A-B-C Strategies คำตอบในการบริหารจัดการ ปริมาณข้อมูลมหาศาลขององค์กร

พฤหัส ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๕ ๑๖:๔๗
ปัจจุบันข้อมูลถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับองค์กรธุรกิจ แต่ปริมาณข้อมูลที่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากมายมหาศาล โดยเฉพาะข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured data) อาทิ เช่น ไฟล์เอกสาร word, excel, pdf, html, รวมทั้ง ข้อมูลผ่านสังคมเครือข่าย, ไฟล์จำพวกมีเดีย (Media) ที่มีขนาดใหญ่ ฯลฯ กำลังก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการบริหารจัดการ รวมถึงความเสี่ยงและความซับซ้อนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว หลายองค์กรธุรกิจจึงค่อยๆ เพิ่มโซลูชั่นทีละส่วนให้กับโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีของตน เพื่อหวังจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่เพิ่มเข้ามากลับส่งผลให้เกิดความยุ่งยากในการบริหารจัดการ ทำให้ขาดประสิทธิภาพ และเกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นกว่าเก่า และแม้ว่าข้อมูลจะสามารถผลักดันให้ธุรกิจเกิดความคล่องตัวและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ แต่ข้อมูลก็อาจเป็นตัวการสำคัญที่ขัดขวางการขยายตัวขององค์กร หากไม่ได้รับการจัดเก็บ ป้องกัน และจัดการในลักษณะที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อให้องค์กรสามารถระบุ และตอบสนองความต้องการของลูกค้า, ตลาด และคู่แข่งได้เร็วขึ้น องค์กรจึงจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนจากการบริหารระบบจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบที่แยกออกจากกันในส่วนต่างๆ (Silo) ไปเป็นแพลตฟอร์มเดียวที่ครบวงจรและพร้อมรองรับข้อมูลทุกประเภท

ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้พัฒนากลยุทธ์ง่าย ๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างง่ายดาย โดยใช้กลยุทธ์ A-B-C: ที่มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1. Archive 1st (บริหารการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลก่อน) 2. Back up less (การสำรองข้อมูลให้น้อยลง) 3. Consolidate more (การผสานรวมให้มากขึ้น) 4. Distributed IT efficiency (บริหารจัดการประสิทธิภาพไอทีในสาขาต่างๆด้วยกลยุทธ์ด้านไอทีแบบรวมศูนย์) 5. Enable e-discovery and compliance (เอื้อต่อการปรับใช้ E-Discovery และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ)] และ 6. Facilitate cloud (รองรับการใช้งานระบบคลาวด์)

ขั้นตอนที่ 1: Archive 1st (บริหารการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลก่อน) : กลยุทธ์ A-B-C เริ่มต้นด้วยการบริหารจัดเก็บข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured data) ก่อน โดยแบ่งระดับ (Tier) ตามความสำคัญของข้อมูลที่มีต่อธุรกิจ แล้วเลือกย้ายข้อมูลที่ไม่มีการเคลื่อนไหว (Inactive data) จากแอพพลิเคชั่นหรือระบบจัดเก็บข้อมูลหลัก รวมทั้งจากสำนักงานสาขา, Microsoft SharePoint, ระบบ NAS, อีเมลและแหล่งอื่นๆ ไปไว้ที่ระบบ Object Storage ทำให้องค์กรสามารถลดเนื้อที่ในการจัดเก็บที่ต้องใช้ในการสำรองข้อมูลได้ประมาณ 30% เป็นการเรียกคืนพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลักต้นทุนสูงระดับ Tier1 เพื่อให้รองรับข้อมูลใหม่ได้เพิ่มขึ้น และช่วยชะลอระยะเวลาในการจัดซื้อระบบจัดเก็บข้อมูลใหม่ลดการลงทุนได้มากกว่า 25% และลดค่าใช้จ่ายโดยรวมได้ถึง 60%

ขั้นตอนที่ 2: Back up less (การสำรองข้อมูลให้น้อยลง) : ขั้นตอนที่สองนั้น เป็นการสร้างประสิทธิภาพในขั้นตอนของการสำรองข้อมูล ข้อมูลต่างๆที่นำมาเก็บไว้ในระบบ Object Storage นั้นยังคงมีความสำคัญกับธุรกิจ ดังนั้นอุปกรณ์จัดเก็บ Object Storage หรือ Content Platform นี้ต้องมีคุณสมบัติช่วยการปกป้องข้อมูลไปในตัว ช่วยลดระยะเวลาการ downtime

และสามารถตอบสนองข้อกำหนดของช่วงเวลาที่ยอมให้ข้อมูลสูญหาย (Recovery Point Objective) และระยะเวลาที่ยอมรับได้ในการกู้คืนข้อมูล (Recovery Time Objective) ได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้น ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับดิสก์ และเทป ลดค่าใช้จ่ายใน license และเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงค่าใช้จ่ายของการบริหารจัดการ

ขั้นตอนที่ 3: Consolidate more (การผสานรวมให้มากขึ้น) : ระบบ NAS ในปัจจุบันต้องรับศึกหนักจากการเพิ่มจำนวนอย่างมหาศาลของข้อมูล ส่งผลให้จำนวนเซิร์ฟเวอร์ไฟล์เพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมถึงระบบจัดเก็บข้อมูลและระบบสำรองข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วย สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้การใช้งานไม่มีประสิทธิภาพ เพิ่มค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนในการบริหารจัดการ ความจุที่มีอยู่ไม่ได้ถูกนำไปใช้อย่างเต็มที่ ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบหลักช้าลง และอัตราต้นทุนต่อมูลค่าของข้อมูลและระบบจัดเก็บข้อมูลขาดความสมดุล ดังนั้นการผสานรวม (Consolidate) ไปยังระบบ Unified Storage หรือ แพลตฟอร์ม NAS จะทำให้สามารถบริหาร workloads ได้มากขึ้นในระบบที่ซับซ้อนน้อยลง เปลี่ยนจากระบบจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบที่แยกออกจากกันในส่วนต่างๆ (Silo) ไปเป็นระบบบริหารจัดการบูรณาการแบบองค์รวม

ขั้นตอนที่ 4: Distributed IT efficiency (บริหารจัดการประสิทธิภาพไอทีในสาขาต่างๆด้วยกลยุทธ์ด้านไอทีแบบรวมศูนย์) ต้นทุนและความซับซ้อนในการจัดการระบบไอทีในสำนักงานระยะไกล สำนักงานสาขา หรือศูนย์ข้อมูลที่มีอยู่หลายแห่ง ความต้องการในการใช้ข้อมูลที่ตรงกัน และจำนวนเจ้าหน้าที่ไอทีในการดูแลสำนักงานสาขา ถือเป็นความท้าทายสำหรับองค์กรธุรกิจจำนวนมาก การใช้กลยุทธ์ไอทีแบบรวมศูนย์จะช่วยปกป้องข้อมูลขององค์กรซึ่งสามารถทำได้โดยต้องมีคุณสมบัติ ไม่ว่าจะเป็นการทำสำเนาเหมือน (Replication) การกู้คืนข้อมูล และการกู้คืนข้อมูลของไซต์งานจากระยะไกลได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น Hitachi Data Ingestor ที่เป็นโซลูชั่นระบบจัดเก็บข้อมูลแบบไม่ต้องทำการสำรองข้อมูล สามารถดำเนินการควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายลงได้อย่างมาก เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีสำนักงานหลายสาขาเป็นจำนวนมาก (Remote Office Branch Office(ROBO) เช่น ธุรกิจค้าปลีก ระบบธนาคารออนไลน์

ขั้นตอนที่ 5: Enable e-discovery and compliance (เอื้อต่อการปรับใช้ E-Discovery และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ) : เมื่อดำเนินการสี่ขั้นตอนแรกของกลยุทธ์ A-B-C เรียบร้อยแล้ว องค์กรธุรกิจสามารถเพิ่มระบบจัดทำดัชนี ค้นหาและสืบค้นระบบไฟล์และระบบเนื้อหาที่มีอยู่ อาทิ เช่น Hitachi Data Discovery Suite เพื่อให้การค้นหาข้อมูลข้ามแพลตฟอร์ม ได้อย่างง่ายดาย ทั้งในส่วนที่เป็นระบบงาน production และส่วนข้อมูลจัดเก็บเพื่อสืบค้น (Archive) โดยทั้งหมดนี้ดำเนินการผ่านอินเตอร์เฟสเดียวเท่านั้น และเพื่อให้การดูแลรักษาข้อมูลในระยะยาว และการทำลายข้อมูล เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของธุรกิจรวมถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วยการผสานรวมบริการไดเรกทอรีเข้าไว้ในระบบ ซึ่งจะสามารถกำหนดสิทธิ์อนุญาตให้ผู้ใช้ สามารถค้นหาได้เฉพาะข้อมูลที่มีสิทธิ์ดูเท่านั้น

ขั้นตอนที่ 6: Facilitate cloud (รองรับการใช้งานระบบคลาวด์) : แม้ว่าข้อดีของกลยุทธ์ A-B-C จะมีให้เห็นอย่างเด่นชัด แต่องค์กรจำนวนมากก็ยังคงต้องการให้ระบบไอทีของตนมีความคล่องตัวมากขึ้น เพื่อให้สามารถตอบสนองผู้ใช้ในส่วนต่างๆของธุรกิจได้เร็วขึ้นกว่าเดิม ระบบที่รองรับการต่อยอดคลาวด์โซลูชั่น จึงเป็นสุดยอดปรารถนาขององค์กรที่มีความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนเริ่มแรกในการลงทุน องค์กรสามารถมีทางเลือกได้หลากหลายวิธี ตั้งแต่ การริเริ่มลงทุนในเทคโนโลยีและโซลูชั่นคลาวด์ที่องค์กรสามารถบริหารจัดการได้ด้วยตนเอง อีกทางเลือกคือการเลือกใช้บริการที่เปลี่ยนจากการลงทุน (CAPEX) เป็นค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงาน (OPEX) ในรูปแบบ "จ่ายเมื่อใช้งาน" แทน

A-B-C Strategies จึงนับเป็นอีกแนวทางเชิงรุก ที่ทางฮิตาชิฯนำเสนอเพื่อตอบโจทย์องค์กร ด้วยโซลูชั่นการบริหารจัดการข้อมูลไฟล์และเนื้อหา (Files and Contents) จะช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการข้อมูลทั้งแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างได้อย่างครบวงจรชีวิตของข้อมูล ตั้งแต่การสร้าง จัดเก็บ ไปจนถึง การหมดอายุ และการทำลายทิ้งของข้อมูล ด้วยกลยุทธ์ โซลูชั่น และซอฟแวร์บริหารจัดการที่เหมาะสม

อาทิเช่น แพลตฟอร์ม Hitachi Content Platform (HCP) ซึ่งเป็นโซลูชั่นระบบจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ หรือ Object Storage ซึ่งจะสามารถเข้ามาช่วยในจุดเริ่มต้นของ A-B-C Strategies คือ Archive 1st โดย HCP มีคุณสมบัติที่โดดเด่นในการจัดเก็บค้นหา (Archive) การทำเวอร์ชันของเอกสาร (Versioning) การบริหารจัดแบ่งพื้นที่การใช้งาน (Multi-tenancy) การป้องกันข้อมูลด้วยตนเอง (data protection) และรองรับการเรียกค้นข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ (Metadata analysis)

Hitachi Content Platform Anywhere เป็นตัวเลือกหนึ่งของ Hitachi Content Platform โดย HCP Anywhere จะช่วยสนับสนุนการนำอุปกรณ์พกพาของพนักงานเองมาใช้ในที่ทำงาน (Bring Your Own Device - BYOD) หรือการเลือกใช้อุปกรณ์พกพาอื่นๆในการทำงาน (Choose Your Own Device - CYOD) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลของตนได้จากทุกที่ทุกเวลาผ่านทางอุปกรณ์ใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำการสำรองข้อมูลในอุปกรณ์มือถือและแล็ปท็อป และสามารถแชร์ข้อมูลดังกล่าวกับเพื่อนร่วมงานที่อยู่ในบริษัทหรืออยู่นอกบริษัทได้อย่างปลอดภัย โดยผ่านระบบคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) ภายใต้ดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กรเอง ถือเป็นความมั่นคงปลอดภัยระดับ enterprise class

และเมื่อผสานรวม HCP เข้ากับ Hitachi Data Ingestor องค์กรจะสามารถใช้งานระบบจัดเก็บข้อมูลแบบ Edge-to-Core ต่อยอดจากข้อมูลของส่วนกลางไปยังสาขาต่างๆ (Remote Office Branch Office(ROBO))ที่จะช่วยให้ขั้นตอนการสำรองข้อมูลทั้งหมดมีประสิทธิภาพและลดระยะเวลาในการสำรองข้อมูลได้อย่างมาก

โซลูชั่น Hitachi Data Discovery Suite ผู้ใช้จะสามารถค้นหา ระบุ รวบรวม และเก็บรักษาข้อมูลได้ครอบคลุมทั้งโครงสร้างพื้นฐานระบบจัดเก็บข้อมูลจากตำแหน่งที่ตั้งที่ปลอดภัยระดับ 1 เพื่อการบริหารจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และสอดคล้องกับกฏข้อบังคับในข้อมูล

และสุดท้ายโซลูชั่น Hitachi Unified Storage หรือ Hitachi NAS Platform เป็นแพลตฟอร์มแบบผสานรวมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในตลาด ซึ่งพร้อมช่วยองค์กรธุรกิจให้สามารถรวมเซิร์ฟเวอร์ไฟล์ที่มีอยู่เดิมและอุปกรณ์ NAS เข้าไว้ในโหนดเพียงไม่กี่โหนดได้ คุณลักษณะนี้ช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินงานในลักษณะเดิมหรือเพิ่มมากขึ้นด้วยการใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่อย่าง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง รวมทั้งช่วยลดพื้นที่จัดวาง ค่าไฟ และระบบปรับอากาศด้วย

ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เราเชื่อว่า “นวัตกรรม” (Innovation) เป็นเครื่องมือที่จำเป็นอย่างยิ่งของการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก และ “ข้อมูลสารสนเทศ” (Information) ก็คือเชื้อเพลิงสำคัญที่ทำให้เกิดนวัตกรรมนี้ การใช้นวัตกรรมอย่างชาญฉลาด จะทำให้องค์กรสามารถเป็นผู้นำในตลาด สร้างการเติบโต และเปลี่ยนแปลงโลกของเราให้ดียิ่งขึ้น นี่คือเส้นทางที่ ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ มุ่งเน้นที่จะช่วยให้องค์กรท่านสามารถ Innovate with Information ได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest