SIPA ดันอุตฯ ซอฟต์แวร์บุกตลาด AEC เผยตัวเลขตลาดรวม IT ปี 58 โตกว่า54,527ล้านบาท

อังคาร ๒๖ พฤษภาคม ๒๐๑๕ ๑๖:๔๗
นายปริญญา กระจ่างมล รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ องค์การมหาชน (SIPA) เปิดเผยว่า ในขณะนี้หน่วยงานซิป้าได้เร่งเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการด้านไอที ซอฟต์แวร์ทั่วประเทศ เพื่อรุกตลาดเสรีอาเซียนที่เกิดขึ้นในปลายปีนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความรู้ด้านการคุ้มครองลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เพื่อรับการแข่งขันไม่เสียเปรียบคู่แข่งและพร้อมรับมือตลาดอย่างเท่าทัน คาดว่าอนาคตข้างหน้าปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา คงจะเข้มข้นขึ้น ในขณะที่ตลาดรวมด้านไอทีซอฟต์แวร์ก็มีการขยายตัวต่อเนื่องโดยปีนี้โตกว่า 10% มีมูลค่าตลาดมากถึง 54,527 ล้านบาท

ทั้งนี้เพื่อเสริมความรู้ผู้ประกอบการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดงานสัมมนา “เปิดแนวรุกบุกตลาดAEC ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือบริการซอฟต์แวร์ หรือผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ผลิตภัณฑ์หรือบริการซอฟต์แวร์

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้ความสำคัญเรื่องการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญา หรือ Intellectual Property (IP) โดยจะพยายามดำเนินการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งเป้าผลักดัน สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ บนฐานเศรษฐกิจดิจิตอล ขับเคลื่อนประเทศให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จึงได้จัดสัมมนา เรื่อง “เปิดแนวรุกบุกตลาด AEC ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา” ขึ้น 4 ครั้งทั่วประเทศครบทุกภาค ที่ผ่านมาได้จัดขึ้น 2 ครั้งแล้วที่ จังหวัดขอนแก่นและ ภูเก็ต ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดี มีภาคเอกชน นิสิต นักศึกษา เข้าฟังเต็มพื้นที่ทุกรอบ ล่าสุดจัดที่เชียงใหม่เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2558 ประสบความสำเร็จมีทั้งนักศึกษา ผู้ประกอบการด้านไอที ซอฟท์แวร์เข้าร่วมงานเต็มพื้นที่กว่า 80 คนที่โรงแรมเมอริเดี่ยน เชียงใหม่ และจะเปิดสัมมนาอีกครั้งในวันที่ 26 พฤษภาคม 2558 ณ ห้อง ฟอร์จูน ชั้น 3 โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพมหานคร

นายปริญญา กระจ่างมล รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) เปิดเผยถึง10 ข้อสำหรับผู้ประกอบการว่า เรื่องน่ารู้ที่ผู้ที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ควรทราบ และอาจถือเป็นแนวทางในการประกอบธุรกิจต่อไป ดังนี้1. ซอฟต์แวร์เป็นงานวรรณกรรมที่ได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องจดทะเบียนแต่มีระบบแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา 2. แนวความคิดในการทำงานของซอฟต์แวร์ (function/feature) ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ 3. ซอฟต์แวร์ไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายสิทธิบัตร 4. Source code สามารถได้รับคุ้มครองโดยทั้งกฎหมายลิขสิทธิ์และกฎหมายความลับทางการค้า 5. นายจ้างและผู้ว่าจ้างมีสิทธิในการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต่างกัน 6. การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในซอฟต์แวร์ หากมีการกำหนดให้เปิดเผยหรือส่งมอบ source code ควรมีข้อกำหนดเรื่องการรักษาความลับให้ชัดเจน 7. การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในซอฟต์แวร์ ย่อมไม่ตัดสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธินั้นได้ด้วย ลิขสิทธิ์ที่มีลักษณะเป็นทรัพย์สินที่สามารถจำหน่ายจ่ายโอน หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิได้ อีกทั้งยังเป็นสิทธิที่แบ่งแยกได้ ประเภทของสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในซอฟต์แวร์จึงมีหลากหลายประเภทโดยขึ้นอยู่กับเจตนาของคู่สัญญาเป็นหลัก 8. ควรระลึกอยู่เสมอว่าซอฟต์แวร์แทบทุกชนิดเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ 9. แบรนด์หรือโลโก้ ที่ใช้เรียกซอฟต์แวร์ควรนำไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า 10. การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศมีความจำเป็นสำหรับซอฟต์แวร์ที่ต้องการนำไปอนุญาตให้ใช้ต่อ(license)ในต่างประเทศ

เรื่องน่ารู้ทั้ง 10 ข้อนี้เป็นเพียงข้อคิดเบื้องต้นในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ปัจจุบัน สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนบางครั้งความคุ้มครองตามกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจไม่สามารถครอบคลุมได้ครบถ้วนทุกประเด็น บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ ภาครัฐ และนักกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาควรมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อติดตามข่าวสารและหาหนทางร่วมกันในการป้องกันและเยียวยาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้