา เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน อันเป็นเอกลักษณ์ทางวรรณศิลป์ของภาษาไทย เป็นต้น

การจัดตั้งศูนย์การแปลแห่งชาติ เป็นหนึ่งในแนวคิดสำคัญที่อาจารย์มณีรัตน์เห็นว่าจะช่วยรักษาความบริสุทธิ์ของภาษาไทยให้ยั่งยืนสู่รุ่นลูกหลาน

“เราต้องรวบรวมผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาและเทคโนโลยี เพื่อวิจัยภาษาไทย เก็บอัตลักษณ์และแบบอย่างการใช้ภาษาที่ถูกต้อง ทั้งหลักไวยากรณ์และประวัติศาสตร์ภาษา เพื่อเป็นคลังข้อมูลในการสืบค้นและอ้างอิงที่ถูกต้อง ใช้สืบประวัติย้อนไปสู่ข้อเท็จจริงทางโบราณคดีได้ และเก็บรักษาภูมิปัญญาของชาติไว้”

แม้ศูนย์การแปลแห่งชาติจะต้องนำเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง AI (Artificial Intelligence) และ Big Data เป็นตัวช่วยสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูลและประมวลผลภาษา แต่มนุษย์ก็ยังคงเป็นปัจจัยหลักในการรักษาอัตลักษณ์ทางภาษา

“เราต้องสร้างบรรทัดฐานการใช้ภาษาไทย ซึ่งเมื่อนำไปป้อนข้อมูลในเทคโนโลยีก็จะทำให้เกิดมาตรฐานการใช้ภาษาอย่างถูกต้องได้ง่าย ยิ่งมีคนรู้ภาษาที่ถูกต้องมาก ก็จะยิ่งมีตัวคัดกรองมากขึ้น”?

การใช้ภาษาได้อย่างเป็นมาตรฐานอาศัยการบ่มเพาะและสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งอาจารย์มณีรัตน์กล่าวถึงการพัฒนาคุณภาพการใช้ภาษา ทั้งผู้สอน การเรียนการสอน และผู้เรียน

“เราควรทำให้เด็กและเยาวชนเห็นคุณค่าและมีทัศนคติในการการเรียนรู้ภาษาที่ถูกต้อง?แยกแยะได้ว่าภาษาของไทยมีเอกลักษณ์แบบใด?ฉันทลักษณ์เป็นอย่างไร?ให้เขารู้ว่าภาษาทางการควรใช้แบบไหน?ภาษาในสื่อหรือแบบไม่เป็นทางการใช้อย่างไร”?

การเรียนการสอนภาษาไม่ควรเน้นให้ผู้เรียนสื่อสารในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ควรทำให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารภาษาในระดับที่ทำงานได้ดีด้วย (working language) ทั้งภาษาไทยและภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษ หรือภาษาในอาเซียน

“เราจำเป็นต้องมีความรู้ภาษาอื่นในระดับที่ใช้งานได้ดี รู้คำศัพท์แม่นยำ ใช้ภาษาได้ถูกต้อง เข้าใจนัยยะของความคิดและวัฒนธรรมที่ฝังลึกอยู่ในภาษานั้นด้วย เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ?ทั้งระดับประชาชน เอกชนและภาครัฐ”

สุดท้าย หัวใจของการเรียนรู้ภาษาอยู่ที่นิสัยและทักษะการอ่านของคนในชาติ

“การอ่านคือกระบวนการสร้างความคิดและความคิดสร้างสรรค์ เราต้องพัฒนาการอ่านให้แตกฉาน การอ่านช่วยต่อยอดความคิด เพราะเมื่อรับความรู้ ความเข้าใจบางอย่างไปแล้ว ก็จะเกิดการต่อยอดสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศของเราต้องการ” อาจารย์มณีรัตน์กล่าวทิ้งท้าย

??ข้อมูลอ้างอิง?http://www.unesco.org/languages-atlas/index.php?

เรื่อง : นิธิกานต์ ปภรภัฒ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ แคสเปอร์สกี้เผย บริษัทมากกว่าครึ่งในเอเชียแปซิฟิกใช้ AI และ IoT ในกระบวนการทางธุรกิจ
๑๗:๑๔ พร้อมจัดงาน สถาปนิก'67 ภายใต้ธีม Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
๑๗:๓๓ โรงแรมชามา เลควิว อโศก กรุงเทพฯ จัดโปรโมชั่นฉลองเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๓๘ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยชาวสระแก้ว มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝน ณ
๑๗:๔๙ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร พร้อมมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 ท่าน
๑๗:๑๘ แน็ก ชาลี - มุก วรนิษฐ์ ชวนเปิดประสบการณ์ความเฟรช ในงาน Space of Freshtival 30 มีนาคมนี้ ที่ สยามสแควร์วัน
๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ