นักวิชาการจีนศึกษา ธรรมศาสตร์ ชี้ปัจจัยที่ทำให้จีนฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ยึดหลักความเคร่งครัดและรวดเร็ว ผ่าน 3 มาตรการระดับชาติ-ท้องถิ่น-ชุมชน

พฤหัส ๐๗ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๓:๔๒
นักวิชาการจีนศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ (พีบีไอซี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยจีนใช้เน้นความเข้มงวดและความรวดเร็วในการแก้ไขวิกฤตการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 พร้อมออกมาตรการกระตุ้นการจับจ่ายภายในประเทศรับสิทธิรับเงินคืนเมื่อใช้ผ่านโมบายเพย์ มอบสิทธิพิเศษด้านภาษีและเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหวังช่วยฟื้นฟูภาคเอกชน พร้อมแนะประเทศไทยควรนำหลักการดังกล่าวมาปรับประยุกต์ใช้ เน้นไปที่ความรวดเร็วและเด็ดขาดในการออกมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
นักวิชาการจีนศึกษา ธรรมศาสตร์ ชี้ปัจจัยที่ทำให้จีนฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ยึดหลักความเคร่งครัดและรวดเร็ว ผ่าน 3 มาตรการระดับชาติ-ท้องถิ่น-ชุมชน

ดร.เกียรติศักดิ์ ฟงปรีชากุล หัวหน้าหลักสูตรจีนศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มธ. (พีบีไอซี) กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้ประเทศจีนสามารถฟื้นตัวจากจากวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้นั้น มาจากระบบการปกครองของประเทศจีนที่รัฐบาลกลางมีอำนาจสูงสุดในการที่จะสั่งการได้อย่างเด็ดขาด และรวดเร็วในการออกมาตรการและนโยบายในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ประกอบกับข้อกฎหมายที่มีบทลงโทษขั้นรุนแรงในกรณีที่หากประชาชนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ซึ่งจะเห็นได้จากมาตรการต่างๆ ที่ออกมานั้น จะมีการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับมณฑล และระดับพื้นที่ เช่น มีการควบคุมการเข้า-ออกในแต่ละชุมชนอย่างเข้มงวด ซึ่งจะเห็นได้จากกรณีการประกาศปิดเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่กว่า 10 ล้านคน เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสที่ได้ผลภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประชากรของจีนให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังมีความรวดเร็วในการสั่งการเพื่อระดมบุคคลากรที่มีความรู้และความสามารถ รวมถึงการรวบรวมเวชภัณฑ์และเครื่องมือต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อนำมารักษาผู้ติดเชื้อไวรัส เช่นการระดมบุคลากรทางการแพทย์กว่า 10,000 คนให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในเมืองอู่ฮั่นภายในเวลา 1 สัปดาห์ ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงอย่างเห็นได้ชัด

“ด้านนโยบายการเติบโตทางเศรษฐกิจ จีนจะยังคงอัตราการเติบโตอย่างมั่นคง เนื่องจากจีนมีความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจอยู่ก่อนแล้ว ประกอบกับระยะเวลาในการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในจีนสามารถควบคุมได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ยังรวมถึงการออกมาตรการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ โดยเฉพาะการคืนเงินให้กับผู้ที่ออกมาจับจ่ายใช้สอยผ่านทางโมบายเพย์ อาทิ อาลิเพย์ และวีแชทเพย์ ฯลฯ โดยไม่จำกัดวงเงินต่อหัว แต่จะเป็นการตั้งงบก้อนโตเอาไว้ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการการสนับสนุนภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการลดภาษี หรือให้เงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ซึ่งนับว่าเป็นมาตรการที่สามารถกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศได้เป็นอย่างดี” ดร.เกียรติศักดิ์ กล่าว

นอกจากนี้ การที่จีนส่งทีมแพทย์พร้อมเวชภัณฑ์เข้าไปช่วยเหลือในประเทศต่างๆ ที่เกิดการแพร่ระบาด อาทิ อิตาลี อิหร่าน ประเทศในกลุ่มแอฟริกา และประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทย ทำให้จีนสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสในการพัฒนาด้านการแพทย์ โดยเฉพาะในเรื่องของวัคซีนรักษาไวรัสโควิด-19 หรือ “แคร์รีมัยซิน” ที่อยู่ระหว่างการวิจัยในขณะนี้ รวมถึงยารักษาโรคต่างๆ โดยอาศัยคำ หรือ วลี ที่ว่า “ชุมชนแห่งชะตากรรมร่วมกันของมวลมนุษยชน” ซึ่งมีความหมายว่า ไม่ว่าจะมีวิกฤตอะไรเกิดขึ้น ทุกประเทศทั่วโลกล้วนเกี่ยวข้องกัน ต้องช่วยเหลือกัน ทิ้งกันไม่ได้ เพื่อให้ชาวโลกได้เห็นว่าจีนเป็นมิตรกับทุกๆ ประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจและทางด้านการแพทย์ ฯลฯ

ดร.เกียรติศักดิ์ ยังวิเคราะห์ถึงเศรษฐกิจของจีนหลังจากผ่านวิกฤตไวรัสโควิด-19 ว่า จีนจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับแบรนด์สินค้าของตัวเอง เพราะที่ผ่านมามีกระแสว่าสินค้าที่ถูกส่งมาจากจีนยังมีเชื้อไวรัสโควิด-19 ติดมากับสินค้า ซึ่งจีนจะต้องสร้างความมั่นใจให้กับประเทศคู่ค้าเป็นการเร่งด่วน ควบคู่กับกระตุ้นภาคการส่งออกของจีน และปรับลดค่าเงินหยวน เพื่อเพิ่มเสถียรภาพทางด้านการค้า พร้อมทั้งส่งเสริมและรณรงค์ให้ประชากรเดินทางไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ และหันมาใช้จ่ายภายในประเทศให้มากขึ้นในระยะแรก รวมถึงสนับสนุนภาคการลงทุนต่างๆ ด้วยการมอบสิทธิพิเศษต่างๆ กับนักลงทุนชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นการลดหย่อนภาษีเป็นกรณีพิเศษ นอกจากนี้ จีนจะถือโอกาสนี้แสดงสปิริตของความเป็นประเทศมหาอำนาจในการช่วยเหลือประเทศต่างๆ ที่ผ่านพ้นวิกฤตจากไวรัสโควิด-19 ด้วยการซื้อสินค้า หรือเข้าไปลงทุนในประเทศต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของโลก เพื่อให้สอดคล้องกับวลีที่จีนกล่าว คือทุกประเทศล้วนเป็น “ชุมชนแห่งชะตากรรมร่วมกัน”

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประเทศไทยสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตลอดจนการรับมือกับวิกฤตโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต คือ ความเด็ดขาดและความรวดเร็วในเรื่องของการออกมาตรการและนโยบายต่างๆ ในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโดยเฉพาะในเรื่องของคำสั่งการจะต้องมีความศักดิ์สิทธิ์การประสานงานจะต้องไม่เกิดความสับสนหรือควรมีศูนย์รวมอำนาจในการสั่งการ และที่สำคัญประชาชนจะต้องให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำสั่งของภาครัฐอย่างเคร่งครัด ดร.เกียรติศักดิ์ กล่าวสรุป

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.pbic.tu.ac.th หรือเฟซบุ๊ก facebook.com/PBIC.TU

นักวิชาการจีนศึกษา ธรรมศาสตร์ ชี้ปัจจัยที่ทำให้จีนฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ยึดหลักความเคร่งครัดและรวดเร็ว ผ่าน 3 มาตรการระดับชาติ-ท้องถิ่น-ชุมชน นักวิชาการจีนศึกษา ธรรมศาสตร์ ชี้ปัจจัยที่ทำให้จีนฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ยึดหลักความเคร่งครัดและรวดเร็ว ผ่าน 3 มาตรการระดับชาติ-ท้องถิ่น-ชุมชน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4