หัวเว่ยเปิดสถาบันวิจัยแห่งยุโรป เร่งเครื่องรองรับยุคดิจิทัล

จันทร์ ๑๕ มิถุนายน ๒๐๑๕ ๑๖:๓๑
หัวเว่ย เปิดตัวสถาบันวิจัยแห่งยุโรป (European Research Institute หรือ ERI) ในเมืองเลอเวิน ประเทศเบลเยี่ยม อีกหนึ่งก้าวย่างสำคัญด้านกลยุทธ์นวัตกรรมระดับโลกของบริษัท โดยสถาบันแห่งนี้จะเป็นเครื่องมือหลักที่จะช่วยให้ยุโรปก้าวไปสู่เป้าหมายตามวาระดิจิทัลที่ตั้งไว้ และยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างหัวเว่ยและผู้ประกอบการต่างๆ ในยุโรปให้แน่นแฟ้นขึ้นอีกด้วย

สถาบันแห่งนี้จะทำหน้าที่บริหารหน่วยงานด้าน R&D ทั้งหมดของหัวเว่ยในยุโรป ครอบคลุมศูนย์ R&D ทั้ง 18 แห่งซึ่งตั้งกระจายอยู่ใน 8 ประเทศ โดยจะเน้นไปที่การวิจัยเทคโนโลยีเครือข่ายแห่งยุคหน้า ปัจจุบัน หัวเว่ยมีพนักงานด้าน R&D ในยุโรปมากกว่า 1,200 คน “ยุโรปมีสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมที่เพียบพร้อม และเป็นศูนย์กลางด้านความสามารถในการแข่งขันระดับโลกสำหรับหัวเว่ย ERI จะทำหน้าที่บริหารการวิจัยและงานนวัตกรรมต่างๆ และกระชับความร่วมมือของบริษัทกับพันธมิตรและสถาบันการศึกษาต่างๆ ในยุโรปด้วย” มร. กั๋ว ผิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าว “ในขณะที่ดิจิทัลกำลังปรับเปลี่ยนธุรกิจให้ก้าวสู่ความเป็นดิจิทัล หัวเว่ยก็กำลังทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุค “ยุโรป 4.0” เป็นไปอย่างราบรื่น กลายเป็นชุมชนดิจิทัลแห่งอนาคตที่ทุกคนและทุกสิ่งจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เป้าหมายของเราคือช่วยให้ยุโรปเติบโตขึ้นอย่างชาญฉลาดและมีการเชื่อมโยงสื่อสารระหว่างกันได้ดีขึ้น”

สถาบัน ERI จะรองรับโครงการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ของหัวเว่ยที่กำลังดำเนินการอยู่ในยุโรป และในฐานะที่เป็นสมาชิกของโครงการวิจัย 5G หลายแห่ง อาทิ METIS และ 5G-PPP ในยุโรป หัวเว่ยจึงทำงานร่วมกับพันธมิตรต่างๆ เพื่อค้นหานวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยในขณะนี้ บริษัทกำลังดำเนินการวิจัยร่วมด้านเครือข่ายเคลื่อนที่ในอนาคต และกำลังทดสอบเทคโนโลยี 5G ที่ศูนย์นวัตกรรม 5G ในมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ สหราชอาณาจักร นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวระบบ 5G Vertical Industry Accelerator (5G VIA) และทำการทดสอบเทคโนโลยี 5G ร่วมกับพันธมิตรหลายรายในมิวนิค เยอรมนี เพื่อสร้างแบบจำลองที่เหมือนจริงในอุตสาหกรรม และทำให้การใช้งานเทคโนโลยี 5G เป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น

สถาบันวิจัยแห่งนี้จะบริหารงานโดยดร. โจว หง ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลงานวิจัยและพัฒนา การสร้างมาตรฐาน และความร่วมมือด้านเทคนิคทั้งหมดของหัวเว่ยมาตั้งแต่ปี 2556 และมีดร. วอลเตอร์ ไวเกิล อดีตผู้อำนวยการทั่วไปของสถาบันกำหนดมาตรฐานด้านโทรคมนาคมแห่งยุโรป (ETSI) ดำรงตำแหน่งรองประธานสถาบันวิจัย และเนื่องจากเมืองเลอเวินมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับสถาบันและองค์กรพันธมิตรต่างๆในยุโรป ทำให้หัวเว่ยตัดสินใจเลือกเมืองดังกล่าวเป็นสถานที่ยุทธศาสตร์สำหรับการตั้งศูนย์กลางวิจัยและพัฒนาแห่งใหม่นี้

การเปิดตัวสถาบันแห่งใหม่นี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของหัวเว่ยที่จะลงทุนในยุโรป หัวเว่ยเริ่มดำเนินธุรกิจในยุโรปมาตั้งแต่ปี 2543 โดยในปี 2556 มีพนักงาน 9,900 คน และในปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านเทคนิคร่วมกับพันธมิตรในยุโรปกว่า 200 ฉบับ และเข้าร่วมในโครงการ Framework Programme and Horizon 2020 อีก 17 โครงการ และยังมีการประสานงานกับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในยุโรปอีกกว่า 160 ราย รวมไปถึงสถาบันการศึกษาอีกกว่า 120 แห่ง

ผู้สนใจสามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.huawei.com หรือติดตามความเคลื่อนไหวของหัวเว่ยได้ทาง

http://www.linkedin.com/company/Huawei

http://www.twitter.com/Huawei

http://www.facebook.com/Huawei

http://www.google.com/+Huawei

http://www.youtube.com/Huawei

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4