“คุณหญิงกัลยา” มอบโฆษกและคณะกรรมการ “โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนฯ” ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้า วทษ.อุบล หลังร่วมมือ AGS องค์กรน้ำใต้ดินอเมริกา

จันทร์ ๑๒ ตุลาคม ๒๐๒๐ ๑๐:๑๓
คุณหญิงกัลยา มอบโฆษกและคณะกรรมการ โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนฯ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้า วทษ.อุบล หลังร่วมมือ AGS องค์กรน้ำใต้ดินอเมริกา

?ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช? รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบโฆษกและคณะกรรมการ ?โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนฯ? ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้า วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี หลังร่วมมือสถาบันองค์กรน้ำใต้ดินอเมริกา (American Groundwater Solution : AGS) เชื่อมโยงนำองค์ความรู้สากลมาปรับใช้กับการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง

นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และโฆษกรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ร่วมกับคณะกรรมการกองทุนการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ที่มีคุณหญิงกัลยาเป็นประธานฯ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการขับเคลื่อน ?โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ? ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี หนึ่งในวิทยาลัยนำร่อง ที่นำโดยนายไตรรงค์ คลังบุญครอง ผู้อำนวยการวิทยาลัย

พร้อมกันนี้คณะกรรมการโครงการ ผู้แทนของวิทยาลัย และจิตอาสาที่จะเข้ามาช่วยดำเนินการ ได้มีการประชุมแบบ Teleconference เพื่อหารือกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศตัวแทนของสถาบันองค์กรน้ำใต้ดินอเมริกา (American Groundwater Solution : AGS) ในการกำหนดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ก่อนการขุดเจาะพื้นที่ในวิทยาลัยเพื่อความแม่นยำ โดยการประสานกับผู้เชี่ยวชาญของไทย ดร.ปริเวท วรรณโกวิท หัวหน้าศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรม (KGEO) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อนไปเยี่ยมชมโมเดลการเก็บน้ำไว้ใต้ดินของ อบต.ยางขี้นก อ.เขื่อนใน จ.อุบลราชธานี ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการบริหารจัดการน้ำ

ที่มาของโครงการดังกล่าวเกิดจากดำริของ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ที่มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะช่วยเหลือประเทศชาติในการแก้ปัญหาเรื่อง ?น้ำ? และเห็นว่าปีนี้ถือเป็นปีที่ประสบภัยแล้งมากที่สุดในรอบ 40 ปี สถานการณ์ภัยแล้งมีความรุนแรงมาก ส่งผลกระทบต่อทั้งการเกษตรและความเป็นอยู่ของประชาชนในวงกว้าง หากไม่เร่งแก้ปัญหาเรื่องการจัดการน้ำของชุมชนอย่างเป็นระบบ ก็จะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนที่ประสบปัญหามาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคอีสานซึ่งมีที่ดินนอกเขตชลประทานถึง 80% ที่ต้องได้รับการบริหารจัดการให้สามารถกักเก็บน้ำฝนที่อยู่นอกเขตชลประทานได้ ปัจจุบันในพื้นที่อีสานสามารถกักน้ำฝนไว้ใช้ได้เพียง 3.5% จากปริมาณน้ำฝนโดยรวมซึ่งถือว่าน้อยมาก จึงต้องเร่งแก้ไขและดำเนินการให้ทันก่อนฝนจะหมดในปีนี้

หลักคิดในการทำโครงการคือชุมชนต้องมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ โดยรัฐทำหน้าที่สนับสนุนให้องค์ความรู้ และกระทรวงศึกษาภายใต้การกำกับดูแลของคุณหญิงกัลยา จะใช้กลไกของวิทยาลัยเกษตรทั้ง 47 แห่ง และโรงเรียนการศึกษาพิเศษอีก 176 แห่งทั่วประเทศเป็นศูนย์เรียนรู้ที่สำคัญ และจะมีการหลักสูตรสร้างชลกร คือผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ เพื่อช่วยสอนชาวบ้านให้มีความรู้เรื่องการจัดการน้ำในชุมชน ให้สามารถดำเนินการต่อเองได้

นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย กล่าวว่า ขอแสดงความชื่นชมทีมผู้เชี่ยวชาญจาก AGS และ มจธ. รวมถึงจิตอาสาอีกหลายท่านที่มาร่วมกันขับเคลื่อนโครงการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย พร้อมใจกันกันถวายเป็นพระราชกุศล และนับเป็นความสำเร็จไปอีกขั้นในการเชื่อมโยงนำองค์ความรู้ที่เป็นสากลมาปรับใช้กับการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง และน้ำหลาก ให้กับคนในพื้นที่ ตามนโยบายของคุณหญิงกัลยา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital