กอนช.ห่วงฝนปลายฤดู เฝ้าระวังน้ำหลากลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบฯ

พุธ ๐๗ ตุลาคม ๒๐๒๐ ๑๖:๓๒
กอนช.ห่วงฝนปลายฤดู เฝ้าระวังน้ำหลากลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบฯ

กอนช.ประเมินอิทธิพลพายุระลอกใหม่ ชี้พื้นที่เสี่ยงผลกระทบอีสานและตอนกลางของประเทศ เตือนลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ เตรียมพร้อมรับมือช่วง 7-12 ต.ค.นี้ พร้อมแจงข่าวดีปริมาณน้ำในอ่างฯ น้อยกระเตื้องพ้นวิกฤติแล้ว 21 อ่างฯ ชี้อีก 10 อ่างฯที่เหลือแนวโน้มดีขึ้น ช่วยเพิ่มความมั่นคงน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภคแล้งหน้า

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการติดตามประเมินสถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ (One Map) ของหน่วยงานภายใต้ กอนช.พบว่า มีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ในช่วงวันที่ 7 ? 12 ตุลาคม 2563 เฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่มในพื้นที่ 27 จังหวัด แบ่งเป็น ภาคเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก น่าน พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ เลย ขอนแก่น และนครราชสีมา ภาคตะวันออก 5 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี นครนายก สระแก้ว ชลบุรี และระยอง ภาคตะวันตก 4 จังหวัดได้แก่ ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้ 5 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และสตูล และเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ลำตะคอง ลำน้ำมูล และลำปลายมาศ จังหวัดนครราชสีมา ด้วย ซึ่งกอนช.จะติดตามสถานการณ์พายุลูกใหม่ที่จะเกิดขึ้นและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

?ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ติดตามเฝ้าระวังสภาพอากาศ และสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ตามที่ กอนช.ได้ออกประกาศแจ้งเตือนฉบับที่ 9/2563 วันที่ 5 ตุลาคม 2563 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกหนักต่อเนื่อง หรือพื้นที่เสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมซ้ำซากและมีสิ่งกีดขวางทางระบายน้ำ ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำและแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียมพร้อมในการอพยพได้อย่างทันท่วงที หากเกิดสถานการณ์ พร้อมปรับแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ พร้อมพิจารณาความเหมาะสมในการบริหารน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 90 หรือเกินเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) โดยเฉพาะ 2 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก และอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง ซึ่งกรมชลประทานได้มีแผนบริหารจัดการน้ำทั้ง 2 เขื่อนไม่ให้ส่งผลกระทบให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำรวมทั้งเตรียมพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อเป็นแก้มลิงในการหน่วงน้ำและรองรับน้ำหลาก รวมถึงการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ บริเวณ อ.เมือง จ.เพชรบุรี และ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นจุดอ่อนไหวที่มักประสบปัญหาหากมีฝนตกปริมาณมากต่อเนื่องหลายวันเนื่องจากศักยภาพลำน้ำสามารถรับน้ำได้เพียง 150 - 225 ลบ.ม./วินาที เท่านั้น?ดร.สมเกียรติ กล่าว

อย่างไรก็ตาม จากอิทธิพลของพายุ และร่องความกดอากาศต่ำ รวมถึงมาตรการเร่งเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำ ส่งผลให้สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่า 30% มีทิศทางที่ดีขึ้น โดยล่าสุดคงเหลือ อ่างฯ น้ำน้อยอยู่ 10 แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ 3 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง ภาคตะวันตก 2 แห่ง ภาคตะวันออก 2 แห่ง และภาคกลาง 1 แห่ง ลดลงไปถึง 21 แห่งเมื่อเปรียบเทียบ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 63 ที่กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่า 30% อยู่ถึง 31 แห่ง ยกตัวอย่างเช่น เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ที่มีปริมาณน้ำไหลเข้าเพิ่มขึ้นแล้วกว่า 670 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ำใช้การ 13% โดยล่าสุดมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ สูงสุดถึง 47 ล้านลบ.ม ซึ่งถือว่าสูงสุดหลังจากปี 2560 ที่เกิดอุทกภัย จึงถือได้ว่าขณะนี้เขื่อนอุบลรัตน์สถานการณ์น้ำในเขื่อนเริ่มคลี่คลายมีเพียงพอกับการอุปโภค/บริโภค คาดการณ์ว่าปริมาณน้ำในเขื่อนเมื่อสิ้นสุดฤดูฝนจะมีปริมาณน้ำเก็บกักประมาณ 1,200 ล้านลบ.ม รวมถึงอ่างเก็บน้ำในภาคตะวันออกที่ต้นฤดูฝนมีน้ำน้อยและน่าเป็นห่วง แต่ปัจจุบันมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ มากขึ้นเช่นกัน

ดร.สมเกียรติ กล่าวทิ้งท้ายอีกว่า แม้ว่าปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นในภาพรวมจะส่งผลดีต่อน้ำต้นทุนในฤดูแล้งหน้า แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายอ่างฯ ยังจำเป็นจะต้องมีการวางแผนการใช้น้ำที่เหมาะสมสอดคล้องในแต่ละกิจกรรมในพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน แต่ก็เบาได้ใจระดับหนึ่งว่าจะมีน้ำเพียงพอสำหรับการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ซึ่งเป็นความจำเป็นพื้นฐานในการจัดสรรน้ำของประเทศได้แน่นอน ซึ่งสทนช.จะใช้กลไกลการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ที่จะมีการประชุมสรุปผลการประเมินปริมาณน้ำต้นทุนสำหรับฤดูแล้งปี 63/64 ในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานพิจารณาให้ความเห็นชอบในวันที่ 19 ตุลาคมนี้ ก่อนเสนอคณะมนตรีมีมติอนุมัติเห็นชอบการดำเนินการพร้อมมาตรการรับมือก่อนเข้าสู่ฤดูแล้งรองรับพื้นที่ที่อาจประสบปัญหาหากปริมาณน้ำต้นทุนไม่เพียงพอด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest