วธ. จัดงาน “วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี ๖๓” น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้านภาษาและวรรณกรรม รัชกาลที่ ๙

ศุกร์ ๒๔ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๗:๑๘
วธ. จัดงาน “วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี ๖๓” น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้านภาษาและวรรณกรรม รัชกาลที่ ๙ เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยให้ตระหนักในการใช้ภาษาไทย

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานมอบรางวัลเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พร้อมกล่าวว่า วธ.ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ จัดกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม ประจำปี พ.ศ. 256๓ เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทยของคนไทย และเพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพด้านภาษาและวรรณกรรมที่ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทย ซึ่งพระองค์ได้ทรงร่วมอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 และต่อมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปีเป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และสร้างความเข้าใจ รวมถึงกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้เกิดความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติด้านภาษาและวรรณกรรม อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชน เพื่อสนองพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาทและสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงสนพระราชหฤทัยและมีพระปรีชาด้านการประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองเป็นที่ประจักษ์ ทรงสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานวรรณกรรมของชาติ และทรงห่วงใยเยาวชนของชาติด้านการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง ตลอดจนการรักษาขนบประเพณีอันดีงามของไทย ซึ่งกิจกรรมภายในงานปีนี้ได้เน้นย้ำให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ และปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อป้องกันโควิด-19

เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓ วธ. โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) ได้จัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกให้เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์ภาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป พร้อมเปิดเผยรายชื่อบุคคลและองค์กร เพื่อรับเข็ม โล่เชิดชูเกียรติและมอบรางวัล เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๓ ดังนี้

๑.ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ๓ ราย ได้แก่ นรองศาสตราจารย์ชำนาญ รอดเหตุภัย, รองศาสตราจารย์มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์, รองศาสตราจารย์สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา

๒.ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ๑๐ ราย แบ่งเป็นคนไทย ๙ ราย ได้แก่ นางสาวกรุณา บัวคำศรี, นายโกมุท คงเทศ, นายชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์, นายภูสิต ธวัชวิเชียร, นายเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป, นางลักษิกา เจริญศรี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย สำเนียงงาม, นายสันติภพ เจนกระบวนหัด, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุทัศน์ วงศ์กระบากถาวร และชาวต่างประเทศ ๑ ราย ได้แก่ นางสาว องจิอิน (Ms. Ong, Ji-In)

๓.ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ๔ ราย ได้แก่ นายขวัญชัย สุรินทร์ศรี, นายทองพูล ทองน้อย, นางประไพ สุริยะมล, นายมงคล รัตนพันธุ์

๔.ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ประกอบด้วย

ประเภทบุคคล ๓ ราย ได้แก่ นางถนอมวงศ์ สุกโชติรัตน์ ล้ำยอดมรรคผล, รองศาสตราจารย์นวลทิพย์ เพิ่มเกษร, นายยุทธพร นาคสุข

ประเภทองค์กร ๒ องค์กร ได้แก่ มูลนิธิดำรงพุฒตาล (อนุรักษ์และพัฒนาภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย) และสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย

ส่วนรางวัลเยาวชนผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นที่มีความสามารถด้านการพูด การอ่าน การเขียน พุทธศักราช ๒๕๖๓ จำนวน ๑๐ ราย ดังนี้ เด็กชายณฐพรต มารศรี โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ จ.เพชรบุรี, นางสาวจันทิมา จิตนิยม โรงเรียนบ้านไร่พิทยาคม จ.สุโขทัย, นายชินวัฒน์ อรัญทม โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑ กรุงเทพมหานคร, เด็กหญิงวรินรำไพ ศรีสุนนท์ โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ) กรุงเทพมหานคร, เด็กชายอัฟฟันดี้ หนูโสย โรงเรียนบ้านเขาพระ จังหวัดสงขลา, เด็กหญิงเจตนิพิฐ สืบมา โรงเรียนสตรีวิทยา กรุงเทพมหานคร, เด็กหญิงชลธิชา เทียมขุนทด โรงเรียนวัดยกกระบัตร (ชุบราษฎร์นุสรณ์) จังหวัดสมุทรสาคร, เด็กหญิงปิยธิดา อุ้ยฟูใจ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่, นางสาวโชติรส เลือกถือ โรงเรียนอำมาตย์พาณิชนุกูล จังหวัดกระบี่, นายสหภูมิ ปลายชัยภูมิ โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จังหวัดขอนแก่น, นายอัศวุธ อุปติ โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง จังหวัดปราจีนบุรี, นายธวัชชัย สายอ๋อง มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา, นายบัณฑิต รวยสันเทียะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา นายอติรุจ ดือเระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี

นอกจากนี้ ยังมีการจัดนิทรรศการเผยแพร่ประวัติและผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัลปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทยและเยาวชนผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นที่มีความสามารถด้านการอ่าน การเขียน การพูด พุทธศักราช ๒๕๖๓ พร้อมกันนี้กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์หนังสือเก่าหายาก เรื่อง “บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1” เพื่อแจกเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้ร่วมงานด้วย

โอกาสนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมกันรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติและใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อรักษาเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติไทยให้คงอยู่อย่างยั่งยืนสืบไป สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.culture.go.th และติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้ที่ www.facebook.com/DCP.culture/ หรือสอบถามเพิ่มเติมโทร ๐๒-๒๔๗-๐๐๒๘ ต่อ ๔๑๐๕-๙

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital