ผลวิจัย Global IT Study เผย องค์กรธุรกิจในไทยสูญเกือบ 15 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี จากสาเหตุข้อมูลสูญหายและระบบหยุดทำงาน ทำให้ขาดความต่อเนื่องทางธุรกิจ

อังคาร ๑๓ มกราคม ๒๐๑๕ ๐๙:๔๘
การสูญหายของข้อมูลทั่วโลกสูงขึ้นถึง 400% และองค์กรธุรกิจในไทยยังไม่ได้เตรียมพร้อมรับยุคใหม่ของการใช้งานเทคโนโลยี โมบายล์ คลาวด์ และบิ๊กดาต้า

ประเด็นสำคัญจากงานวิจัย

มูลค่าความสูญเสียที่เกิดจากการสูญหายของข้อมูลและระบบล่มในประเทศไทยเฉียด 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ1

บริษัทต่างๆ ทั่วโลก สูญเสียข้อมูลเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 400%2 จาก 2 ปีก่อน (ข้อมูลที่สูญหายเทียบเท่ากับจำนวนอีเมล์ราว 24 ล้านฉบับ3 ในแต่ละปี )

86% ของผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ยังไม่มีความมั่นใจเต็มร้อยว่าจะสามารถกู้คืนข้อมูลที่หายไป

บริษัทหลายแห่งที่ใช้เทคโนโลยีของบริษัทไอทีตั้งแต่ 3 รายหรือมากกว่านั้น พบปัญหาการสูญหายของข้อมูล 1.69 ครั้ง มากพอกันกับการใช้เทคโนโลยีของบริษัทไอทีเพียงรายเดียว

37% ขององค์กรในไทยยังขาดการวางแผนการกู้คืนระบบสำหรับเวิร์กโหลดที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีใหม่ๆ4 และมีเพียง 4% ที่วางแผนรองรับการใช้งานบิ๊กดาต้า ไฮบริดคลาวด์ และโมบายล์

จากผลสำรวจ มีการแบ่งกลุ่มบริษัทที่มีการนำเทคโนโลยีเกี่ยวกับการป้องกันข้อมูลมาใช้งานเป็นสี่กลุ่มได้แก่ Leaders และ Adopters (บริษัทฯ ที่มีการนำเทคโนโลยีหรือระบบหรือวิธีการป้องกันข้อมูลขั้นก้าวหน้ามาใช้ ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเมื่อเกิดระบบล่มหรือข้อมูลสูญหาย สามารถกู้คืนระบบหรือข้อมูลที่สูญหายได้เร็วที่สุด และมีความมั่นใจว่าตนเองมีศักยภาพในการกู้ระบบที่ล่มหรือข้อมูลที่สูญหายได้ดีที่สุด) Evaluators และ Laggards (บริษัทฯ ที่มีศักยภาพลดหลั่นลงมาจาก Leader และ Adopter เช่น (บริษัทฯ ที่กำลังประเมินหรือยังขาดความรู้ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีมาใช้ เมื่อเกิดระบบล่มหรือข้อมูลสูญหาย จะได้รับผลกระทบมาก ใช้เวลาในการกู้คืนระบบนาน และขาดความมั่นใจว่าตนจะสามารถกู้คืนระบบได้ทันท่วงที) สำหรับในประเทศไทย มีเพียง 3% ของบริษัทฯ ที่อยู่ในตำแหน่ง Leaders, 8% อยู่ในตำแหน่ง Adopters และ 89% เป็นประเภท Evaluators และ Laggard

ประเทศจีน ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา เป็นผู้นำด้านการใช้เทคโนโลยีด้านการปกป้องข้อมูล ในขณะที่สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรต ยังขาดความตระหนักในการนำมาใช้ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 14 จาก 24 ประเทศ ที่ทำการสำรวจ

อีเอ็มซี คอร์ปอเรชั่น (NYSE: EMC) เผยผลการศึกษาจาก 24 ประเทศทั่วโลกฉบับใหม่เรื่องการปกป้องข้อมูล ที่ชี้ให้เห็นว่า ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา องค์กรธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทยเกิดการสูญเสียทางธุรกิจอันเนื่องมาจากการสูญหายของข้อมูลและระบบล่มสูงถึงเกือบ 15 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นที่มีอัตราเฉลี่ยการสูญเสียประมาณ 34 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการสูญเสียข้อมูลทั่วโลกเพิ่มขึ้น 400% ตั้งแต่ปี 2555 และเป็นที่น่าแปลกใจว่า 86% ขององค์กรในไทยยังคงไม่มั่นใจเต็มร้อยว่าจะสามารถกู้คืนระบบหลังจากที่ระบบล่มไป

1. ผู้ประกอบการ/องค์กร ในที่นี้คือบริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 250 คน ตัวเลขมาจากข้อมูลบริษัทจาก Dunn และ Bradstreet

ตัวเลขแสดงความสูญเสียที่ประเมินทั้งหมดขององค์กรใน 24 ประเทศที่อยู่ในงานวิจัยของอีเอ็มซี

2. ตัวเลขเปรียบเทียบมาจากการสำรวจด้านการกู้คืนระบบของอีเอ็มซีครั้งก่อน

3. การสูญเสียทั้งหมดต่อบริษัทเฉลี่ย 2.33TB สมมติขนาดอีเมลเฉลี่ย 100KB

4. “เวิร์คโหลดใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น” ในที่นี้ประกอบไปด้วย ไฮบริดคลาวด์ บิ๊กดาต้า และโมบายล์

?

Global Data Protection Index ของอีเอ็มซี ดำเนินการโดยแวนสัน บอร์น ได้ทำการสำรวจผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจำนวน 3,300 คน จากองค์กรธุรกิจขนาดกลางไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ใน 24 ประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้มี 125 คนเป็นผู้ตอบแบบสอบถามจากไทย

ผลกระทบจากข้อมูลที่สูญหายและระบบหยุดทำงาน

ข่าวดีก็คือภาพรวมของจำนวนครั้งของการเกิดการสูญเสียข้อมูลลดลง แต่ปริมาณของข้อมูลที่สูญหายไปในแต่ละครั้งกลับเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ

ผลสำรวจองค์กรธุรกิจในไทย

62% ขององค์กรที่สำรวจ เคยเผชิญกับการสูญหายของข้อมูลหรือระบบหยุดทำงานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

โดยเฉลี่ย ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา องค์กรต้องเผชิญกับปัญหาระบบล่มคิดเป็นเวลามากกว่า 3 วันทำการปกติ (32 ชั่วโมง) จากการไม่คาดหวังเรื่องระบบล่ม

ผลกระทบในการทำธุรกิจอื่นๆ อันเนื่องมาจากการหยุดชะงักของระบบ ได้แก่ 58% ทำให้ การพัฒนาสินค้าและบริการต้องล่าช้าไป และ 47% ทำให้ลูกค้าสูญเสียความเชื่อมั่นและความภักดีในแบรนด์

ความท้าทายระลอกใหม่ ในการป้องกันข้อมูล

แนวโน้มการดำเนินธุรกิจต่างๆ เช่น บิ๊กดาต้า โมบายล์ และไฮบริดคลาวด์ ก่อให้เกิดความท้าทายใหม่ๆ ด้านการป้องกันข้อมูลในประเทศไทย

37% ของธุรกิจยังขาดการวางแผนการกู้คืนระบบจากการใช้งานบิ๊กดาต้า โมบายล์ และไฮบริดคลาวด์ และมีเพียง 4% เท่านั้นที่มีการวางแผนในเรื่องเหล่านี้

69% ของผู้ตอบแบบสอบถามให้น้ำหนักว่า บิ๊กดาต้า โมบายล์และไฮบริดคลาวด์นั้นยากต่อการป้องกัน

18% ของข้อมูลพื้นฐานทั้งหมดที่อยู่ในรูปแบบบางรูปแบบของคลาวด์สตอเรจ อาจทำให้เกิดการสูญเสียได้อย่างมาก

ความขัดแย้งในการปกป้องข้อมูล

การนำเทคโนโลยีการปกป้องข้อมูลขั้นสูงมาใช้สามารถลดปริมาณระบบหยุดชะงักได้อย่างมีนัย ทำให้หลายๆ บริษัทหันไปใช้บริการจากบริษัทผู้ให้บริการไอทีหลายๆ แห่ง เพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาความท้าทายในการปกป้องข้อมูลของพวกเขา อย่างไรก็ดีวิธีการแบบนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงได้ กล่าวคือ

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการในประเทศไทยที่ยังไม่ได้นำกลยุทธ์ “ระบบพร้อมทำงานอย่างต่อเนื่อง” มาใช้ มีแนวโน้มที่จะประสบความสูญเสียข้อมูลมากถึงสามเท่าของผู้ที่ใช้กลยุทธ์นี้แล้ว

ข้อมูลทั่วโลกระบุว่า ธุรกิจต่างๆ ที่ใช้บริการโซลูชั่นในการปกป้องข้อมูลจากเจ้าของเทคโนโลยีตั้งแต่ 3 รายหรือมากกว่านั้น จำนวนข้อมูลที่สูญหาย จะมากเป็น 3 เท่าเมื่อเทียบกับองค์กรที่มีกลยุทธ์การใช้ระบบป้องกันข้อมูลจากผู้ให้บริการเพียงรายเดียว

นอกจากนี้ องค์กรที่ใช้เทคโนโลยีของสามบริษัท มีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านการปกป้องข้อมูลมากกว่าองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีจากบริษัทเดียวเฉลี่ย 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มาตรวัดความพร้อมในการปกป้องข้อมูล

ผู้ตอบแบบสำรวจ Data Protection Index ของอีเอ็มซี ได้คะแนนจากคำตอบของพวกเขา และได้รับการจัดลำดับเรื่องความพร้อมในการปกป้องข้อมูลของพวกเขาไว้ในหนึ่งในสี่ประเภท (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหัวข้อวิธีการทำวิจัย)

89% ขององค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ในไทย ได้รับการจัดอันดับอยู่ในสองประเภทหลังของการวัดความพร้อมในการปกป้องข้อมูล (Evaluators and Laggards)

จากผลสำรวจทั่วโลก 14% ขององค์กรมีระบบป้องกันข้อมูลเกินกว่าเกณฑ์เฉลี่ย, 11% อยู่ในกลุ่มของผู้พร้อมนำระบบมาใช้ และมีเพียง 2% ที่อยู่ในฐานะของผู้นำด้านการมีระบบป้องกันข้อมูลที่ก้าวหน้า

จากทุกประเทศที่ร่วมตอบแบบสำรวจ พบว่า ในประเทศจีน 30% ของบริษัทมีระบบป้องกันข้อมูลเหนือกว่าเกณฑ์มากที่สุด ในขณะที่ลำดับสุดท้ายเป็นของสหรัฐอาหรับเอมิเรต (0%)

ในองค์กรขนาดใหญ่มากๆ ที่มีพนักงาน 5,000 คนขึ้นไป มีแนวโน้มที่จะมีการใช้เทคโนโลยีการป้องกันข้อมูลที่เหนือกว่าเกณฑ์มากเป็นสองเท่า (24%) ขององค์กรที่เล็กกว่าที่มีพนักงานระหว่าง 250-449 คน (12%); สำหรับประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นแล้ว บริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์เป็นผู้นำทางด้านนี้ (20% และ 21% ตามลำดับ)

คำกล่าวจากผู้บริหารอีเอ็มซี

กาย เชิร์ทชวอด ประธาน อีเอ็มซี คอร์ เทคโนโลยี

"งานวิจัยนี้เน้นให้เห็นถึงผลกระทบมหาศาลทางการเงินที่มีต่อธุรกิจทุกหนแห่ง อันเนื่องมาจากการทำงานที่ต้องหยุดชะงักอย่างกระทันหัน และการสูญหายของข้อมูล 62% ของผู้ให้สัมภาษณ์ที่มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีของแต่ละองค์กรรู้สึกว่าการปกป้องข้อมูลที่เกิดจากการใช้งานบนไฮบริดคลาวด์ บิ๊กดาต้า และโมบายล์ เป็นเรื่องท้าทาย เป็นสิ่งที่เข้าใจได้เช่นกันว่าพวกเขาขาดความเชื่อมั่นว่าการปกป้องข้อมูลจะสามารถตอบสนองความท้าทายทางธุรกิจในอนาคตได้ เราหวังว่าดัชนีการปกป้องข้อมูลนี้จะทำให้ผู้นำด้านไอทีหยุดเพื่อพิจารณา และประเมินว่าโซลูชั่นการปกป้องข้อมูลที่ีใช้อยู่ในปัจจุบันของพวกเขาสอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจในปัจจุบันตลอดจนเป้าหมายในระยะยาวหรือไม่”

นายนฐกร พจนสัจ ผู้จัดการประจำประเทศไทย

บริษัท อีเอ็มซี อินฟอร์เมชั่น ซิสเท็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด

“ในขณะที่ธุรกิจยังคงต้องต่อสู้เพื่อปกป้องเวิร์กโหลดปัจจุบันของตน ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการหลายรายในประเทศไทยยังคงเตรียมตัวได้ไม่ดีนักที่จะเผชิญกับความท้าทายในการปกป้องข้อมูลที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล องค์กรธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทยจะพบว่าการปกป้องข้อมูลของตนเองจะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ด้วยการรู้เท่าทันกับเทคโนโลยีการปกป้องข้อมูลที่พัฒนาควบคู่ไปกับความท้าทาย และแอพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น และคิดเชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับการปกป้องข้อมูล เพื่อเตรียมตัวเองให้พร้อมมากขึ้นในการรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน และความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ที่อาจส่งผลให้การทำงานหยุดชะงักและสูญเสียข้อมูลที่สำคัญได้”

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ศึกษารายละเอียดงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้ที

http://singapore.emc.com/microsites/emc-global-data-protection-index/images-infographics/infographic-thailand.jpg

ดู Global Results Infographic ได้ที่

http://singapore.emc.com/microsites/emc-global-data-protection-index/index.htm#

วิธีการทำวิจัย

การวิจัยนี้ดำเนินการอย่างอิสระโดย แวนสัน บอร์น ทำการวิจัยระหว่างเดือนสิงหาคมและกันยายน 2557 ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีภายในองค์กรที่มีพนักงานมากกว่า 250 คน จำนวน 3,300 คนจาก 24 ประเทศ ประกอบด้วยผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศสหรัฐอเมริกา สหราช อาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมัน ประเทศละ 200 คน ผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศแคนาดา เม็กซิโก บราซิล รัสเซีย แอฟริกาใต้ ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรต อิตาลี สวิสเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน เกาหลี อินเดีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ ไทย และอินโดนีเซีย ประเทศละ 125 คน

เพื่อสร้างกราฟให้สมบูรณ์ ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีต้องตอบคำถามที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับประสบการณ์เรื่องการสำรองข้อมูลและการกู้คืนระบบของตน กลยุทธ์และโครงสร้างพื้นฐาน แต่ละส่วนได้รับคะแนนจากคะแนนรวม 64 เพื่อให้ภาพรวมในการจัดอันดับสมบูรณ์ คะแนนนี้จะถูกคูณด้วยปัจจัยการปรับขนาด ที่จะเป็นตัวปรับเส้นโค้ง และให้คะแนนรวมจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน เมื่อได้คะแนนมาแล้ว จะแบ่งผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีที่ตอบแบบสอบถามออกเป็นสี่กลุ่ม โดยพิจารณาจากคะแนนต่ำไปสูง คือ กลุ่มผู้ยังไม่ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ (คะแนนระหว่าง 1-25) กลุ่มผู้กำลังประเมิน (คะแนน 26-50) กลุ่มผู้กำลังนำเทคโนโลยีมาใช้ (คะแนน 51-75) และกลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยีขั้นก้าวหน้าอยู่แล้ว (คะแนน 76-100)

?

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest