กระทรวง อุตฯ กระทรวง อว. เคาะ "บ้านหน้าทับโมเดล" คว้าสุดยอดหมู่บ้าน CIV ดีพร้อม นำเทคโนโลยีสร้างรายได้ชุมชนด้วยไอเดียคนรุ่นใหม่

พุธ ๐๒ ธันวาคม ๒๐๒๐ ๑๗:๒๔

วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากผ่านการพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ หมู่บ้าน CIV ทั่วประเทศรวม 11 แห่ง โดยใช้แนวคิดจากเยาวชน ผนวกเทคโนโลยี ดึงอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว โดยหนึ่งใน 11 ชุมชนดังกล่าว หมู่บ้าน CIV "บ้านหน้าทับ" จังหวัดนครศรีธรรมราช คว้าอันดับหนึ่งหมู่บ้าน CIV ดีพร้อม สร้างมูลค่าจากวิถีดั่งเดิม ผ่านการท่องเที่ยวธรรมชาติ ชวนมาร์คหน้าสปาโคลน ชมบรรยากาศทะเลอ่าวไทย

กระทรวง อุตฯ กระทรวง อว. เคาะ บ้านหน้าทับโมเดล คว้าสุดยอดหมู่บ้าน CIV ดีพร้อม นำเทคโนโลยีสร้างรายได้ชุมชนด้วยไอเดียคนรุ่นใหม่

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เห็นความสำคัญกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ซึ่งสามารถต่อยอดได้ในเชิงธุรกิจ จึงได้ร่วมมือกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อดำเนินโครงการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับ 11 ชุมชนทั่วประเทศให้มีศักยภาพในเชิงการท่องเที่ยว ผ่านการลงพื้นที่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในท้องที่ เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน พร้อมการนำเทคโนโลยีเข้าไปพัฒนาระบบการทำงาน ทำให้สามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคง ซึ่งชุมชนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเป็นสุดยอด CIV ระดับ 5 ดาว คือ ชุมชนบ้านหน้าทับ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินการ จากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ที่ได้ผนึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ซึ่งถือเป็นสถานศึกษาในพื้นที่ที่มีศักยภาพสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านสร้างสรรค์ จนได้รับรางวัลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการประกวดสุดยอดหมู่บ้านท่องเที่ยวชนบท สาขาหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ประจำปี 2563

โดยผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ คือ รายได้ชุมชนที่เพิ่มขึ้น การพัฒนาทักษะของคนในพื้นที่ ความร่วมมือในระดับบุคคลและชุมชน เกิดการพัฒนาโครงสร้างชุมชนที่เข้มแข็งส่งผลต่อการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก อันจะเป็นทิศทางสำคัญของอุตสาหกรรมไทยเพื่อการแข่งขันกับตลาดสากลในอนาคต และยังเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของชุมชนในการเป็นสถานที่ฝึกทักษะประสบการณ์ การเห็นความสำคัญของท้องถิ่น สร้างค่านิยมในการส่งเสริมวิถีอัตลักษณ์ชุมชน

นายณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า รูปธรรมของการดำเนินงานที่เกิดขึ้นกับทั้ง 11 ชุมชน คือ รูปแบบการท่องเที่ยวที่ได้รับออกแบบขึ้นมาใหม่จากกลุ่มนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศทั้ง 11 แห่ง โดยส่วนใหญ่เน้นการอนุรักษ์วิถีดั่งเดิม เช่น วิถีเกษตรอินทรีย์ วิถีประมง วิถีหัตถกรรมท้องถิ่น ซึ่งแต่ละชุมชนล้วนมีอยู่แล้วทั้งหมด จึงไม่เกิดความเสี่ยงจากการลงทุน สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งยังช่วยให้รูปแบบการดำเนินงานของชุมชนเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน ทั้งนี้ เตรียมขยายผลการดำเนินงานไปยัง 10 ชุมชน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อเตรียมความพร้อมการท่องเที่ยวชุมชนรองรับการเปิดประเทศในอนาคต

อย่างไรก็ดี กสอ. ให้ความสำคัญกับการวัดผลสำเร็จของการดำเนินงานส่งเสริมชุมชน ได้รับผลตอบรับจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวทั้ง 11 ชุมชน ประกอบด้วย การประเมินศักยภาพของชุมชน สิ่งอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยว การมีส่วนร่วมของชุมชน การชูวัฒนธรรมวิถีชุมชน สินค้าของที่ระลึก และการสนับสนุนของหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อการวิเคราะห์เชิงลึก สำหรับเป็นข้อมูลประกอบการพัฒนา แนวทางการส่งเสริมชุมชนให้มีประสิทธิภาพในดำเนินการในปี 2564 อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

นายทักษิณ หมินหมัน ประธานวิสาหกิจกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านแหลมโฮมสเตย์ (บ้านหน้าทับ) อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ชุมชนบ้านหน้าทับ แต่เดิมประกอบอาชีพประมง ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากขาดรายได้ และจำเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างที่ต้องหยุดประกอบอาชีพ จึงมีภาระหนี้สินในชุมชนเป็นจำนวนมาก แต่หลังจากการลงพื้นที่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยว การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 50 ภาระหนี้สินในชุมชนลดลง และสามารถนำรายได้ไปต่อยอดพัฒนาชุมชนมากยิ่งขึ้น

การลงพื้นที่ของนักศึกษาเกิดขึ้นหลายครั้งอย่างต่อเนื่องตลอดโครงการ แต่ละครั้งจะเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชาวบ้านในชุมชน ทำให้ได้รับทราบข้อมูลปัญหา และเห็นถึงจุดเด่นที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือดึงดูดนักท่องเที่ยว อาทิ การส่งเสริมกิจกรรมพอกโคลนในท้องทะเลอ่าวไทย ซึ่งมีคุณสมบัติล้างสารพิษบนใบหน้า และไม่ก่อให้เกิดการละคายเคือง กิจกรรมปลูกป่าชายเลน เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ และการทำประมงวิถีดั้งเดิม ซึ่งชาวชุมชนยังคงดำรงชีวิตตามปกติ แต่สามารถสร้างรายได้เพิ่มเติมจากการท่องเที่ยว จึงอยากให้ขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียงและชุมชนอื่น ๆ ทั่วประเทศเพื่อสร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน สำหรับทริปท่องเที่ยว CIV บ้านหน้าทับ ประกอบด้วย วันเดย์ทริป ( One Day Trip ) สัมผัสวิถีประมง ทานอาหารท้องถิ่น ปั่นจักรยานชมชุมชน สนนราคาที่ 1,050 บาทต่อคน และ ทริป 2 วัน 1 คืน เพิ่มบริการที่พักสัมผัสชีวิตพื้นถิ่น ชมธรรมชาติผ่านเส้นทางบกและทางน้ำ สนนราคาที่ 1,850 บาทต่อคน นายทักษิณ กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2202 4414-18 หรือติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.facebook.com/dipindustry และ www.dip.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4