นิเทศ นิด้า ชี้ 6 เกณฑ์การตรวจสอบข่าวปลอมด้านสุขภาพ และเปิดตัว “เช็กให้รู้” ระบบอัจฉริยะต้นแบบที่จะเป็นเครื่องมือช่วยให้คนรู้ทันข่าวปลอมด้านสุขภาพ

พุธ ๑๖ กันยายน ๒๐๒๐ ๐๙:๒๖
คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ร่วมกับ บริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และภาคีอื่นๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนสังเคราะห์แนวทางการตรวจสอบข่าวปลอมด้านสุขภาพทั่วโลก สรุปเป็นเกณฑ์การตรวจสอบข่าวปลอมด้านสุขภาพ 6 มิติ และพัฒนาระบบต้นแบบ #เช็กให้รู้ ซึ่งเป็นระบบอัจฉริยะต้นแบบช่วยการตัดสินใจข้อมูลข่าวปลอมด้านสุขภาพ (Fact Checking Intelligent Platform) หวังกระตุ้นประชาชนให้ตระหนักรู้ และสามารถรับมือข่าวปลอมสุขภาพที่เกิดในสังคมไทยปัจจุบัน
นิเทศ นิด้า ชี้ 6 เกณฑ์การตรวจสอบข่าวปลอมด้านสุขภาพ และเปิดตัว เช็กให้รู้ ระบบอัจฉริยะต้นแบบที่จะเป็นเครื่องมือช่วยให้คนรู้ทันข่าวปลอมด้านสุขภาพ

ผศ.ดร.บุหงา ชัยสุวรรณ รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ นิด้า หัวหน้าโครงการพัฒนาศูนย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารและสร้างเครือข่ายระดับประเทศในการรับมือกับข่าวปลอม กล่าวว่า เทคโนโลยีในทุกวันนี้เปิดโอกาสให้ข่าวปลอมถูกแชร์ออกไปอย่างรวดเร็ว กว้างขวาง และวนเวียนซ้ำอีกหลายครั้ง และผู้ส่งสารบางกลุ่มจงใจผลิตเนื้อหาข่าวที่ไม่ถูกต้อง หรือขาดการตรวจสอบความถูกต้อง ทำให้ผู้อ่านบางกลุ่มที่ยังไม่มีทักษะการรู้เท่าทันสื่ออย่างเพียงพอเกิดความเข้าใจผิด หรือหลงเชื่อในข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนั้น จนเกิดความเสียหายทั้งต่อบุคคลและสังคมในวงกว้าง

ทั้งนี้ผู้อ่านข่าว สามารถใช้เกณฑ์ในการตรวจสอบว่าข่าวนั้นมีแนวโน้มที่จะเข้าลักษณะของการเป็นข่าวปลอมหรือไม่ 6 มิติ ได้แก่

มิติโครงสร้างข่าว ข่าวมีแนวโน้มที่จะเป็นข่าวปลอม หากข่าวมีโครงสร้างข่าวไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การเขียนข่าวที่ดี เช่น ไม่ระบุวันที่เผยแพร่ ไม่ระบุผู้เผยแพร่เนื้อหา ไม่มีการอ้างอิงข้อมูล ไม่มีการอ้างแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือมิติบริบท คือ ข่าวปลอมมักจะมีผู้ติดตามส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาข่าวไปในทางลบ หรือมีผู้แชร์เนื้อหาต่อในปริมาณน้อยมิติเนื้อหา คือ ข่าวปลอมมีแนวโน้มในการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะไม่เหมาะสม เช่น การนำเสนอเนื้อหาที่ไม่ตรงกับเรื่องในพาดหัวข่าว การใช้ข้อความเชิญชวนหรือกล่าวโทษผู้อื่นในพาดหัวข่าว การอ้างอิงหลักฐานความเชื่อที่พิสูจน์ไม่ได้ หรือการใช้ข้อมูลสนับสนุนอย่างเกินจริง การยกตัวอย่างประสบการณ์ของหมอหรือผู้ป่วย รวมถึงเนื้อหาที่เน้นเชิญชวนให้ซื้อสินค้าหรือเกิดพฤติกรรมคล้อยตามมิติด้านภาษา คือ ข่าวปลอมมีการใช้ภาษาที่มีการสะกดผิด เช่น การใช้ตัวอักษรภาษาไทยปนกับตัวอักษรหรืออักขระพิเศษอื่น ๆ หรือตั้งใจเว้นวรรคผิดรูปประโยคมิติด้านโฆษณาและผู้สนับสนุน คือ ในหน้าเว็บที่นำเสนอข่าวปลอมจะมีสัดส่วนปริมาณโฆษณามากกว่าเนื้อหาข่าวมิติด้านสุขภาพ คือ ข่าวปลอมจะมีการใช้คำที่อธิบายคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้รับอนุญาตจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ เช่น พรบ.อาหารและยา เป็นต้น

นอกจากเราจะสามารถใช้วิจารณญาณการรู้เท่าทันสื่อของตนเองโดยพิจารณาตามเกณฑ์ข้างต้นแล้ว ผู้อ่านข่าวยังสามารถทดลองตรวจสอบข่าวได้จากระบบต้นแบบ “เช็กให้รู้” ระบบอัจฉริยะต้นแบบช่วยการตัดสินใจข้อมูลข่าวปลอมด้านสุขภาพ (Fact Checking Intelligent Platform) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นให้เป็นเครื่องมือที่ช่วยนำเกณฑ์การพิจารณาโครงสร้างข่าว มาผ่านกระบวนการทำงานของ Data Scientist ที่พัฒนาโมเดล ด้วยการสอนให้ระบบคอมพิวเตอร์เรียนรู้ผ่านการสร้าง Annotation หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยนักนิเทศศาสตร์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพ แล้วจึงสร้างโมเดลการเรียนรู้ให้ระบบคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ แยกแยะโครงสร้างของข้อมูลข่าวด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) จนนำไปสู่ระบบตรวจสอบข่าวปลอมขึ้น ซึ่งระบบจะสามารถระบุถึง “แนวโน้มความเป็นไปได้ที่เข้าองค์ประกอบข่าวปลอม” (Fake news probability) ของข่าวที่นำมาตรวจนั้นเพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของผู้รับข้อมูลข่าว และเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อได้ในระยะยาว

โครงการนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการพัฒนาศูนย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารและสร้างเครือข่ายระดับประเทศในการรับมือกับข่าวปลอม” ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างภาคีองค์ความรู้ ได้แก่ คณะนิเทศศาสตร์ นิด้า โครงการFake News Fighter คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และบริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด ซึ่งเป็นภาคีที่มีความชำนาญในด้านเทคโนโลยี และระบบปัญญาประดิษฐ์ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2562

โครงการฯ กำลังพัฒนาต่อยอดระบบเช็กให้รู้ให้ประชาชนทั่วไปสามารถนำข่าวมาตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ เช็กให้รู้ ในอนาคตด้วย ผู้ที่สนใจทดลองใช้ระบบ #เช็กให้รู้ ติดตามร่วมเป็นเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสาร และรับข่าวสารหรือร่วมการทดลองระบบก่อนใคร ได้ที่ facebook fanpage : #เช็กให้รู้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ