แคสเปอร์สกี้ แลป เผย ภัยโมบายแบงก์กิ้งมาแรง ติดโผ Top 10 ภัยการเงินไซเบอร์เป็นครั้งแรกในประวัติการณ์

ศุกร์ ๑๕ มกราคม ๒๐๑๖ ๐๙:๒๕
รายงานรวบรวมสถิติด้านความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ แลป ประจำปี 2015 ระบุเทรนด์ใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก นั่นคือ ภัยคุกคามการเงินโมบายติดโผหนี่งในสิบโปรแกรมมุ่งร้ายที่ออกแบบเพื่อขโมยเงิน โทรจันโมบายสองตระกูล คือ Faketoken และ Marcher จัดอยู่ในท็อปเท็นแบงก์กิ้งโทรจันปี 2015 ด้วย นอกจากนี้ ยังมีเทรนด์ที่ควรจับตาเฝ้าระวังคือการแพร่กระจายของแรนซัมแวร์ ทั้งหมดนี้คือสถิติการตรวจจับทั้งหมดโดยแคสเปอร์สกี้ แลป ครอบคลุมประเทศและอาณาเขตต่างๆ กว่า 200 แห่งทั่วโลก

การเติบโตของภัยคุกคามการเงินโมบาย

ในปี 2015 โมบายแบงก์กิ้งโทรจันสองตระกูล คือ Faketoken และ Marcher ได้ปรากฏตัวและจัดอยู่ในท็อปเท็นมัลแวร์ทางการเงิน โดย Marcher จะขโมยรายละเอียดการจับจ่ายใช้สอยผ่านแอนดรอยด์ดีไวซ์ สำหรับ Faketoken จะทำงานร่วมกับโทรจันในคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะถูกหลอกให้ติดตั้งแอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน แต่ที่จริงแล้วเป็นโทรจันที่คอยดักจับรหัสยืนยันการทำธุรกรรมทางการเงิน เมื่อดีไวซ์ติดเชื้อ Marcher จะแกะรอยแอพพลิเคชั่นโมบายแบงก์กิ้งสองตัว นั่นคือ European Bank และ Google Play จากนั้นจะแสดงหน้าจอปลอมเพื่อขอข้อมูลบัตรเครดิตเพื่อส่งต่อให้แก๊งต้มตุ๋น

ยูริ นาเมสนิคอฟ นักวิจัยอาวุโสด้านความปลอดภัย ทีมวิเคราะห์และวิจัยระดับโลก แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า "ในปี 2015 อาชญากรไซเบอร์ทุ่มเทเวลาและทรัพยากรในการพัฒนาโปรแกรมกลโกงการเงินสำหรับโมบายดีไวซ์ เพราะในปัจจุบันมีผู้ใช้จำนวนหลายล้านคนทั่วโลกที่ใช้สมาร์ทโฟนในการจ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการ จากเทรนด์ในปีที่แล้ว เราสามารถคาดการณ์เทรนด์ปี 2016 ได้ นั่นคือ มัลแวร์โมบายแบงกิ้งจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอีก"

แต่กระนั้น อาชญากรรมไซเบอร์ด้านการเงินแบบดั้งเดิมก็ไม่ได้ลดจำนวนลงเลย ในปี 2015 โซลูชั่นของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถบล็อกการพยายามขโมยเงินผ่านระบบออนไลน์แบงก์กิ้งและคอมพิวเตอร์จำนวนเกือบสองล้านครั้ง (1,966,324 ครั้ง) เพิ่มขึ้นจากปี 2014 จำนวน 2.8% (1,910,520 ครั้ง)

มัลแวร์ Zeus หล่นบัลลังก์

มัลแวร์ Zeus เป็นมัลแวร์ที่มีการแพร่กระจายมากที่สุด แต่กลับถูกแทนที่ด้วยมัลแวร์รุ่นใหม่อย่าง Dyre/Dyzap/Dyreza ในปี 2015 เหตุการณ์โจมตีจากโทรจันแบงก์กิ้งกว่า 40% เป็นผลมากจากมัลแวร์ Dyreza ที่ใช้วิธีการแพร่กระจายเชื้อผ่านเว็บไซต์เพื่อขโมยข้อมูลและเข้าถึงระบบออนไลน์แบงก์กิ้ง

เทรนด์หลักอื่นๆ ในปี 2015

• อาชญากรไซเบอร์เปลี่ยนจากการโจมตีมัลแวร์เป็นการเพิ่มความรุนแรงในการแพร่กระจายแอดแวร์ เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกพิจารณาคดีอาญาจากคดี ในปี 2015 ที่ผ่านมา แอดแวร์ติดอันดับ 12 จาก 20 ภัยคุกคามผ่านเว็บ โปรแกรมการโฆษณาถูกลงทะเบียนในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้จำนวน 26.1%

• แคสเปอร์สกี้ แลป สังเกตเห็นเทคนิคใหม่ในการทำเอ็กพลอต์ เชลล์โค้ด และเพย์โหลด เพื่อให้การตรวจจับและวิเคราะห์โค้ดได้ยากขึ้น นอกจากนี้ อาชญากรไซเบอร์ได้ใช้โปรโตคอลการเข้ารหัส Diffie-Hellman และปกปิดเอ็กพลอต์ในไฟล์แฟลช

• อาชญากรไซเบอร์ใช้เทคโนโลยี Tor anonymization ในการซ่อนเซิร์ฟเวอร์คำสั่ง และใช้บิตคอยน์ในการทำธุรกรรมการเงิน

แรนซัมแวร์คือฝันร้ายระดับโลก

ในปี 2015 แรนซัมแวร์ขยายแพลตฟอร์มใหม่อย่างรวดเร็ว การโจมตีแรนซัมแวร์จำนวนหนึ่งในหก (17%) พุ่งเป้าที่ดีไวซ์ระบบแอนดรอยด์ ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ แลป ระบุเทรนด์แรนซัมแวร์ที่เด่นสองรายการ อย่างแรกคือจำนวนผู้ใช้ที่ถูกโจมตีโดยการเข้ารหัสเพิ่มสูงขึ้นถึง 180,000 ราย คิดเป็น 48.3% เมื่อเทียบกับปี 2014 อย่างที่สองคือโปรแกรมการเข้ารหัสมีลักษณะเป็นมัลติโมดูลและมีฟังก์ชั่นที่ออกแบบเพื่อขโมยข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของเหยื่อโดยเฉพาะ

สถิติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ แลป ในปี 2015

• สามารถบล็อกการพยายามปล่อยมัลแวร์ที่มีความสามารถในการขโมยเงินจากบัญชีธนาคารออนไลน์ในเครื่องคอมพิวเตอร์กว่าสองล้านเครื่องทั่วโลก สูงกว่าปี 2014 ถึง 2.8%

• ตรวจจับวัตถุต้องสงสัยและมุ่งร้ายจำนวน 4 ล้านรายการ สูงกว่าปี 2014 ที่มี 1.84 ล้านรายการ

• คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดไดรฟ์ และอุปกรณ์ที่ถอดเคลื่อนย้ายได้จำนวนสองในสาม (67.7%) ของผู้ใช้ในเน็ตเวิร์ก KSN ใน 20 ประเทศ มีวัตถุมุ่งร้ายในเครื่องอย่างน้อยหนึ่งรายการ สูงขึ้นกว่าปี 2014 ถึง 58.7%

• ตรวจจับวัตถุต้องสงสัย (สคริปต์ เอ็กพลอต์ ไฟล์สั่งการ และอื่นๆ) จำนวน 1.2 พันล้าน น้อยกว่าปี 2014 1.4%

ภูมิศาสตร์ของการโจมตีออนไลน์

ประเทศที่เป็นแหล่งเพาะมัลแวร์ในทรัพยากรออนไลน์สามอันดับแรกเหมือนกับปี 2014 นั่นคือ สหรัฐอเมริกา (24.2%) เยอรมนี (13%) และเนเธอร์แลนด์ (10.7%) ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่าอาชญากรไซเบอร์นิยมใช้บริการโฮสติ้งในประเทศที่มีการพัฒนาโฮสติ้งที่ดี

ท่านสามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่

https://securelist.com/analysis/kaspersky-security-bulletin/73038/kaspersky-security-bulletin-2015-overall-statistics-for-2015

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?