นักวิทยาศาสตร์รัสเซียนำเสนอความก้าวหน้าครั้งสำคัญ กับการคิดค้นระบบปกป้องวัตถุด้วยเทคโนโลยีควอนตัม

พุธ ๒๙ เมษายน ๒๐๑๕ ๐๘:๔๐
จุดอ่อนที่สุดของระบบการชำระเงินผ่านบัตรในปัจจุบันนี้คือตัวบัตรชำระเงินเอง เนื่องด้วยข้อมูลที่เข้ารหัสบนบัตรชำระเงินได้ถูกเก็บรวมกันอยู่ในแถบแม่เหล็กและชิปอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีระบบความปลอดภัยที่เปิดช่องให้สามารถเจาะข้อมูลได้ง่ายด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกหลากหลายรูปแบบ

(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20150428/740805-a )

(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20150428/740805-b )

อย่างไรก็ดี บัตรชำระเงินที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่นั้นเป็นแผ่นพลาสติกสีขาวที่ไม่มีแถบแม่เหล็ก ชิป หรือส่วนประกอบอื่นใดที่ใช้กันโดยทั่วไปในการเข้ารหัสข้อมูลอิเล็กทรอนิก

ในระหว่างกระบวนการผลิตบัตรแบบใหม่นี้ วัสดุขนาดนาโนที่สามารถดูดซับพลังงานเป็นวงกว้างและแผ่รังสีในแถบสีที่มองเห็นได้จะถูกผสมด้วยเม็ดพอลิเมอร์ ซึ่งหนึ่งในสสารดังกล่าว ได้แก่ จุดควอนตัม นอกจากนี้ นักประดิษฐ์ผู้นี้ยังได้สร้างอุปกรณ์สำหรับการผลิตจุดควอนตัมในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถต้านทานสภาพแวดล้อมที่รุนแรงได้

โดยในขั้นตอนการหลอมมวลพลาสติก จุดควอนตัมจะถูกกระจายปนไปกับของเหลวที่หลอมละลาย และดังนั้นจึงไม่สามารถทำซ้ำได้ หลังจากที่บัตรชำระเงินแบบใหม่ถูกผลิตขึ้น ค่าตำแหน่งเชิงพื้นที่ของจุดควอนตัมแต่ละจุดจะถูกบันทึกเพื่อจัดเก็บบนเซิร์ฟเวอร์ที่มีความปลอดภัย เมื่อบัตรถูกสแกนและพบว่าแบบรูปเรขาคณิตของบัตรชำระเงินตรงกับแบบที่เก็บอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ตั้งแต่แรก บัตรจึงจะได้รับการรับรองว่าเป็นของจริง

วิธีการปกป้องเช่นนี้อาจสามารถเรียกได้ว่าสมบูรณ์อย่างแท้จริง

ถึงแม้ใช้กล้องจุลทรรศน์พลังงานปรมาณูร่วมสมัยมาช่วย แต่จากการคำนวณพบว่า การทำจุดควอนตัมซ้ำในปริมาณเดียวกันสำหรับเอกสารขนาดเท่าบัตรเครดิตนั้นอาจจะต้องใช้ระยะเวลานานมากจนเกือบไม่มีที่สิ้นสุด

เทคโนโลยีควอนตัมยังช่วยเปิดยุคใหม่แห่งการปกป้องหนังสือเดินทาง ซึ่งเป็นเอกสารระบุสัญชาติ โดยข้อมูลประชากรโลกทั้งหมดจะถูกเก็บไว้อย่างง่ายดายบนเซิร์ฟเวอร์ที่มีความปลอดภัย นับเป็นอีกก้าวสู่การรวมมาตรฐานและกระบวนการต่างๆให้มีความสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกันทั่วโลก

สำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐได้บันทึกวันยื่นคำขอครั้งแรกของการประดิษฐ์นี้ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งภายใต้กฎของ WTO ว่าด้วยการทำให้สิทธิบัตรเป็นเอกรูปนั้นให้ถือว่าวันนี้เป็นวันที่อาจถือสิทธิย้อนหลังในเขตอำนาจของ 142 ประเทศ

ผู้เชี่ยวชาญหลายรายในวงการทรัพย์สินทางปัญญาต่างออกมาแสดงความคิดเห็นว่า การประดิษฐ์นี้อาจถือได้ว่าเป็นการประดิษฐ์แห่งศตวรรษ

ทั้งนี้ ระบบต้นแบบที่ทำงานได้อย่างเต็มรูปแบบนั้นได้ถูกสร้างขึ้นแล้ว โดยรวมถึงเครื่องอ่านและหน่วยประมวลผลกลาง

นักประดิษฐ์ผู้นี้ คือ วิกเตอร์ เพทริก ซึ่งเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์และนักลงทุนที่น่าพิศวงที่สุดในสมัยปัจจุบัน วิกเตอร์ เพทริก มีผลงานการค้นพบทางวิทยาศาสตร์สี่รายการ เป็นผู้เขียนเอกสารทางวิทยาศาสตร์สองฉบับ และเป็นผู้ประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์หลายชิ้นซึ่งมีสิทธิบัตรคุ้มครองใน 52 ประเทศทั่วโลก

http://youtu.be/fKUh-ehEsLA

ติดต่อ

Press service: Timofey Khrilev

อีเมล: [email protected]

โทร: +79119299539

ที่มา Communication Agency Phoenix3000, Victor Petrik press service

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4