สวทช. ร่วมยินดี 23 บริษัทซอฟต์แวร์ผ่านประเมินมาตรฐาน CMMI นำไทยก้าวสู่อันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากมาเลเซีย

พฤหัส ๑๕ กรกฎาคม ๒๐๑๐ ๑๐:๕๗
การจะสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้เติบโตและแข็งแรงอย่างยั่งยืนได้นั้น บริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ควรจะมีกระบวนการผลิตอย่างมีระบบ มีข้อกำหนดและระเบียบวิธีที่รัดกุม เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ เสมอต้นเสมอปลาย และยังช่วยลดการทำงานซ้ำซ้อน รวมถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นในการผลิตซึ่งส่งผลให้ต้นทุนลดลง

เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า ซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพจะเกิดจากบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์มีกระบวนการผลิตและ การบริหารโครงการผลิตซอฟต์แวร์ที่มีมาตรฐานที่ดี และเป็นมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เช่น มาตรฐาน CMMI (Capability Maturity Model Integration) เป็นแนวทางพัฒนากระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ให้มีคุณภาพ รวมถึงวิธีการวัดผลหรือประเมินกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดย สถาบันวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering Institute, SEI) แห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน (Carnegie Mellon) สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก

แต่บริษัทซอฟต์แวร์ที่เข้ารับการประเมินเพื่อให้ได้การรับรองมาตรฐาน CMMI นั้น จะต้องมีการเตรียม ความพร้อมทั้งกำลังคนและทุนทรัพย์ ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นและช่วยเหลือผู้ประกอบการของไทย “ โครงการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ รุ่นที่ 1 ” หรือ SPI@ease I ดำเนินการโดยเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย(Software Park Thailand) และโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้เริ่มต้นขึ้น ตั้งแต่ปี 2550 — 2553 เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เอกชนไทยสนใจที่จะพัฒนาคุณภาพอย่างจริงจัง

รศ.ดร.สมชาย ฉัตรรัตนา รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเริ่มต้น ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2550 ด้วยภาครัฐมีนโยบายเร่งด่วนในการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศให้เติบโตเข้มแข็งและยั่งยืน อีกทั้งยังมุ่งเน้นการสร้างศักยภาพ การแข่งขันของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยในเวทีโลก ซึ่งเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมานั้น ประเทศไทยยังไม่ได้อยู่ในสายตาของชาวโลกว่าเป็นประเทศที่ผลิตซอฟต์แวร์เพื่อการแข่งขันได้และยังมีความสามารถด้านเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ในระดับพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่ แต่โอกาสทอง ที่ สวทช. เห็นในสมัยนั้น คือ เราอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีโอกาสที่จะพัฒนาให้ เข้าสู่เวทีการแข่งขันซอฟต์แวร์ระดับโลกได้ หากได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง จากวันนั้นถึงวันนี้โครงการได้สิ้นสุดลงเมื่อเดือนมิถุนายน 2553 รวมระยะเวลา 3 ปี 4 เดือน มีผู้ประกอบธุรกิจซอฟต์แวร์ไทยเข้าร่วม

โครงการจำนวนทั้งสิ้น 25 บริษัท ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ตามกรอบมาตรฐาน CMMI ระดับ 2 จำนวน 9 บริษัท, ระดับ 3 จำนวน 15 บริษัท และ ระดับ 5 จำนวน 1 บริษัท โดยมีบริษัทในโครงการเข้ารับการประเมินมาตรฐาน CMMI จำนวน 23 บริษัท และผ่านการประเมินทั้งหมด พร้อมกันนี้ ยังทำให้เกิดบริษัทที่ปรึกษาด้าน CMMI ที่ให้บริการให้คำปรึกษาแก่บริษัทในโครงการทั้งสิ้นจำนวน 9 บริษัท

จนปัจจุบันประเทศไทยมีบริษัทที่ได้รับการรับรอง CMMI จำนวนทั้งสิ้น 38 บริษัท จัดเป็นประเทศที่มีบริษัทซอฟต์แวร์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโลก CMMI เป็นอันดับที่ 7 ในภูมิภาคเอเชีย และเป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศมาเลเซีย (จำนวน 71 บริษัท)

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่าโครงการ SPI@ease เป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของ สวทช. ที่มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งและศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของชาติ และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ โดยถือเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในการเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจของอุตสาหกรรมทุกสาขา จากผลการสำรวจการใช้จ่ายซอฟต์แวร์ในประเทศไทยตามภาคเศรษฐกิจ ประจำปี 2552 พบว่า อุตสาหกรรมการเงินการธนาคารมีการใช้จ่ายกว่า 10,000 ล้านบาท โทรคมนาคมกว่า 8,000 ล้านบาท การศึกษา 7,000 ล้านบาท การขนส่งกว่า 3,000 ล้านบาท การแพทย์และสาธารณาสุข 2,500 ล้านบาท ท่องเที่ยว 1,600 ล้านบาท ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการใช้ซอฟต์แวร์ของภาครัฐ จำนวนกว่า 13,000 ล้านบาท ดังนั้นการดำเนินงานในโครงการ SPI@ease จึงถือเป็นก้าวย่างสำคัญที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจซอฟต์แวร์ ได้ทำการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ทั่วโลกยอมรับ เพื่อให้ได้ ซอฟต์แวร์ที่ดีมีคุณภาพ สามารถแข่งขันกับซอฟต์แวร์จากต่างประเทศได้

จากผลการดำเนินงานของโครงการ SPI@ease นั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นความสำเร็จในการสร้างความเข้มแข็งให้กับวัฏจักร หรือ Ecosystem ของการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยอย่างยั่งยืน จึงได้เริ่มดำเนินงานในโครงการ SPI@ease รุ่นที่ 2 อย่างต่อเนื่อง โดยครั้งนี้มีสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้าเข้าร่วมสนับสนุนโครงการด้วย และกำลังเปิดรับสมัครบริษัทเข้าร่วมโครงการในรุ่นที่ 2 อยู่ในขณะนี้

ดร.ทวีศักดิ์ ยังได้กล่าวแสดงความยินดีและชื่นชมกับความสำเร็จของโครงการที่ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพให้กับผู้ประกอบธุรกิจและบุคลากรซอฟต์แวร์ไทย ทำให้ประเทศไทยเป็นที่จับตามองในตลาดโลก ด้วยการเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่องของบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่ยึดหลักการทำงานที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานระดับสากล นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างชื่อเสียง และภาพลักษณ์ให้กับประเทศไทยในด้านการมี ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำปรึกษาและประเมินมาตรฐาน CMMI ที่พร้อมให้บริการกับประเทศต่าง ๆ ที่มีความต้องการได้ทั่วโลก

“ โครงการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ รุ่นที่ 2 (SPI@ease II) ” มีระยะเวลาโครงการ 3 ปี ตั้งแต่เดือน เมษายน 2553 — เดือนมีนาคม 2556 เพื่อสนับสนุนการสร้างมาตรฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์และเข้ารับการประเมิน CMMI ให้แก่บริษัทซอฟต์แวร์ไทยอย่าง ต่อเนื่อง และล่าสุดมีบริษัทที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการแล้วจำนวน 25 บริษัท สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ใดที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-583-9992 ต่อ 1433 และ1437

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๓๙ สมาคมธนาคารไทย ออกแนวทางช่วยเหลือเพิ่มเติม เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบางทั้งลูกค้าบุคคลและSME
๑๔:๐๒ ผู้ลงทุนเชื่อมั่น โลตัส (Lotus's) จองซื้อหุ้นกู้เต็มจำนวน 9 พันล้านบาท
๑๔:๑๕ สมัครบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า รูดช้อปรับคุ้ม! รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 5%
๑๔:๔๘ MASTER ประชุมผู้ถือหุ้นปี 67 ผ่านฉลุย ไฟเขียวจ่ายปันผล เดินหน้าสร้างโอกาสโตตามกลยุทธ์ MP
๑๔:๔๓ ธนาคารกรุงเทพ จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนาม MOU ส่งเสริมการผลิตบุคลากร-พัฒนาศักยภาพ-ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีดิจิทัล
๑๔:๒๐ ITEL จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. เห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผลอัตรา 0.0696 บ./หุ้น
๑๔:๒๙ ไทยพาณิชย์ ตอกย้ำกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch เปิดตัว โปรจีน อาฒยา นักกอล์ฟหญิงระดับโลก เป็น Brand
๑๔:๓๐ KCG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 พร้อมอนุมัติจ่ายปันผล 0.30 บาทต่อหุ้น
๑๔:๔๙ บาฟส์ ประกาศความสำเร็จ ลุยขยายโครงข่ายขนส่งน้ำมันทางท่อ เชื่อมต่อเครือข่ายพลังงานทั่วไทย
๑๔:๓๙ บีโอไอจับมือพันธมิตร จัดงาน SUBCON Thailand 2024