บริษัทสตาร์ทอัพไทยคว้าทุน 40,000 ดอลลาร์จากการแข่งขัน Chivas Venture

พุธ ๑๕ เมษายน ๒๐๒๐ ๐๘:๑๕
การแข่งขันของบรรดาธุรกิจเพื่อสังคมที่มุ่งตอบสนองความต้องการเร่งด่วนทั่วโลก มอบเงินรางวัลรวม 1 ล้านดอลลาร์ให้แก่ผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศทั้ง 26 ราย

Chivas แบรนด์สกอตช์วิสกี้ชั้นนำ ประกาศว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลกของไวรัสโควิด-19 เงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์ของการแข่งขัน Chivas Venture ในปีนี้ จะถูกแบ่งให้กับผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศระดับโลกทั้ง 26 รายเท่า ๆ กัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ยังแฮปปี้ (YoungHappy) ธุรกิจเพื่อสังคมจากประเทศไทย

การแข่งขัน Chivas Venture จัดขึ้นเป็นปีที่ 6 เพื่อมอบเงินทุนแบบไม่ผูกมัดรวม 1 ล้านดอลลาร์ให้แก่บริษัทสตาร์ทอัพเพื่อสังคมที่สามารถผสมผสานการทำกำไรเข้ากับการบรรลุเป้าหมาย เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่โลกของเรา สำหรับการแข่งขันในปีนี้มีธุรกิจเพื่อสังคม 26 แห่ง จาก 26 ประเทศใน 5 ทวีปที่ได้รับการคัดเลือก โดยยังแฮปปี้เป็นผู้คว้ารางวัลชนะเลิศในประเทศไทย เดิมทียังแฮปปี้ต้องนำเสนอผลงานในรอบชิงชนะเลิศระดับโลกในเดือนมิถุนายนเพื่อชิงเงินรางวัล แต่ตอนนี้บริษัทได้รับเงินทุนทันที 40,000 ดอลลาร์ ซึ่งสามารถนำไปสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกท่ามกลางสถานการณ์ที่กำลังทดสอบจิตใจของผู้คนทั่วโลก

Alexandre Ricard ประธานและซีอีโอบริษัท Pernod Ricard กล่าวว่า

“เรารู้สึกเสียใจอย่างยิ่งที่ต้องรวบรัดการแข่งขัน Chivas Venture ในปีนี้ เนื่องจากโควิด-19 ส่งผลกระทบทั่วโลก ขณะนี้โลกของเราต้องการความมุ่งมั่นทุ่มเทของผู้ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก เราจึงตัดสินใจมอบทุนให้แก่ผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศทุกรายทันที เพื่อให้พวกเขาสามารถเดินหน้าทำงานและสร้างผลลัพธ์เชิงบวกในชุมชนของตนเองท่ามกลางสถานการณ์ความไม่แน่นอนเช่นนี้ ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับบริษัทสตาร์ทอัพและชุมชนที่บริษัทเหล่านี้ดำเนินธุรกิจอยู่”

ผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศระดับโลกในปีนี้มีแนวทางที่โดดเด่นและสร้างสรรค์ในการจัดการกับปัญหาทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ซึ่งหลายปัญหาย่ำแย่ลงเพราะการระบาดใหญ่ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนที่มีความเสี่ยงหรือถูกโดดเดี่ยว ทั้งนี้ ในส่วนของยังแฮปปี้นั้น บริษัทได้นำเสนอบริการ กิจกรรม และผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงอายุยังคงสามารถใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉง มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น และได้ติดต่อกับเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน พร้อมกับสนับสนุนการมีสุขภาพดีไปในตัว

คุณธนากร พรหมยศ ผู้ร่วมก่อตั้งยังแฮปปี้ กล่าวว่า “เราตั้งตารอที่จะได้พบกับผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ๆ และแข่งขันกันในรอบชิงชนะเลิศระดับโลกของ Chivas Venture แต่ตอนนี้พวกเราทุกคนมีปัญหาที่เร่งด่วนและใหญ่กว่า ด้วยเหตุนี้ เราจึงสนับสนุนการตัดสินใจรวบรัดการแข่งขันในปีนี้ เรารู้สึกซาบซึ้งใจอย่างยิ่งกับการสนับสนุนจาก Chivas Venture ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อชุมชนยังแฮปปี้”

จนถึงปัจจุบัน Chivas Venture ได้มอบเงินทุนแบบไม่ผูกมัดรวม 5 ล้านดอลลาร์ให้แก่สตาร์ทอัพเพื่อสังคม ซึ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกแก่ผู้คนกว่า 2 ล้านชีวิต ใน 50 ประเทศทั่วโลก ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดหาน้ำดื่มสะอาด 34 ล้านลิตรให้ชุมชน การรีไซเคิลขยะ 1,300 ตัน การช่วยเหลือเกษตรกรกว่า 2,500 ครอบครัวให้หลุดพ้นจากความยากจน และการให้การศึกษารวมระยะเวลากว่า 75,000 วันแก่สตรีและเด็กหญิง

เหมือนดั่งที่ Chivas เชิดชูการผสมผสานอันสมบูรณ์แบบของวิสกี้จากมอลต์และธัญพืช Chivas Venture ก็เชิดชูผู้ประกอบการที่ผสมผสานการทำกำไรเข้ากับการบรรลุเป้าหมาย เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่โลกของเรา สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Chivas Venture และผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศระดับโลกในปีนี้ได้ที่ www.chivas.com/the-venture หรือติดตามทวิตเตอร์ @ChivasVenture

#ChivasVenture

ผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศระดับโลกแบ่งตามประเทศ

ประเทศ ชื่อธุรกิจ ชื่อผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศ ภาพรวมธุรกิจ

อาร์เจนตินา Mamotest Guillermo Pepe Mamotest

มุ่งมั่นลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านม

ด้วยการช่วยเหลือสตรีที่ขาดแคลนเงินในการเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม

ออสเตรเลีย Okra Solar Damian Veling Okra Solar

ออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้ผู้ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้สามารถเข้าถึงพลังงานและไฟฟ้า

เบลเยียม Oak Tree Danae Van Dan Bossche Oak Tree Projects จัดหาที่อยู่อาศัยในราคาย่อมเยาให้แก่ผู้ทุพพลภาพ

Projects

บราซิล Raizs Tomas Abrahao Raizs คือแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เชื่อมผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์กับผู้บริโภคโดยตรง

เพื่อแก้ปัญหาขยะอาหารและปัญหาความยากไร้

บัลแกเรีย Enova H2O Huseyin Yemendzhiev Enova H2O พัฒนาเครื่องมือและบริการที่ทันสมัย เพื่อการจัดการคุณภาพน้ำอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

แคนาดา Tandem Technical Heather Ward Tandem ช่วยให้ผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมต่าง

ๆ สามารถดักจับมลพิษ พร้อมกับเปลี่ยนภาระเหล่านี้ให้กลายเป็นสินทรัพย์

ชิลี Wheel the World Alvaro Silberstein Wheel the World คือเว็บที่ผู้ใช้งานสามารถค้นหาและจองโปรแกรมท่องเที่ยวสำหรับผู้ทุพพลภาพได้อย่างง่ายดาย

จีน P.E.T. Jane Zhao P.E.T. ผลิตสิ่งทอจากขวดพลาสติกรีไซเคิล

100% เช่น ผ้าพันคอและผ้ากันเปื้อน

ซึ่งช่วยลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม บริษัทมีแผนรีไซเคิลขวดพลาสติก 1 ล้านขวดภายในปี 2564

โคลอมเบีย Recupera Tu Maria Sanchez Recupera Tu Silla เป็นธุรกิจซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

Silla การยืดอายุเฟอร์นิเจอร์ช่วยให้ลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่ายสูงถึง 75% ทั้งยังสร้างงานให้กับคนที่อยู่ในภาวะลำบากด้วย

อังกฤษและเวลส์ WASE Thomas Fudge WASE พัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

เพื่อดึงพลังงานไฟฟ้า สารอาหาร และน้ำสะอาดออกมาจากน้ำเสีย พร้อมมอบสุขอนามัยและพลังงานไฟฟ้าให้แก่ชุมชนที่ยากไร้

กรีซ 100mentors Georgios Nikoletakis 100mentors เชื่อมโยงนักเรียนจากโรงเรียนที่ขาดแคลนกับครูผู้สอน

ช่วยสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่นักเรียนมีส่วนร่วม มีสมาธิ

และมีความมั่นใจมากขึ้น

ฝรั่งเศส Pandobac Anais Ryterband Pandobac

คือโซลูชันขยะเหลือศูนย์ (zero-waste) ที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

โดยให้บริการกล่องลังแบบใช้ซ้ำแก่ผู้ค้าส่งอาหารสด

อิสราเอล HomeBiogas Oshik Efrati HomeBiogas ผลิตอุปกรณ์ที่สามารถเปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นก๊าซชีวภาพและปุ๋ย ซึ่งช่วยแก้ปัญหาต่าง

ๆ เช่น การทำอาหารโดยใช้น้ำมันที่ไม่สะอาด ของเสีย และสุขอนามัย

อิตาลี Pedius Lorenzo Di Ciaccio Pedius คือแอปที่ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินสามารถรับโทรศัพท์ได้

ด้วยการเปลี่ยนเสียงพูดเป็นข้อความแบบเรียลไทม์

ญี่ปุ่น MyMizu Robin Lewis MyMizu คือแอปเติมน้ำฟรีแอปแรกของญี่ปุ่น

โดยให้ข้อมูลจุดบริการน้ำดื่มสาธารณะ รวมถึงจุดให้บริการเติมน้ำฟรีตามคาเฟ่

โคเวิร์กกิ้งสเปซ โรงแรม และสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ

ช่วยให้ผู้ใช้งานไม่ต้องซื้อน้ำดื่มบรรจุขวด

เพื่อลดการใช้ขวดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

เคนยา Green-Nettle Textile Jonah Mwangi Green-Nettle Textile นำต้นตำแยมาผลิตเป็นสิ่งทอที่มีลักษณะคล้ายผ้าลินิน

นับเป็นการใช้วัสดุจากธรรมชาติและหลีกเลี่ยงวัสดุสังเคราะห์

ทั้งยังสร้างงานให้กับช่างฝีมือหลายพันคนทั่วโลก

เม็กซิโก Graviti Yusef Jacobs Graviti มอบเงินทุนสนับสนุนบริการขั้นพื้นฐาน

เช่น น้ำร้อนและไฟฟ้า ช่วยให้ชาวเม็กซิโก 30% ที่ไม่มีบัญชีธนาคารสามารถใช้บริการที่ต้องจ่ายเงินก่อน

พร้อมปกป้องผู้ใช้จากค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ไม่คาดคิด และช่วยให้เข้าถึงสาธารณูปโภคหลัก

เนเธอร์แลนด์ Urchinomics Brian Tsuyoshi Takeda Urchinomics แก้ปัญหาเม่นทะเลด้วยการเปลี่ยนให้เป็นทรัพยากรที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

โดยนักดำน้ำจะงมเม่นทะเลขึ้นมาจากทะเลและนำมาเลี้ยงในฟาร์มบนบกอย่างเป็นระบบ

จากนั้นขายให้กับผู้ขายอาหารทะเลราคาแพงทั่วโลก

ไนจีเรีย Soupah Farm-en-Market Ifeoluwa Olatayo Soupah มุ่งมั่นแก้ปัญหาห่วงโซ่อุปทานอาหารไร้ประสิทธิภาพในประเทศไนจีเรีย

ด้วยการเชื่อมโยงเกษตรกรรายย่อยในชนบทกับผู้ค้าปลีกในเมือง โดยมีส่วนร่วมตั้งแต่การทำฟาร์มบนดาดฟ้า

การแปรรูปอาหาร ไปจนถึงการเชื่อมโยงเกษตรกรรายย่อยในชนบทกับตลาดในเมือง

โปแลนด์ MakeGrowLab Josh Brito MakeGrowLab มุ่งมั่นสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ปลอดพลาสติก ด้วยการนำวัสดุชีวภาพที่ย่อยสลายได้มาใช้แทนวัสดุจากปิโตรเลียมที่รีไซเคิลไม่ได้

เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมแทนการทำลาย โดยวัสดุชีวภาพมีความทนทาน ปลอดสารพิษ

และสามารถปลูกได้ทุกที่ทั่วโลก

สกอตแลนด์ Crover Lorenzo Conti Crover สร้างหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่สามารถเคลื่อนที่ไปมาในโรงเก็บธัญพืช

เพื่อตรวจสอบสภาพของธัญพืช

ซึ่งจะช่วยลดจำนวนธัญพืชที่เสียหายมากมายนับไม่ถ้วนในแต่ละปี

สเปน EthicHub Gabriela Chang EthicHub คือแพลตฟอร์มบล็อกเชนสำหรับระดมทุนให้แก่เกษตรกรรายย่อย โดยนักลงทุนทั่วโลกสามารถช่วยเหลือเกษตรกรที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนที่เป็นธรรม

Valdovinos ทั้งยังเชื่อมโยงเกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนากับโครงการที่ทำกำไรในประเทศพัฒนาแล้ว

แอฟริกาใต้ Hustlenomics Nhlanhla Ndlovu Hustlenomics สอนให้สตรีและเยาวชนปรับปรุงที่อยู่อาศัยที่ทรุดโทรมให้กลายเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงโดยใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างที่ทันสมัย

Hustlenomics

มอบโอกาสให้ครอบครัวที่มีรายได้น้อยได้สร้างที่อยู่อาศัยที่มั่นคงโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

ไทย YoungHappy Thanakorn Phromyos YoungHappy คือชุมชนที่สร้างความสุขให้แก่ผู้สูงอายุ โดยนำเสนอกิจกรรมและบริการที่ช่วยให้ผู้สูงอายุยังคงสามารถใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉง

มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น และได้ติดต่อกับเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน

สหรัฐอเมริกา Strella Katherine Sizov Strella สร้างแพลตฟอร์มการตรวจวัดทางชีวภาพที่สามารถคาดการณ์ความสุกงอมของผลผลิตทางการเกษตรในห่วงโซ่อุปทาน

Biotechnology ซึ่งช่วยลดขยะอาหารก่อนการบริโภคได้ถึง 40%

เวียดนาม Cricket One Bicky Nguyen Cricket One ลดขยะทางการเกษตรและสร้างแหล่งโปรตีนที่มีคุณค่า ด้วยการใช้ประโยชน์จากจิ้งหรีดที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง

มีความปลอดภัย และมีจำนวนมหาศาล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest