“สุวิทย์” ชี้ โควิด กระทบความต้องการกำลังคนในประเทศ เชื่อ เปลี่ยนรูปแบบใหม่มุ่งเน้นความมั่นคงของมนุษย์

จันทร์ ๒๐ เมษายน ๒๐๒๐ ๑๓:๓๒
เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เผยผลสำรวจความต้องการบุคลากรทักษะสูงในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2563 - 2567) และแนวทางการผลิตและพัฒนากำลังคน (Manpower Planning) ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ สอวช. ครั้งที่ 4/2563 โดยมี ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธาน
สุวิทย์ ชี้ โควิด กระทบความต้องการกำลังคนในประเทศ เชื่อ เปลี่ยนรูปแบบใหม่มุ่งเน้นความมั่นคงของมนุษย์

ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ กล่าวว่า ข้อมูลที่ สอวช. ทำการสำรวจความต้องการบุคลากรทักษะสูงในอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นข้อมูลที่ดี และถือเป็นแผนการพัฒนากำลังคนแผนแรกของประเทศที่มีการจัดทำขึ้น ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลสำคัญที่จะเป็นแนวทางการพัฒนากำลังคนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ในช่วงสถานการณ์ปกติ แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในปัจจุบันทำให้ต้องกลับมาทบทวนบริบทโลกที่ส่งผลกระทบถึงการลงทุนจากต่างประเทศที่มีแนวโน้มที่จะดึงการลงทุนในประเทศต่างๆ กลับสู่ประเทศของตนเอง และคาดว่าหลายๆ ประเทศจะเน้นเรื่องเศรษฐกิจฐานราก หรือ Local Economy มากขึ้น ซึ่งจะกระทบความต้องการกำลังคนอย่างแน่นอน ประเทศไทยจึงต้องหันมาพิจารณารูปแบบตำแหน่งงาน และการพัฒนากำลังคนที่เปลี่ยนไปตามสถานการณ์โลกที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังวิกฤตการณ์โควิด

“หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด คาดว่าตำแหน่งงานจะไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติของการตลาด แต่ต้องมีการสร้างงานให้เกิดขึ้นโดยแรงผลักดันของรัฐบาลที่เป็นบิ๊กแบงโปรเจ็ค ซึ่งกระทรวง อว. เองจะต้องสร้างบัณฑิตให้ตอบโจทย์และรองรับกับตำแหน่งงานที่เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ และเรื่องการ Reskill ยังคงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อสร้างกำลังคนให้ตอบโจทย์ได้ทันต่อบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่ควรเร่งทำตอนนี้คือ ต้องช่วยกันคิด ช่วยกันสร้างตำแหน่งงานขึ้นมาเพื่อรองรับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยคาดว่ากลุ่มงานที่สำคัญในช่วงหลังสถานการณ์โควิดที่ภาครัฐควรผลักดันมีอยู่ 3 ด้าน คือ ด้านความมั่นคงทางสุขภาพ, ความมั่นคงทางด้านอาหาร และความมั่นคงทางอาชีพ โดยโครงสร้างทางเศรษฐกิจอาจจะต้องเน้นเศรษฐกิจฐานราก หรือ Local Economy มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ได้มอบหมายให้ สอวช. หารือกับภาคเอกชน นักเศรษฐศาสตร์ รวมถึง บีโอไอ เพื่อคาดการณ์และวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจ แนวโน้มการลงทุน และการจ้างงาน เป็นฉากทัศน์ของประเทศหลังวิกฤตการณ์โควิด เพื่อให้เห็นภาพกว้างที่ชัดเจนมากขึ้นและค่อยมาเจาะลึกลงรายละเอียดเพื่อหาวิธีการพัฒนากำลังคนให้ตอบโจทย์ตามความต้องการของประเทศหลังสถานการณ์โควิดได้อย่างตรงจุดต่อไป” ดร. สุวิทย์ กล่าว

สำหรับผลการสำรวจความต้องการบุคลากรในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2563 - 2567) ดร. กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. เปิดเผยว่า สอวช. ได้ดำเนินการสำรวจแนวโน้มความต้องการบุคลากรในอุตสาหกรรมเป้าหมายจำนวน 12 อุตสาหกรรม โดยดำเนินการสำรวจขณะที่ยังไม่มีปัจจัยเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดเข้ามาเกี่ยวข้อง พบว่า อุตสาหกรรมเป้าหมายจำนวน 12 อุตสาหกรรม ซึ่งประกอบด้วย อุตสาหกรรมเชื้อเพลงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการบินและ โลจิสติกส์ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มผู้มีรายได้สูงและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และอุตสาหกรรมพัฒนาบุคลากรและการศึกษา มีความต้องการบุคลากรรวม 317,946 คน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก

ทั้งนี้ ในจำนวนความต้องการบุคลากร 12 อุตสาหกรรม ข้างต้น สอวช. ได้นำผลมาวิเคราะห์สามารถแบ่งเป็นความต้องการบุคลากรเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ BCG ของประเทศ 4 ด้าน คือ ด้านเกษตรและอาหาร 74,244 คน ด้านสุขภาพและการแพทย์ 20,153 คน พลังงาน ด้านวัสดุและเคมีชีวภาพ 9,836 คน และด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 41,380 คน และหากพิจารณาจำนวนความต้องการบุคลากร กับจำนวนนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละปี พบว่า ภาคการศึกษาสามารถผลิตบัณฑิตได้ประมาณ 3 แสนคน/ปี ส่วนอุตสาหกรรมเป้าหมายมีความบุคลากรตกปีละ 63,589 คน/ปี

ผลสำรวจดังกล่าว ทำให้เห็นว่า ประเทศไทยไม่ได้มีปัญหาขาดแคลนแรงงานในเชิงปริมาณ แต่ขาดแคลนแรงงานเชิงคุณภาพ ประกอบกับในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้แบบบูรณาการข้ามสาขามากขึ้น ประเด็นการพัฒนาบุคลากรเพื่อตอบโจทย์ประเทศจึงอยู่ที่การสร้างความรู้และทักษะของกำลังคนให้ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ทั้งสร้างหลักสูตรระดับอุดมศึกษาให้ทันสมัยและเข้มข้นมากขึ้นเพื่อผลิตบัณฑิตให้ตรงความต้องการควบคู่ไปกับการเพิ่มพูนทักษะ (Upskill - Reskill) ให้แก่บัณฑิต คนทำงาน ผ่านการจัดหลักสูตรระยะสั้น การฝึกงาน และการทำวิจัย โดยมีมาตรการรัฐสนับสนุนให้เกิดแรงจูงใจ อาทิ สิทธิประโยชน์ BOI สำหรับกิจการฝึกอบรม สิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยการยกเว้นค่าใช้จ่าย 2.5 เท่า สำหรับการฝึกอบรมระยะสั้นจากหน่วยงานฝึกอบรมที่ได้รับการรับรอง และสอดคล้องกับทักษะที่กำหนดไว้ใน Future Skills Set ที่ สอวช. อยู่ระหว่างการจัดทำ สิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยการยกเว้นค่าใช้จ่าย 1.5 เท่า ของการจ้างงานบุคลากรทักษะสูงในสาขาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม เป็นต้น

สำหรับปัญหาเชิงคุณภาพของกำลังแรงงานในปัจจุบัน พบว่า ยังมีทักษะที่มีช่องว่าง อาทิ ทักษะภาษาต่างประเทศ ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ทักษะคณิตศาสตร์และการคำนวณ ทักษะในการบริหารจัดการ ทักษะในการคิด และทักษะในการสื่อสาร เป็นต้น อีกทั้งกำลังแรงงานยังต้องได้รับการพัฒนาความรู้ให้เพียงพอต่อความต้องการ อาทิ ความรู้ด้านกฎระเบียบ ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความรู้ธุรกิจ และความรู้วิชาชีพ ส่วนคุณลักษณะที่ยังขาดแคลน คือ ความใฝ่เรียนรู้ เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4