สั่ง Delivery อย่างไรให้ปลอดภัยจาก COVID-19

พฤหัส ๐๗ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๓:๓๐
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ทำให้คนส่วนใหญ่มีการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หลายหน่วยงานมีนโยบายให้ทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ร้านอาหารแบบนั่งทานที่ร้านปิดให้บริการและเปลี่ยนเป็นการซื้อกลับบ้านหรือสั่ง Delivery แทน แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสั่ง Delivery ให้ปลอดภัยห่างไกลจากเชื้อไวรัส ตั้งแต่ร้านอาหาร คนขนส่งอาหาร ไปจนถึงการดูแลเรื่องความสะอาดของตัวเราเองในฐานะผู้สั่งซื้ออาหาร เพื่อให้ทุกคนได้ปฏิบัติอย่างถูกวิธี ดังนี้
สั่ง Delivery อย่างไรให้ปลอดภัยจาก COVID-19

ร้านอาหาร Delivery

เลือกร้านที่รักษาความสะอาดของสถานที่ และอุปกรณ์ประกอบอาหาร

อาหารของร้านจะต้องปรุงให้สุก เช่น อาหารประเภทเนื้อสัตว์ปรุงให้สุกด้วยความร้อนไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส

มีการจัดภาชนะบรรจุอาหารให้เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท ปิดฝามิดชิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในระหว่างการขนส่ง

ติดฉลากระบุ วันผลิต วันหมดอายุ และอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษาอาหาร

ร้านอาหารมีการจัดสถานที่ให้เพียงพอกับจำนวนคนขนส่งอาหารที่เข้ามาใช้บริการ โดยจัดระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร และมีการระบายอากาศที่เหมาะสม

คนขนส่งอาหาร Delivery

ผู้ขนส่งอาหารควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการไอ จาม ปนเปื้อนอาหาร และเป็นการป้องกันตนเองจากการได้รับเชื้อโรคระหว่างให้บริการ

ผู้ขนส่งอาหารต้องล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ก่อนเข้าร้านอาหาร หลังการส่งอาหาร และหลังจับเงิน

ไม่รับอาหารจากคนขนส่งอาหารที่มีอาการป่วย เช่น ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ

ระบุจุดรับ-ส่งอาหาร โดยทิ้งระยะห่างระหว่างคนขนส่งอาหารอย่างน้อย 1 เมตร

ผู้สั่งซื้ออาหาร Delivery

หลีกเลี่ยงการสั่งซื้ออาหารกลุ่มเสี่ยง เช่น อาหารที่ปรุงไม่สุก อาหารที่เน่าเสียง่าย อาหารที่ทำโดยวิธีใช้มือสัมผัสมาก เป็นต้น

สวมหน้ากากอนามัยระหว่างการรับอาหารจากคนขนส่งอาหาร

หลังจากรับอาหารจากคนขนส่งอาหารต้องล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ทันที

ตรวจสอบคุณภาพอาหารและภาชนะบรรจุให้อยู่ในสภาพปกติ

เลือกวิธีชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อหลีกเลี่ยงการจับเงิน

นอกจากนี้ รศ.ดร. ขนิษฐา ธนานุวงศ์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้แนะนำวิธีเลือกรับประทานอาหารในช่วงที่ต้องทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารประเภท Delivery ว่า เราควรเลือกบริโภคอาหารให้หลากหลาย ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนอาหารที่ทานในแต่ละวัน เพื่อที่จะได้คุณค่าทางอาหารที่ครบถ้วน ควรเพิ่มเมนูผักเข้าไป ซึ่งบางท่านไม่ชอบทานผักก็อาจจะเริ่มต้นวันละนิด โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเมนูผัดผัก แต่เป็นเมนูปกติที่ใส่ผักเข้าไปเพิ่ม หรือเปลี่ยนมาเป็นผักที่เตรียมเองจากที่บ้านจะสะอาดกว่า ส่วนอาหารจำพวก ปิ้ง ย่าง ทอด ควรทานให้น้อยลง เนื่องจากอาหารทอดมีไขมันค่อนข้างสูง อาหารปิ้งย่างมีสารก่อมะเร็ง ควรเปลี่ยนเป็นอาหารประเภทผัดหรือต้มแทน

“Work from Home อาจทำให้เครียด หลายคนมีการรับประทานมากขึ้นเพื่อลดความเครียด เราควรเปลี่ยนเป็นการทานผลไม้ น้ำผลไม้ แทนขนมขบเคี้ยว และพยายามควบคุมการปริมาณการทาน เช่น คนส่วนใหญ่เปิดถุงขนมแล้วก็จะทานจนหมดถุง วิธีแก้คือ ให้เทขนมใส่ภาชนะ ถ้วย หรือชามเล็กๆ แทนที่จะทานในถุง เราจะได้จำกัดว่าหมดชามนี้แล้วให้พอ” รศ.ดร. ขนิษฐา กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๕๙ ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม
๒๐:๓๑ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒๐:๕๒ Vertiv เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ไมโครโมดูลาร์รุ่นใหม่ที่มี AI ในเอเชีย
๒๐:๐๙ พิธีขึ้นเสาเอก เปิดไซต์ก่อสร้าง โครงการ แนชเชอแรล ภูเก็ต ไพรเวท พูลวิลล่า บ้านเดี่ยวบนทำเลทองใจกลางย่านเชิงทะเล
๒๐:๔๖ เขตบางพลัดประสาน รฟท.-กทพ. ปรับภูมิทัศน์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าสถานีรถไฟบางบำหรุ
๒๐:๕๘ ร่วมแสดงความยินดีแก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๒๐:๐๓ กทม. เดินหน้าจัดกิจกรรมริมคลองโอ่งอ่าง ส่งเสริมอัตลักษณ์ กระตุ้นเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยว
๒๐:๔๙ พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พาคุณไปสัมผัสการนวดเพื่อสุขภาพจาก 4 ภูมิภาคของไทย
๒๐:๒๔ Digital CEO รุ่นที่ 7 เรียนรู้เข้มข้นต่อเนื่อง จากวิทยากรชั้นนำของวงการ
๒๐:๒๔ เด็กไทย คว้ารางวัลระดับโลก โดรนไทย ชนะเลิศนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านอากาศยานไร้คนขับ UAV ณ กรุงเจนีวา