เด็กไทยเจ๋ง! คว้าแชมป์สร้างหุ่นโลกที่โมร็อกโก ในเวทีการแข่งขันออกแบบหุ่นยนต์นานาชาติ IDC ROBOCON 2014

ศุกร์ ๐๑ สิงหาคม ๒๐๑๔ ๑๕:๒๖
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย , บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่งนักศึกษาตัวแทนประเทศไทยที่ชนะเลิศจาก “การแข่งขันออกแบบและสร้างหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7 (Robot Design Contest 2014, RDC 2014) ไปเข้าแข่งขันในระดับนานาชาติ รายการ “IDC Robocon 2014” ณ ประเทศโมร็อกโก ระหว่าง 13-26 กรกฎาคม 2557 ร่วมกับเยาวชนตัวแทนจาก ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ จีน สิงคโปร์ อียีปต์ และ โมร็อกโก ในการแข่งขันรอบตัดสินเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ในปีนี้มีตัวแทนนักศึกษาจาก 8 ประเทศมาเข้าร่วมการแข่งขันรวมทั้งสิ้น 42 คน โดยมีนักศึกษาตัวแทนประเทศไทยเข้ารวม 4 คน ซึ่งต้องมาคละทีมใหม่ร่วมกับนักศึกษาตัวแทนจากประเทศอื่นๆ จนได้ทีมละ 5-6 คน โดยผลการแข่งขันในปีนี้ปรากฏว่านักศึกษาตัวแทนประเทศไทยสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศครองได้สำเร็จ ได้แก่ นายเจษฎา หมินแดง นักศึกษาปีที่ 2 จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จากทีม RED ร่วมกับตัวแทนเยาวชนจากประเทศ ฝรั่งเศส โมร็อกโก สิงคโปร์ และ ญี่ปุ่น ขณะที่ นายธิติพัทธ์ เพิ่มพัฒน์เดชากุล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ นายเมธาวัฒน์ คุณาพิพัฒน์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2

ด้าน รศ.ดร. วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ในฐานะประธานจัดการแข่งขัน กล่าวถึงความสำเร็จในครั้งนี้ว่า “ภูมิใจกับนักศึกษาทุกคนที่มีโอกาสมาร่วมแข่งขันในเวทีนานาชาติ เด็กไทยมีความสามารถและมีทักษะในด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์มากขึ้นและเรียนรู้การทำงานร่วมกันแม้จะต่างชาติต่างภาษาก็ทำผลงานออกมาได้ดี เชื่อว่าเยาวชนเหล่านี้ในอนาคตจะนำความรู้ความสามารถไปช่วยพัฒนาวิชาชีพวิศวกร และพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศเราได้ต่อไป และเพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้และความตื่นตัวกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์และอิเลคทรอนิกส์ในวงการศึกษาให้มากขึ้น ตลอดจนถึงการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างยั่งยืน เอ็มเทคร่วมกับจุฬาฯ จึงได้ยื่นเสนอขอเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน IDC Robocon 2016 ด้วย”

ด้านนายเจษฎา หมินแดง กล่าวว่า ธีมการแข่งขันออกแบบและสร้างหุ่นนานาชาติ ในปีนี้ คือ “The Great Harvest” เนื่องจากประเทศโมร็อกโก เป็นประเทศเกษตรกรรม และมีผลไม้หลากหลายชนิดเป็นสินค้าส่งออกขึ้นชื่อของประเทศ ในปีนี้จึงมีธีมการแข่งขันที่เกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวผลไม้ และขนส่งผลไม้ รวมถึงแยกชนิดผลไม้แต่ละชนิดเข้าสู่บริเวณจัดเก็บผลไม้ให้ถูกต้อง ในการแข่งขัน ทีมที่เข้าแข่งขันต้องสร้างหุ่นยนต์ 3 ตัว ตัวที่ 1 ใช้เพื่อเก็บเกี่ยวผลไม้จากสวนผลไม้ที่มีต้นไม้หลายชนิดปลูกรวมกันอยู่ ตัวที่ 2 ทำหน้าที่สร้างสะพานเพื่อขนส่งผลไม้จากสวนข้ามแม่น้ำไปที่พื้นที่คัดแยกชนิดผลไม้ ส่วนหุ่นตัวที่ 3 จะทำหน้าที่แยกชนิดผลไม้ที่เก็บมาได้เข้าถังจัดเก็บให้ถูกต้อง

“การแข่งขันในครั้งนี้ นอกจากจะดีใจและภูมิใจที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยได้แล้ว ยังได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ มิตรภาพจากเพื่อนร่วมการแข่งขันจากหลากหลายประเทศ ได้ฝึกความอดทน ตัวผมไม่ค่อยถนัดภาษาอังกฤษ ก็ยังได้พลอยได้ฝึกภาษาอังกฤษไปด้วย ได้เรียนรู้การทำงานแบบทีมเวิร์ก รู้จักการแบ่งหน้าที่การทำงาน” น้องเจษกล่าว

ขณะที่ ผศ.ดร.ชนัตต์ รัตนสุมาวงศ์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนำทีมนักศึกษาตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในครั้งนี้ กล่าวว่า นักศึกษาที่เข้าแข่งได้ผ่านประสบการณ์ในการแข่งขัน Robot Design Contest 2014 (RDC 2014) ซึ่งเป็นการแข่งขันในระดับประเทศมาก่อน ในการแข่งขันนี้ นักศึกษาได้รับการอบรมพื้นฐานด้านต่างๆ จากคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญ ก่อนจะสร้างหุ่นด้วย การผ่านการแข่งขันระดับประเทศทำให้นักศึกษามีประสบการณ์ในการทำงานเป็นทีม มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างหุ่น มีทักษะในการใช้งานเครื่องมือช่าง และมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการสร้างหุ่นจริงเป็นอย่างดี ในการแข่งขัน IDC-Robocon 2014 จึงสามารถทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมทีมต่างชาติได้ดี และประสบความสำเร็จในการแข่งขัน

“ทีมของน้องเจษ สามารถตีโจทย์การแข่งขัน และวางกลยุทธ์ในการแข่งขันได้อย่างเหมาะสม ในปีนี้ คะแนนสำคัญส่วนหนึ่งของการแข่งขันมาจากการสร้างหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่สร้างสะพาน ซึ่งหากสร้างสะพานได้สำเร็จ จะได้คะแนน 200 คะแนน และหากใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งขับเคลื่อนหุ่นยนต์ตัวนี้ด้วย จะได้คะแนนเพิ่มอีก 100 คะแนน สำหรับทีมของน้องเจษให้ความสำคัญกับหุ่นที่สร้างสะพานเป็นอย่างมาก และได้ออกแบบหุ่นให้สามารถปรับตำแหน่งความสูง ให้พอดีกับพื้นที่ที่ต้องเชื่อมต่อสะพานได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ทีมของน้องเจษสามารถสร้างสะพานได้สำเร็จทุกครั้ง ผิดกับทีมอื่นๆ ส่วนมากที่มักจะทำคะแนนส่วนนี้ไม่ได้ดี” ผศ.ดร.ชนัตต์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้