ม.รามคำแหง จับมือ บจก.ดีเอชแอล ซัพพลายเชน (ประเทศไทย) พัฒนาศักยภาพนักศึกษา-เพิ่มกำลังคนด้านโลจิสติกส์

พฤหัส ๒๙ ตุลาคม ๒๐๒๐ ๑๔:๓๕
ม.รามคำแหง จับมือ บจก.ดีเอชแอล ซัพพลายเชน (ประเทศไทย) พัฒนาศักยภาพนักศึกษา-เพิ่มกำลังคนด้านโลจิสติกส์

โครงการศึกษาภาคพิเศษ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยรามคำแหง จับมือ บ.ดีเอชแอล ซัพพลายเชน (ประเทศไทย) จำกัด พัฒนาศักยภาพนักศึกษาและเพิ่มกำลังคนด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย    

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับ นายเควิน สจ๊วต เบอร์เรล กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ดีเอชแอล ซัพพลายเชน (ประเทศไทย) จำกัด โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ปิยะฉัตร  จารุธีรศานต์ ประธานกรรมการบริหารโครงการฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญมา  ชัยเสถียรทรัพย์ กรรมการและรองประธานเจ้าหน้าทที่บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัทดีเอชแอล ซัพพลายเชน (ประเทศไทย) จำกัด คณะผู้บริหาร ม.ร. เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ร่วมในพิธี เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารวิทยบริการและบริหาร

โอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ รักษาราชการแทนอธิการบดีม.ร. กล่าวว่า มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา มีการเรียนการสอนที่หลากหลายของคณะและสาขาวิชา โดยสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ถือเป็นอีกสาขาวิชาหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้มีความรู้และทักษะการปฏิบัติงานจริง มีประสบการณ์พร้อมออกสู่ตลาดแรงงาน การลงนามครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างโครงการศึกษาภาคพิเศษ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยรามคำแหง กับบริษัทดีเอชแอล ซัพพลายเชน (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีศักยภาพ ความพร้อมและประสบการณ์ทางการแข่งขันในตลาดโลจิสติกส์ และ มหาวิทยาลัย มีคณาจารย์ที่มีองค์ความ มีคุณภาพ เมื่อนักศึกษาได้เรียนในหลักสูตรดังกล่าวภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับเอกชนจะเป็นการเติมเต็ม เสริมความเข้มแข็งให้แก่นักศึกษาเกิดความเชี่ยวชาญทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพราะได้เรียนรู้จากมืออาชีพ ผู้ที่อยู่ในแวดวงโลจิสติกส์อย่างแท้จริง อีกทั้งได้ฝึกปฏิบัติฝึกงานจากประสบการณ์จริง เมื่อสำเร็จการศึกษา บัณฑิตจะพร้อมทำงานในสายงานดังกล่าวได้ทันที    

"การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่ภาคการศึกษากับภาคเอกชนจับมือกันร่วมพัฒนาการเรียนการสอน พัฒนาบัณฑิตและทรัพยากรของประเทศ ให้เกิดองค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่พยายามส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมากขึ้น เพราะปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ในสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการตลอดเวลา นักศึกษาจะได้ก้าวทันสิ่งต่างๆเหล่านี้และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต"    

นายเควิน สจ๊วต เบอร์เรล กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทดีเอชแอล ซัพพลายเชน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โลจิสติกส์ถือเป็นหัวใจหลักในการดำเนินชีวิตในทุกๆวันของประชาชน บริษัทรับรู้ได้ถึงวิกฤตการณ์ ความยากลำบากที่เกิดขึ้น และไม่หยุดที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพและศักยภาพในการทำงานทั้งด้านการขนส่ง โรงงานอาหารและสินค้าต่างๆ และภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและพัฒนาด้านโลจิสติกส์ให้กับบริษัทต่างๆในประเทศไทยมีความเข้มแข็ง ยั่งยืนกว่าที่เดิม  

ขอบคุณมหาวิทยาลัยรามคำแหง และยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกันพัฒนานักศึกษาเพื่อก้าวไปเป็นบุคลากรด้านโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพในอานาคตต่อไป

ศาสตราจารย์ ดร.ปิยะฉัตร  จารุธีรศานต์ ประธานกรรมการบริหารโครงการฯ กล่าวว่า โลจิสติกส์ เป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะหากประเทศไทยสามารถขนส่งสินค้าและบริการต่างๆได้อย่างสะดวก คล่องตัว และมีหลากหลายเส้นทางย่อมหมายถึงการเพิ่มมูลค่า เพิ่มเม็ดเงินให้แก่ประเทศ ซึ่งปัจจุบันตลาดโลจิสติกส์เป็นตลาดที่กว้าง ไม่ใช่เป็นเรื่องขนส่งเพียงอย่างเดียว ยังรวมถึงการจัดการสินค้า การจัดการคลังสินค้า การกระจายสินค้า และสามารถประยุกต์ได้กับทุกอุตสาหกรรม ทั้งภาคการผลิตและบริการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ตั้งแต่ปี 2548 ผลิตบัณฑิตไปแล้วกว่า 2,000 คน และได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรี โครงการศึกษาภาคพิเศษ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ปีนี้เป็นปีที่ 2 เพื่อผลิตคนรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดโลจิสติกส์รองรับความต้องการของตลาดแรงงานที่มากขึ้น และการลงนามความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้ ทำขึ้นเพื่อร่วมมือทางด้านวิชาการและสนับสนุนการรับนักศึกษาเข้าฝึกงาน เพื่อสนับสนุนการศึกษา และเพื่อให้บุคลากรของหลักสูตรฯ ได้พัฒนาความรู้ทักษะ ร่วมกันในการฝึกประสบการณ์ภายใต้การถ่ายทอดองค์ความรู้จากสถานการณ์จริง โดยหน่วยงานทั้งสองจะมีการบูรณาการทำงานเข้าด้วยกัน มุ่งสร้างบัณฑิตและมหาบัณฑิตนักปฏิบัติ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจต่อไป    

"คณะบริหารธุรกิจได้มีความร่วมมือบริษัทดีเอชแอล ซัพพลายเชน (ประเทศไทย) จำกัด มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางบริษัทยอมรับในหลักสูตรและคุณภาพบัณฑิตของรามคำแหง อีกทั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญมา  ชัยเสถียรทรัพย์ กรรการและรองประธานเจ้าหน้าทที่บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัทดีเอชแอล ซัพพลายเชน (ประเทศไทย) จำกัด เข้ามาเป็นอาจารย์ผู้สอนในสาขาโลจิสติกส์และอุปทาน และบัณฑิตที่จบจากโครงกาฯ ก็ได้เข้าไปทำงานที่บริษัทแห่งนี้เป็นจำนวนมากด้วย"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๔ กลุ่ม KTIS จับมือ Marubeni ประสานความร่วมมือในการขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC)
๑๔:๒๐ ผู้ถือหุ้น TIDLOR อนุมัติจ่ายปันผลเป็นหุ้น-เงินสด อัตรา 27 หุ้นสามัญ : 1 หุ้นปันผล พร้อมจ่ายเงินสด 0.2698 บ./หุ้น เตรียมขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. 67 รับทรัพย์ 14
๑๔:๔๙ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย
๑๔:๑๐ สสวท. เติมความรู้คู่กีฬากับ เคมีในสระว่ายน้ำ
๑๓:๐๓ ฉุดไม่อยู่! ซีรีส์ Kiseki ฤดูปาฏิหาริย์ กระแสแรง ขึ้น TOP3 บน Viu ตอกย้ำความฮอต
๑๔:๒๔ TM บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 9
๑๔:๑๒ ผถห. JR อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น พร้อมโชว์ Backlog แน่น 9,243 ลบ.
๑๔:๕๐ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ
๑๔:๓๔ ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 10,524 ล้านบาท
๑๔:๑๔ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ