แซส ร่วมกับ ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ มุ่งเขียนโปรแกรมด้วยภาษาของแซส

จันทร์ ๑๔ มีนาคม ๒๐๑๖ ๐๙:๓๓
แซส เดินหน้าสนับสนุนการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี SAS ผ่านโครงการอบรม SAS Programming : Essential โดยร่วมกับภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้นิสิตนักศึกษามีทักษะในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาของแซส เพื่อสร้างบัณฑิตให้สามารถแข็งขันได้ในอาเซียน และเพิ่มโอกาสในการร่วมงานกับบริษัทที่หลายคนใฝ่ฝัน ในยุคที่มีความต้องการนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลในตลาดแรงงานสูง

บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้นำในตลาดซอฟต์แวร์และบริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ (Business Analytics) ด้วยโซลูชั่นเชิงนวัตกรรมที่ให้ลูกค้าในรูปของ Integrated Framework และเทคโนโลยีสำหรับการรวบรวมข้อมูล เดินหน้าสนับสนุนภาคการศึกษา โดยร่วมกับภาควิชาสถิติคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า การสนับสนุนการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีSAS ผ่านโครงการฝึกอบรม SAS Programming 1 : Essential ให้กับนักศึกษาภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และความเข้าใจถึงความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในยุคที่ข้อมูลมีปริมาณมหาศาล และองค์กรต่าง ๆ มีความต้องการนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ซึ่งเป็นไปตามทิศทางแนวโน้มของโลกในยุคที่องค์กรธุรกิจถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลปริมาณมหาศาล และต้องแข่งขันกันที่บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในทุก ๆ ธุรกิจ

สำหรับการจัดโครงการฝึกอบรม SAS Programming 1 : Essential ณ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สุวาณี สุรเสียงสังข์ หัวหน้าภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้นิสิตได้ให้ความสนใจในการสมัครเข้าร่วมอบรมในโครงการ ฯ เป็นจำนวนมาก

ดร.สุวาณี สุรเสียงสังข์ หัวหน้าภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โครงการอบรม SAS programming 1 : Essential มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาของแซสให้กับนิสิตระดับปริญญาตรี และปริญญาโทของภาควิชา ฯ ผ่านการอบรมระยะเวลา 3 วัน โดยมี อ.ดร.วัชรา จันทาทับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัชพงศ์ ตั้งมณี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์มณี รัตนวิชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์เจ้า มงคลนาวิน และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุภาพ สมบูรณ์สวัสดี เป็นคณาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ นิสิตที่เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 จำนวน 15 คน นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 จำนวน 45 คน นิสิตปริญญาโท หลักสูตร วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ) จำนวน 3 คน และนิสิตปริญญาโท หลักสูตร วท.ม. (ประกันภัย) จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 70 คน ซึ่งเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยวิทยากรจาก บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด

ดร.สุวาณี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับประโยชน์ที่โครงการ ฯ คาดว่าจะได้รับ คือ นิสิตนักศึกษามีทักษะในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาของแซส ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการแข่งขันของบัณฑิตของภาควิชา ฯ และนิสิตสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปต่อยอดในด้านการจัดการข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๕๙ ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม
๒๐:๓๑ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒๐:๕๒ Vertiv เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ไมโครโมดูลาร์รุ่นใหม่ที่มี AI ในเอเชีย
๒๐:๐๙ พิธีขึ้นเสาเอก เปิดไซต์ก่อสร้าง โครงการ แนชเชอแรล ภูเก็ต ไพรเวท พูลวิลล่า บ้านเดี่ยวบนทำเลทองใจกลางย่านเชิงทะเล
๒๐:๔๖ เขตบางพลัดประสาน รฟท.-กทพ. ปรับภูมิทัศน์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าสถานีรถไฟบางบำหรุ
๒๐:๕๘ ร่วมแสดงความยินดีแก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๒๐:๐๓ กทม. เดินหน้าจัดกิจกรรมริมคลองโอ่งอ่าง ส่งเสริมอัตลักษณ์ กระตุ้นเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยว
๒๐:๔๙ พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พาคุณไปสัมผัสการนวดเพื่อสุขภาพจาก 4 ภูมิภาคของไทย
๒๐:๒๔ Digital CEO รุ่นที่ 7 เรียนรู้เข้มข้นต่อเนื่อง จากวิทยากรชั้นนำของวงการ
๒๐:๒๔ เด็กไทย คว้ารางวัลระดับโลก โดรนไทย ชนะเลิศนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านอากาศยานไร้คนขับ UAV ณ กรุงเจนีวา