วิศวะฯ ธรรมศาสตร์ อวดโฉม “แขนกลไบค์เลน” เอไอคัดกรองเลนจักรยาน ปิดทันทีเมื่อเจอมอเตอร์ไซต์ หวังนำร่องใช้เขตกรุงเทพฯ - หัวเมืองใหญ่

จันทร์ ๐๑ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๑๑:๑๖
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE: Thammasat School of Engineering) จุดประกายไอเดีย พัฒนา “แขนกลไบค์เลน” นวัตกรรมแขนกลอัจฉริยะที่ช่วยคัดกรอง และกีดขวางรถจักรยานยนต์ที่ขับขี่บนเลนจักรยาน หนุนสายปั่นจักรยานสัญจรคล่องตัว-ปลอดภัย ในพื้นที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ โดยมีองค์ประกอบ 2 ส่วนหลัก ดังนี้ ระบบแยกแยะพาหนะด้วยปัญญาประดิษฐ์ ที่ช่วยแยกแยะลักษณะของยานพาหนะในระยะ 4 เมตร พร้อมสั่งการเปิด-ปิดเส้นทางไปยังเมนบอร์ด แขนกลอัจฉริยะ ทำหน้าที่รับสัญญาณจากเมนบอร์ด โดยในกรณีที่ตรวจพบจักรยานยนต์ แขนกลจะปิดเส้นทางขับขี่ แต่ในกรณีที่ตรวจพบเป็นจักรยาน แขนกลจะเปิดเส้นทางให้ใน 5 วินาที โดยในอนาคตเตรียมวางแผนจำหน่ายเชิงพาณิชย์ 3.5 หมื่นบาท ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าว สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ บนเวทีประกวดนวัตกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 10” (The 10th Motor Expo Automotive Innovation Award 2019)
วิศวะฯ ธรรมศาสตร์ อวดโฉม แขนกลไบค์เลน เอไอคัดกรองเลนจักรยาน ปิดทันทีเมื่อเจอมอเตอร์ไซต์ หวังนำร่องใช้เขตกรุงเทพฯ - หัวเมืองใหญ่

ติดตามความเคลื่อนไหวของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) ได้ที่ เฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT หรือเว็บไซต์ www.engr.tu.ac.th

นายสุริยา สารธิมา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) ตัวแทนทีม กล่าวว่า แม้ที่ผ่านมาภาครัฐมีการผลักดัน “เมืองจักรยาน” ให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย ด้วยการสร้างเลนจักรยาน เพื่อให้ประชาชนสัญจรได้อย่างปลอดภัย-ได้สุขภาพ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ โดยมีป้ายสัญลักษณ์หรือข้อความที่สื่อถึง เลนจักรยาน อย่างชัดเจน แต่ทั้งนี้กลับพบข้อจำกัดจำนวนมาก ทั้งการขับขี่ทับเลน การจอดกีดขวางเส้นทางจักรยาน ซึ่งล้วนแต่อาจจะก่อเกิดให้เกิดอันตรายแก่ผู้ขับขี่จักรยานได้ ดังนั้น ทีมวิจัยและคณะ จึงพัฒนา “แขนกลไบค์เลน” นวัตกรรมแขนกลอัจฉริยะที่ช่วยคัดกรอง และกีดขวางรถจักรยานยนต์ที่ขับขี่บนเลนจักรยาน หนุนสายปั่นจักรยานสัญจรคล่องตัว-ปลอดภัย ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ โดยมี รศ.ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นที่ปรึกษา

นายสุริยา กล่าวต่อว่า โดยนวัตกรรมดังกล่าว ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ดังนี้

ระบบแยกแยะพาหนะด้วยปัญญาประดิษฐ์ เป็นระบบตรวจจับ และแยกแยะลักษณะของยานพาหนะที่มองเห็นได้ในระยะ 4 เมตร โดยใช้กล้องเว็บแคม (WebCam) ส่งสัญญาณภาพไปยังโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ที่ทำงานบนสมองกลขนาดเล็ก ซึ่งโปรแกรมนี้ถูกฝึกด้วยการป้อนภาพของจักรยานยนต์และจักรยานจำนวนมากเข้าไปจนโปรแกรมเรียนรู้ที่จะแยกแยะความแตกต่าง จากนั้นสมองกลจะสั่งการเปิด-ปิดเส้นทางไปยังเมนบอร์ดของระบบแขนกลแขนกลอัจฉริยะ ทำหน้าที่รับสัญญาณจากเมนบอร์ด ซึ่งในสภาวะปกติแขนกลจะปิดเส้นทาง กรณีตรวจพบจักรยานยนต์ฝ่าฝืน แขนกลจะไม่เปิดเส้นทางขับขี่ แต่ในกรณีที่ระบบตรวจพบเป็นจักรยาน แขนกลจะเปิดเส้นทางให้ใน 5 วินาที อย่างไรก็ดี ทางทีมวิจัยได้ออกแบบให้แขนกลอัจฉริยะมีขนาด 1.5 เมตร และสามารถพับเก็บได้ภายในตู้แขนกล เพื่อความสะดวกต่อการใช้งานบางพื้นที่ที่มีหลังคาเตี้ย

ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าวมีต้นทุนในการพัฒนาราว 2 หมื่นบาท และในอนาคตกรณีที่การทำงานในส่วนต่าง ๆ มีความเสถียรยิ่งขึ้น เตรียมวางแผนจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในราคา 3.5 หมื่นบาท โดยที่ล่าสุด นวัตกรรมดังกล่าว ได้รับ “รางวัลชนะเลิศ” บนเวทีประกวดนวัตกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 10” (The 10th Motor Expo Automotive Innovation Award 2019) เมื่อเร็ว ๆ นี้ พร้อมด้วยเพื่อนนักศึกษาภาควิศวกรรมเครื่องกล ในรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 “ยานพาหนะปัญญาประดิษฐ์ขับเคลื่อนอัตโนมัติสำหรับผู้พิการทางสายตา” และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 “รถเข็นไฟฟ้าสำหรับผู้พิการทางสมองและกล้ามเนื้ออ่อนแรง” นายสุริยา กล่าวสรุป

ด้าน รศ.ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) กล่าวเสริมว่า TSE มีนโยบายในการบ่มเพาะและผลิต “วิศวกรรุ่นใหม่” ที่มีความรอบรู้ด้านวิศวกรรม ก้าวทันความเปลี่ยนแปลง คิดสร้างสรรค์เพื่อสังคม สามารถขมวดรวมศาสตร์ความรู้ต่างสาขา สู่การผลิตนวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต สังคม และภาคธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งก้าวสู่การเป็นฟันเฟืองหนึ่ง ที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมของประเทศในอนาคต ผ่านการเรียนรู้จากคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ เรียนรู้การใช้เครื่องมือจริงในภาคอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนานวัตกรรมต้นแบบ ณ ศูนย์รังสิตและศูนย์พัทยา อาทิ เครื่องพิมพ์สแกน 3 มิติ Faro Arm Edge 2.7 และเครื่องพิมพ์สามมิติ รุ่น Projet 260C นอกจากนี้ นักศึกษาที่ TSE ยังได้ฝึกประสบการณ์ในหน่วยงานพันธมิตรในภาคอุตสาหกรรม อย่าง กลุ่มสยามกลการ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด (SAIC Motor – CP) เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่โลกการทำงานจริงอย่างเต็มศักยภาพ

ติดตามความเคลื่อนไหวของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) ได้ที่ เฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT หรือเว็บไซต์ www.engr.tu.ac.th

วิศวะฯ ธรรมศาสตร์ อวดโฉม แขนกลไบค์เลน เอไอคัดกรองเลนจักรยาน ปิดทันทีเมื่อเจอมอเตอร์ไซต์ หวังนำร่องใช้เขตกรุงเทพฯ - หัวเมืองใหญ่ วิศวะฯ ธรรมศาสตร์ อวดโฉม แขนกลไบค์เลน เอไอคัดกรองเลนจักรยาน ปิดทันทีเมื่อเจอมอเตอร์ไซต์ หวังนำร่องใช้เขตกรุงเทพฯ - หัวเมืองใหญ่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?