กรม ทช. ร่วมกับ เชฟรอนประเทศไทยสร้างแหล่งเพาะพันธุ์ปะการังและที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล

อังคาร ๒๙ ธันวาคม ๒๐๒๐ ๑๔:๐๓

กรม ทช. ร่วมกับ เชฟรอนประเทศไทยสร้างแหล่งเพาะพันธุ์ปะการังและที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลท้องทะเลประเทศไทยอุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้ง แหล่งแร่ ก๊าซ และน้ำมันดิบ แท่นขุดเจาะปิโตรเลียมนับร้อยแท่นตั้งกระจายอยู่ในท้องทะเลไทย หลายแท่นยังคงใช้งานอยู่ บางแท่นกำลังจะหมดอายุการใช้งาน

กรม ทช. ร่วมกับ เชฟรอนประเทศไทยสร้างแหล่งเพาะพันธุ์ปะการังและที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ร่วมกับบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจ และผลิตจำกัดริเริ่มแนวคิดการใช้ขาแท่นหลุมปิโตรเลียมที่สิ้นสุดหน้าที่แล้ว มาวางเป็นปะการังเทียม เพื่อสร้างแหล่งเพาะพันธุ์ปะการังและที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลภายใต้ "โครงการนำขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม จำนวน 7 ขาแท่น มาจัดวางเป็นปะการังเทียม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ในพื้นที่ เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี" โครงการดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่ปี2556โดยได้มีการศึกษาทดลองนำโครงสร้างเหล็กจำลองชนิดเดียวกับ ขาแท่นไปจัดวางที่ บริเวณอ่าวโฉลกหลำของเกาะพะงัน ซึ่งประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูระบบนิเวศ ทางทะเล พบปริมาณสัตว์ทะเลเพิ่มขึ้น เป็นประโยชน์ต่อประมงพื้นบ้าน และกลายเป็นแหล่งดำน้ำอีกแห่งหนึ่ง ต่อมาในปี 2559 กรมทะเลฯ ร่วมกับ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาความเป็นไปได้ ในการนำขาแท่นหลุมปิโตรเลียมในอ่าวไทยมาจัดวางเป็นปะการังเทียม และศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่จัดวาง ซึ่งผลการศึกษาออกมาเป็นที่น่าพอใจ และในปี 2561 นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง ได้เสนอโครงการฯ ต่อคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ซึ่งมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยที่ประชุม ได้เห็นชอบในหลักการ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการต่อ

ด้านนายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เผยว่า การจัดวางขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม ได้ผ่านการศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบที่อาจจะเกิดต่อระบบนิเวศทางทะเลรวมทั้งได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่แล้ว ทำให้สามารถมั่นใจได้ในระดับหนึ่งก่อนดำเนินการจัดวางสำหรับการจัดวางขาแท่น ทั้ง 7 ขาแท่น โดยได้เริ่มจัดวางขาแท่นแรกเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 และขาแท่นสุดท้ายเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 พร้อมทั้งได้รับการตรวจสอบ และรับรองจากผู้เชี่ยวชาญการสำรวจทางทะเลเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งทางบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจ และผลิต จำกัด ได้จัดพิธีส่งมอบให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นผู้ดูแล

สำหรับแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป "กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะได้กำหนดเป็นพื้นที่คุ้มครองทาง พร้อมแผน และมาตรการการบริหารจัดการพื้นที่จัดวางขาแท่นดังกล่าวรวมทั้งแนวทางการติดตามและศึกษาผลกระทบทั้งทางบวก และทางลบจากการใช้ขาแท่นปิโตรเลียมในการจัดวางเป็นปะการังเทียม" ท้ายที่สุด อยากขอบคุณบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในฐานะหนึ่งในบริษัทชั้นนำในด้าน การผลิตและสำรวจปิโตรเลียมในประเทศไทย ที่ให้ความสำคัญและความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลที่ดีมาโดยตลอด และตนเชื่อว่าความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงานจะยังเป็นพันธมิตรที่เหนียวแน่นในการดูแลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศให้คงความสมบูรณ์ยั่งยืนเช่นนี้ ต่อไปโดยหวังว่าโครงการนี้จะเกิดประโยชน์ต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลส่งผลดีต่อชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชนในพื้นที่เกาะพะงันและพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งด้านการท่องเที่ยวดำน้ำ และการประมง

นายไพโรจน์ กวียานันท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า บริษัท เชฟรอนฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุนโครงการนี้ พร้อมได้มอบขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ไม่ใช้งานแล้ว จำนวน 7 ขาแท่นให้กับกรมทะเลไปจัดวางเป็นปะการังเทียมเพื่อการอนุรักษ์ท้องทะเลไทยพร้อมทั้งให้การสนับสนุนด้านการจัดวาง และงบประมาณโครงการฯตลอดจนจัดหาผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศและนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้สนับสนุนงานศึกษาวิจัยของโครงการฯ อย่างไรก็ตาม"เชื่อมั่นว่าโครงการศึกษานำร่องนี้จะสร้างองค์ความรู้ที่มีค่าด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลด้วยปะการังเทียมจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม ซึ่งเป็นแนวทางที่มีการดำเนินงานในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยตลอดระยะการดำเนินงาน เชฟรอนได้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดกฎหมายและเป็นไปตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในระดับสากล"

โดยการดำเนินโครงการนี้ ได้รับการอนุมัติอนุญาต จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กองทัพเรือ กรมเจ้าท่า และกรมประมง นอกจากนี้ เชฟรอนยังได้ทำงานร่วมกับบริษัทผู้ร่วมทุน อันได้แก่ บริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็กซโปลเรชั่น จำกัด และบริษัท ปตท. สำรวจ และผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ภายใต้โครงการดังกล่าว ที่เป็นหนึ่งในความมุ่งมั่นเพื่อการเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวย้ำว่า ตนได้กำชับให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ติดตามผลกระทบของโครงการดังกล่าว ในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งเราต้องประเมินทั้งผลกระทบทางบวก และผลกระทบทางลบ เพื่อประกอบการตัดสินใจในระดับนโยบายในการต่อยอดโครงการในอนาคต ซึ่งอย่างน้อยต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี เพื่อถอดบทเรียนจากการดำเนินการโครงการฯ ครั้งนี้

"เราใช้ประโยชน์จากท้องทะเลอย่างมหาศาล เมื่อถึงวันที่เราจะสร้างประโยชน์ตอบแทนกลับคืน ก็ควรเป็นประโยชน์ที่แท้จริงการให้ในวันนี้ต้องไม่เป็นการทำลายในวันข้างหน้าการใช้ขาแท่นปิโตรเลียมสร้างบ้านใหม่ ให้ปะการังและสัตว์ทะเลต้องหมั่นติดตามดูแลหากบ้านหลังใหม่สร้างผลกระทบต้องรีบจัดการ เพื่อรักษาบ้านหลังใหญ่ มิให้ถูกทำลาย ใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน ต้องรักษาให้คงอยู่อย่างมั่นคง" นายวราวุธ กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๘ เม.ย. Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๘ เม.ย. Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๘ เม.ย. โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๘ เม.ย. 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๘ เม.ย. TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๘ เม.ย. SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๘ เม.ย. โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๘ เม.ย. หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๘ เม.ย. คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital