คอมม์วอลท์ อัพเดท เดือนเมษายน 2558 การควบคุมข้อมูลของคุณด้วยโครงสร้างพื้นฐานระบบคอมพิวเตอร์เสมือน

อังคาร ๒๑ เมษายน ๒๐๑๕ ๑๐:๑๘
ปริมาณข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกทั้งหมดนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในความเป็นจริง ขนาดของข้อมูลอันมหาศาลที่มีอยู่ในโลกมีการเติบโตขยายเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากจนกระทั่งปัจจุบันนี้เราวัดปริมาณจำนวนรวมของข้อมูลเป็นเซตตะไบต์ (ZB) แล้ว ซึ่ง 1 เซตตะไบต์มีขนาดเท่ากับ 1 พันล้านเทราไบต์ (Terabytes) ในปี 2552 การเก็บรวบรวมข้อมูลที่มนุษย์สร้างขึ้นมีขนาดเพียง 0.8 เซตตะไบต์ ในปี 2558 คาดว่าจำนวนดังกล่าวจะสูงกว่าเดิมถึงสิบเท่าโดยมีขนาดถึง 8 เซตตะไบต์ และภายในปี 2563 นักวิเคราะห์มีการคาดการณ์ว่าจำนวนข้อมูลจะมีการขยายสูงถึง 35 เซตตะไบต์ ซึ่งเป็นปริมาณของข้อมูลที่มีมากถึง 44 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2552 ภายในเวลาเพียง 11 ปีเท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีการประมาณการว่าในปี 2563 ข้อมูลกว่าหนึ่งในสามที่ถูกสร้างขึ้นจากทั่วทุกมุมโลกจะมีทั้งในส่วนที่อยู่ในหรือส่งผ่านระบบคลาวด์ บรรดาองค์กรต่างๆ ในอาเซียนก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในของแนวโน้มนี้เช่นกัน มีการประเมินว่าข้อมูลแต่ละองค์กรจะเติบโตอยู่ประมาณร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 50 เมื่อทำการเปรียบเทียบข้อมูลในปีต่อปี ซึ่งร้อยละ 17 มีการคาดการณ์ว่าข้อมูลนี้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50[1]

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีที่เราใช้ในการจัดเก็บ เข้าถึงและควบคุมทิศทางข้อมูลด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ สำหรับองค์กรที่ต้องการคงศักยภาพความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจโดยไม่ต้องทนรับกับค่าใช้จ่ายที่รั่วไหลในด้านการจัดเก็บข้อมูล

หลายองค์กรกำลังมองหาเทคโนโลยีระบบการทำงานแบบเสมือน (Virtualization) และมุ่งหน้าสู่การใช้ประโยชน์จากบริการแบบคลาวด์สำหรับทั้งการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งเป็นหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในขณะที่ยังคงไว้ซึ่งความพร้อมและความสมบูรณ์ของข้อมูล แต่ในขณะที่ระบบการทำงานแบบเสมือนสามารถกำจัดปัญหาเรื่องความซับซ้อนและค่าใช้จ่ายของการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพนั้น การจัดเก็บข้อมูลในเครื่องเสมือนจริง (Virtual Machine) และในระบบคลาวด์อาจสร้างความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของข้อมูล

ในบทความนี้ มร.มาร์ค เบนท์คาวเวอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมระบบ ประจำอาเซียน บริษัท คอมม์วอลท์ ซิสเท็มส์ ได้กล่าวถึงความท้าทายซึ่งเกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบระบบคลาวด์และวิธีการที่องค์กรซึ่งมีระบบและอุปกรณ์ครบครันสามารถใช้ประโยชน์จากเซิร์ฟเวอร์ระบบเสมือนในการควบคุมดูแลข้อมูล

ระบบคลาวด์และระบบการทำงานแบบเสมือน

จำนวนที่เพิ่มขึ้นขององค์กรมีการรวมเอาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศไปไว้ยังระบบคลาวด์แบบส่วนตัวและสาธารณะ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner) ได้มีการคาดการณ์ถึงการใช้บริการคลาวด์สาธารณะว่าจะเติบโตไปถึง 137 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ด้วยอัตราการเติบโตประจำปี (CAGR) ถึงร้อยละ 16.9 ภายในปี 2560 ในขณะที่พื้นที่ความจุของระบบคลาวด์แบบส่วนตัวถูกคาดว่าจะแซงหน้าความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลทั่วโลกถึง 1.5 เท่า (ร้อยละ 60 ถึงร้อยละ 40)

การนำระบบคลาวด์มาใช้ในองค์กรนั้นได้เข้ามาช่วยแบ่งเบาเรื่องของค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนที่เกี่ยวข้องกับความจำเป็นในการบริหารจัดการทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์และทรัพยากรบุคคลที่ต้องมีในการควบคุมจัดการกับปริมาณข้อมูลที่ถาโถมมาพร้อมกันอย่างมหาศาลได้ ซึ่ง ณ ตอนนี้เกินกว่าที่ โครงสร้างพื้นฐานเดิมจะรองรับได้

ระบบการทำงานแบบเสมือน (Virtualization) เป็นตัวแปรที่จะมาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการนำการใช้งานระบบคลาวด์มาใช้ในองค์กรเพื่อเป็นแพลตฟอร์ม และ/หรือเป็นขอบเขตของพื้นที่จัดเก็บข้อมูล ประโยชน์อันน่าทึ่งของการใช้ระบบเซิร์ฟเวอร์แบบเสมือน (Server virtualization) เป็นผลมาจากการประหยัดค่าใช้จ่ายผ่านความยืดหยุ่นทางธุรกิจและความคล่องตัวซึ่งเป็นความสามารถที่มีอยู่ในสถาปัตยกรรมระบบคลาวด์แบบส่วนตัวและสาธารณะอย่างเห็นได้ชัด จากการสำรวจทั่วโลก พบว่าผู้จัดการฝ่ายไอทีเกือบ 9 คนจากทั้งหมด 10 คน เชื่อว่าระบบการจัดการคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine (VM) management) นั้นถือเป็นความเสี่ยงถ้าไม่มีการวางแผนที่เหมาะสม[2] ถูกต้อง และสมบูรณ์ ส่วนความสะดวกในการนำคอมพิวเตอร์เสมือน (VM) แบบใหม่มาใช้นั้นสามารถก่อให้เกิดการขยายตัวของคอมพิวเตอร์เสมือน ซึ่งทำให้เกิดความยืดเยี้อและใช้เวลานานสำหรับผู้ดูแลระบบที่ต้องคอยติดตามการทำงานของคอมพิวเตอร์เสมือน (VM) ชุดใหม่และให้เป็นไปตามนโยบายการปกป้องข้อมูลและการเก็บรักษาข้อมูลขององค์กร

ความจำเป็นในการมองเห็นโครงสร้างพื้นฐานระบบคอมพิวเตอร์เสมือนจริง (Virtualized infrastructure) ทั้งหมดในระบบ

ขณะที่องค์กรส่วนใหญ่ไม่มีการนำเครื่องมือการบริหารจัดการคอมพิวเตอร์เสมือนมาใช้งานในสภาพแวดล้อมของระบบเสมือน แต่เครื่องมือในการสำรองข้อมูล (Backup) และการกู้คืนข้อมูล (Recovery) ของเครื่องเสมือนจริงยังถือเป็นมาตรฐานที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสร้างความมั่นใจให้ความต่อเนื่องทางธุรกิจ นอกจากนี้ การเพิ่มกระบวนการอัตโนมัติต่างๆ ที่ขับเคลื่อนและกำหนดโดยนโยบายเข้ากับเครื่องมือการสำรองข้อมูลและการกู้คืนที่มีอยู่แล้วบนแพลตฟอร์มเฉพาะตัวนั้นทำให้ง่ายสำหรับองค์กรที่จะขจัดการเพิ่มจำนวนการขยายตัวของคอมพิวเตอร์เสมือน

อย่างไรก็ตาม ด้วยความพร้อมในปัจจุบันของการมีเครื่องมือเฉพาะสำหรับแต่ละลักษณะงานและซอฟต์แวร์ด้านการบริหารจัดการในตลาดได้เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการการสำรองและกู้คืนข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์เสมือน (VM backup and recovery) รวมถึงการนำเสนอการจัดการระบบคลาวด์ที่สมบูรณ์มากขึ้นไปในเวลาเดียวกัน เพื่อเป็นการช่วยให้องค์กรบรรลุถึงความคล่องตัวมากขึ้นในการใช้โครงสร้างพื้นฐานคอมพิวเตอร์เสมือนจริงในสภาพแวดล้อมแบบระบบคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า จึงพึงควรคำนึงถึงข้อควรปฏิบัติพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine management) ทั้ง 3 ข้อดังนี้

1. เลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับลักษณะงาน

คอมพิวเตอร์เสมือน (VM) ทุกชุดไม่ได้ถูกสร้างขึ้นในลักษณะเดียวกัน ฉะนั้นจึงไม่สามารถที่จะช่วยปกป้องได้เหมือนกันทุกประการ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญยิ่งต่อองค์กรที่จะเลือกวิธีการปกป้องข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าสุดเพื่อตอบโจทย์เรื่องการกู้คืนข้อมูล (Recovery) วิธีการสำรองข้อมูลของเครื่องเสมือนจริง (VM backup) มีหลายวิธีที่สอดคล้องกับการใช้งานแต่ละกรณี อย่างเช่น การใช้งานการสำรองข้อมูลแบบสตรีมมิ่งโดยไม่ต้องใช้เอเจ้นต์ (Agentless streaming backups) ฮาร์ดแวร์ สแน็ปชอต (Hardware snapshots) การโอนย้ายเครื่องเสมือนจริง (VM replication) ระบบขจัดข้อมูลซ้ำแบบองค์รวม (Global deduplication)การโอนย้ายข้อมูลโดยขจัดข้อมูลซ้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเครือข่าย WAN (WAN accelerated dedupe-aware replication) และอื่นๆ ดังนั้นบริษัทควรมองหาโซลูชันที่สามารถปรับสมดุลระหว่างค่าใช้จ่ายและความจำเป็นในการบริหารจัดการกับการกู้คืนข้อมูล VM รวมถึงการความจำเป็นเก็บรักษาข้อมูล ซึ่งทางที่ดีนั้นควรจะดำเนินการภายใต้วิธีการเพียงหนึ่งเดียวที่สามารถปรับขยายขีดความสามารถให้เหมาะสมกับแต่ละข้อกำหนดและความต้องการนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

2. การลด การนำกลับมาใช้ใหม่ และการเรียกคืนทรัพยากร VM

องค์กรจะได้รับประโยชน์จากการลงทุนในระบบ VM โดยการควบคุมการแพร่กระจายของข้อมูลที่มีจำนวนมากขึ้นของ VM การบริหารจัดการต้นทุนในการซื้อซอฟต์แวร์ และการลดค่าใช้จ่ายทางด้านฮาร์ดแวร์ นอกจากนี้นโยบายการควบคุมดูแลที่เหมาะสมยังสามารถกำหนดทั้งวิธีการที่ VM ถูกสร้างขึ้นและปริมาณของทรัพยากรที่ถูกใช้ ทีมผู้ดูแลระบบไอทียังสามารถจัดการกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำในรูปแบบอัตโนมัติได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้ใช้ก็สามารถกำหนดวงจรการทำงานของ VM ได้ ส่วนระบบ VM ที่มีข้อมูลสำคัญจัดเก็บอยู่แต่ยังอยู่ในสถานะที่ไม่มีการใช้งาน (inactive) สามารถดำเนินการต่างๆ ได้ เช่น การสำรองข้อมูลเก็บไว้ การจัดเก็บคลังอาร์ไคฟ์หรือการลบออกได้อย่างปลอดภัยสำหรับการเรียกคืนในภายหลังได้หากจำเป็น ทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มพื้นที่ที่สำคัญในส่วนหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยความจำ การจัดเก็บข้อมูล และทรัพยากรเครือข่ายที่จะช่วยปรับปรุงการใช้ประโยชน์โดยรวมของโครงสร้างพื้นฐานคอมพิวเตอร์เสมือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. สร้างระบบคลาวด์ส่วนตัวหรือไฮบริดในแบบที่ต้องการ

การบริหารจัดการทรัพยากรระบบคลาวด์ให้อยู่ในรูปแบบอัตโนมัติทำให้ธุรกิจสามารถเพิ่มความคล่องตัวและความยืดหยุ่นได้ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการสำหรับการจัดเตรียม การบริหารจัดการ การปกป้อง และการปลดประจำการระบบ VM ซึ่งธุรกิจนั้นๆ สามารถปรับปริมาณงาน VM ที่นำมาใช้ได้อย่างรวดเร็วบนหลากหลายระบบการทำงานแบบเสมือนและแพลตฟอร์มคลาวด์ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์จากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการกู้ข้อมูลคืนกรณีเกิดความเสียหายจากภัยพิบัติ (Disaster recovery) ได้เร็วขึ้นและง่ายขึ้น พร้อมทั้งลดความซับซ้อนในกระบวนการพัฒนาแอพลิเคชั่นและการทดสอบการเรียกคืนทรัพยากรที่อาจไม่ได้มีการใช้งาน

ในขณะที่องค์กรนำระบบคลาวด์ส่วนตัวและไฮบริดมาใช้เพื่อเพิ่มความคล่องตัวทางธุรกิจนั้น คอมม์วอลท์ ซิมพานา โซลูชั่น เซต ชุดใหม่ (CommVault Simpana Solution Set) สามารถเพิ่มความเร็วในการนำระบบคลาวด์มาใช้ รวมไปถึงการทำศูนย์ข้อมูลให้ทันสมัยขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการส่งมอบนวัตกรรมซอฟต์แวร์เจเนอเรชั่นถัดไป ซึ่งชุดโซลูชั่นจะช่วยให้ผู้ดูแลระบบเครื่องเสมือนและผู้ใช้สามารถสร้าง ปกป้อง และเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ ด้วยการรองรับความสามารถในการเข้าถึงแบบบริการด้วยตนเองและการทำงานแบบเคลื่อนที่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การนำกลยุทธ์ระบบการทำงานแบบเสมือนจริงสำหรับการทำงานในสภาพแวดล้อมแบบคลาวด์ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่ายเสมอไป แต่ถ้ามีการบริหารจัดการอย่างถูกต้องด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมแล้วองค์กรจะสามารถปกป้อง บริหารจัดการ และเพิ่มมูลค่าของข้อมูลทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและง่ายขึ้นท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของข้อมูลและการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ถาโถมเข้ามา ในขณะเดียวกันกับการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น

เผยแพร่โดย

บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด

โทร. 02 260 5820

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4