เตือนชาวสวนไม้ผลระวังเพลี้ยแป้งทุเรียนระยะใกล้เก็บเกี่ยวช่วงฤดูแล้ง

ศุกร์ ๐๓ เมษายน ๒๐๒๐ ๐๘:๒๕
นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะประธานศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยแล้งด้านการเกษตร ปี 2563 กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ แหล่งปลูกทุเรียนที่สำคัญของไทยมีหลายภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคตะวันออก เช่น ระยอง จันทบุรี และตราด และภาคใต้ เช่น ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ขณะนี้พบว่าอยู่ในระยะพัฒนาผล เริ่มแก่ใกล้เก็บเกี่ยว ประกอบกับในช่วงที่สภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง จึงขอให้เกษตรกรเฝ้าระวังการระบาดทำลายของเพลี้ยแป้งทุเรียน
เตือนชาวสวนไม้ผลระวังเพลี้ยแป้งทุเรียนระยะใกล้เก็บเกี่ยวช่วงฤดูแล้ง

โดยรูปร่างของเพลี้ยแป้งทุเรียนเพศเมีย (Planococcus minor (Maskell) และ Planococcus lilacinus (Copckerell) มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3.0 มิลลิเมตร มีสีเหลืองอ่อนหรือชมพู ตัวอ้วนสั้น ผลสีขาวคล้ายผงแป้งปกคลุมลำตัว วางไข่เป็นกลุ่ม ๆ ละ 100-200 ฟอง เพศเมียตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 600-800 ฟอง ภายในเวลา 14 วันไข่จะฟักอยู่ในถุงใต้ท้อง ระยะไข่ประมาณ 6-10 วัน เพศเมียเมื่อวางไข่หมดแล้วจะตายไป เพลี้ยแป้งเพศเมียลอกคราบ 3 ครั้ง และไม่มีปีก ส่วนเพศผู้ลอกคราบ 4 ครั้ง มีปีกและมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย เพลี้ยแป้งสามารถขยายพันธุ์ได้ 2-3 รุ่น ใน 1 ปี

ลักษณะการทำลาย เพลี้ยแป้งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณกิ่ง ช่อดอก ผลอ่อน ผลแก่ โดยมีมดดำเป็นตัวคาบพาไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช นอกจากนี้เพลี้ยแป้งจะขับน้ำหวาน (honey dew) ออกมาเป็นสาเหตุให้ราดำที่มีอยู่ในธรรมชาติเข้าทำลายซ้ำ หากพบเพลี้ยแป้งเข้าทำลายทุเรียนในระยะผลเล็กจะทำให้ผลแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต แต่ถ้าเป็นผลใหญ่ทำให้คุณภาพผลทุเรียนลดลงและไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

กรมส่งเสริมการเกษตรขอแนะนำให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งทุเรียน โดยหมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบเพลี้ยแป้งระบาดเล็กน้อย เช่น บนกิ่ง ให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายทิ้งไป หากพบบนผลทุเรียนในปริมาณน้อยอาจใช้แปลงปัด ใช้น้ำพ่นให้เพลี้ยแป้งหลุด หรือใช้น้ำผสมไวท์ออยส์ อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้ผ้าชุบสารคาร์บาริล อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พันไว้ตามกิ่งสามารถป้องกันไม่ให้มดคาบเพลี้ยแป้งไปยังส่วนต่าง ๆ ของทุเรียน หรือใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นไปยังโคนต้น ได้แก่ เมทิดาไทออน อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเฉพาะต้นที่พบเพลี้ยแป้งจะช่วยป้องกันมดและลดการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง สำหรับการใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น การปล่อยด้วงเต่า หรือแมลงช้างปีกใส จะช่วยกินเพลี้ยแป้งและช่วยลดการทำลายของเพลี้ยแป้งได้เช่นกัน หากเกษตรกรท่านใดมีข้อสงสัย ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เจ้าหน้าที่เกษตรตำบลหรือเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน

เตือนชาวสวนไม้ผลระวังเพลี้ยแป้งทุเรียนระยะใกล้เก็บเกี่ยวช่วงฤดูแล้ง เตือนชาวสวนไม้ผลระวังเพลี้ยแป้งทุเรียนระยะใกล้เก็บเกี่ยวช่วงฤดูแล้ง เตือนชาวสวนไม้ผลระวังเพลี้ยแป้งทุเรียนระยะใกล้เก็บเกี่ยวช่วงฤดูแล้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4