คลาวด์คอมพิวติ้งมีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้นทั่วโลก กับมูลค่าตลาดที่คาดว่าจะสูงถึง 148.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2014

ศุกร์ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๐ ๑๓:๐๘
คลาวด์คอมพิวติ้งและเวอร์ชวลไลเซชั่นคือเทคโนโลยีที่ผู้บริหารไอทีองค์กรชั้นนำให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ในปี 2010 สอดคล้องกับความจำเป็นในการเพิ่มขีดความสามารถของเทคโนโลยี จากเดิมเน้นที่ความสามารถในการรองรับข้อมูลคลาวด์คอมพิวติ้งมีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้นทั่วโลก กับมูลค่าตลาดที่คาดว่าจะสูงถึง148.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2014

ผู้บริหารไอทีองค์กรชั้นนำในเอเชียระบุเวอร์ชวลไลเซชั่นและคลาวด์คอมพิวติ้งคือเทคโนโลยีที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในปี 2010 จากการวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์ ในงาน Microsoft Cloud Summit ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในวันนี้ ถือเป็นแนวโน้นการใช้งานไอทีที่ตรงข้ามกับเทรนด์ Business Intelligence และแอพพลิเคชั่นสำหรับเอ็นเตอร์ไพรส์ในปี 2007 — 2008

การ์ทเนอร์และไมโครซอฟท์ระบุว่าภาคธุรกิจในเอเชียมีแนวโน้มความต้องการทางเทคโนโลยีดังกล่าว เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในทศวรรษหน้าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเร็วและยากที่จะคาดเดาเมื่อเทียบกับปัจจุบัน นอกจากนี้ อุตสาหกรรมและบริษัทต่างๆ จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจในยุคฟื้นฟูเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ การเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากไอที เช่น คลาวด์คอมพิวติ้ง จะกลายเป็นองค์ประกอบหลักทางกลยุทธ์เพื่อสร้างโอกาสและรับมือกับความท้าทายทางธุรกิจ

จากการที่คลาวด์คอมพิวติ้งได้กลายเป็นเครื่องมือทางธุรกิจที่เพิ่มบทบาทและความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ไมโครซอฟท์เชื่อว่าการให้บริการในรูปแบบ Platform-as-a-service (PaaS) Software-as-a-service (SaaS) และ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) จะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับบริษัทต่างๆ ได้หลายทาง อาทิ การลดต้นทุนด้านทรัพยากรประมวลผลของฮาร์ดแวร์ เนื้อที่ความจุ และสมรรถนะ และแนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีในรูปแบบการบริโภคมูลค่าหรือจ่ายเท่าที่ใช้งาน ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มความต้องการด้านเทคโนโลยี จากเดิมเน้นที่ความสามารถในการรองรับข้อมูลออนดีมานด์ (capacity on demand) มาสู่การเพิ่มขีดความสามารถของเทคโนโลยีออนดีมานด์ (capability on demand)

และเพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง เมื่อเร็วๆ นี้ ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ Office 365 เพื่อให้พนักงานบริษัทสามารถทำงานบน Microsoft Office, SharePoint, Exchange และ Lync ได้ทุกที่ทุกเวลา ในรูปแบบออนไลน์ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกัน ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถสื่อสารกับผู้อื่นทั้งในและนอกองค์กรได้อย่างปลอดภัย การให้บริการในรูปแบบนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการการใช้งานไอทีที่หลากหลายของลูกค้า ตั้งแต่ผู้เชี่ยวชาญในอาชีพต่างๆ ไปจนถึงองค์กรขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตาม แม้ผู้บริหารไอทีในเอเชียจะให้ความสนใจกับเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง แต่ก็ยังให้ความระมัดระวังในการจัดสรรงาน ทั้งในแง่ประเภทและปริมาณที่จะใช้กับคลาวด์คอมพิวติ้ง อีกทั้งประเด็นด้านความปลอดภัย กฎข้อบังคับ และการวิเคราะห์ด้านงบประมาณที่มีผลต่อการตัดสินใจ

“การใช้งานไอทีที่มีปริมาณมาก อาทิ อีเมล์ ได้ถูกนำไปใช้ในรูปแบบคลาวด์คอมพิวติ้งอย่างรวดเร็ว องค์กรต่างๆ จำนวนมากเลือกใช้บริการออนไลน์ของไมโครซอฟท์เพื่อเพิ่มประสิทธิผลทางธุรกิจ อาทิ อีเมล์ SharePoint ไมโครซอฟท์มองว่าโซลูชั่นต่างๆ อย่าง CRM ก็ได้ถูกนำไปใช้งานแบบคลาวด์คอมพิวติ้ง อันส่งผลมาจากการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน” นางสาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

“สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ลูกค้าเริ่มเข้าใจว่าคลาวด์คอมพิวติ้งสามารถตอบสนองความต้องการและความจำเป็นทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม คลาวด์คอมพิวติ้งไม่ได้เหมาะกับทุกคนหรือทุกองค์กร หากกำลังวางแผนที่จะใช้คลาวด์คอมพิวติ้ง ไมโครซอฟท์แนะนำให้ลูกค้าประเมินความจำเป็นและความเหมาะสมในการใช้งานก่อน”

“มีบริษัทจำนวนเพียงแค่ร้อยละ 20 เท่านั้นที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคลาวด์คอมพิวติ้งเลย ส่วนที่เหลือร้อยละ 80 ของจำนวนธุรกิจทั่วโลกต่างให้ความสนใจใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้งไม่ระดับใดก็ระดับหนึ่งทั้งสิ้น ซึ่งไมโครซอฟท์แนะนำว่าผู้บริหารไอทีที่ต้องการลงทุนเกี่ยวกับคลาวด์ควรพิจารณาองค์ประกอบ 4 ประการ ก่อนตัดสินใจ” มร. ไบรอัน เพรนทิส รองประธานฝ่ายวิจัยแห่งการ์ทเนอร์ กล่าว

“ประการแรกก็คือ ผู้บริหารไอทีควรเปรียบเทียบงบประมาณลงทุนกับผู้ให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง ประการที่สอง ระบุการใช้งานไอทีที่มีปริมาณสูงสุด 3 อันดับแรกที่สามารถทดลองใช้งานคลาวด์ได้ ประการที่สาม ปรับปรุงแอพพลิเคชั่นให้เหมาะกับการใช้งานคลาวด์ และประการสุดท้าย อีเมล์และ Collaboration คือการใช้งานไอทีที่เหมาะกับคลาวด์”

จากความแตกต่างการใช้งานคลาวด์ในด้านต่างๆ การอิ่มตัวของตลาดและการเติบโต บริการทางด้านไอทีของไมโครซอฟท์ที่นำเสนอนี้ช่วยให้กระบวนการตัดสินใจทางธุรกิจง่ายขึ้น และช่วยให้ผู้บริหารไอทีมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจหลักโดยไม่ต้องกังวลด้านนี้ ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารในรูปแบบอีเมล์ โทรศัพท์ และการประชุม อีกทั้งยังเพิ่มขีดความสามารถของระบบไอทีอีกด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

คุณศุภาดา ชัยวงษ์

ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ประเทศไทย

โทรศัพท์: 0-2627-3501 ต่อ 209

โทรสาร: 0-2627-3510

Email: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest