นักวิชาการ CMMU ชี้ หลักการตลาดแบบเดิมไม่เพียงพออีกต่อไปในตลาดยุคดิจิทัล พร้อมเผย 3i ที่นักการตลาดยุคใหม่ห้ามมองข้าม

พฤหัส ๐๗ กรกฎาคม ๒๐๑๖ ๑๑:๕๐
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เผย "นวัตกรรมสามประสาน (3i)" สามปัจจัยที่นักการตลาดทุกคนต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคนวัตกรรมและเทคโนโลยี ได้แก่ นวัตกรรมในการพัฒนาสินค้าและบริการ (iProduct & Service) นวัตกรรมและภาพรวมทิศทางการตลาด (iMarket) และนวัตกรรมที่ส่งผลต่อช่องทางการทำธุรกิจ (iChannel) ทั้งนี้ ในยุคปัจจุบัน นักการตลาดหรือผู้ทำธุรกิจอาจต้องศึกษารูปแบบความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคและการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งจะส่งผลต่อรูปแบบการตลาดที่อาจเปลี่ยนแปลงไปจากแนวคิดในอดีต

ทั้งนี้ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ได้จัดสัมมนาพิเศษในหัวข้อ "นวัตกรรมสามประสาน สำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่"ในงาน "CMMU โชว์เคส" เมื่อเร็วๆนี้ ณ อาคารมิว วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์ 02-206-2000 หรือเข้าไปที่ www.cmmu.mahidol.ac.th

รศ.ดร. ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี รองคณบดีงานวิชาการ และอาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กล่าวว่า จากสถานการณ์ในยุคปัจจุบัน นวัตกรรมเข้ามามีบทบาทในด้านการขับเคลื่อนภาคธุรกิจเป็นอย่างมากทั้งในระดับประเทศ และระดับเวทีโลก ความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เป็นสัญญาณที่ดีที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความตื่นตัวของภาคธุรกิจในประเทศไทยที่มีต่อกระแสโลกเทคโนโลยีและนวัตกรรมในปัจจุบัน เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบที่มีต่อภาคธุรกิจแล้ว หลักการตลาดแบบเดิมๆอย่าง 4P หรือ 4C ไม่สามารถครอบคลุมกลยุทธ์การทำการตลาดอีกต่อไป โดยนักการตลาดในยุคปัจจุบันควรคำนึงถึงผลกระทบจากนวัตกรรม 3ด้านหลักๆ ได้แก่ นวัตกรรมในด้านพัฒนาตัวสินค้าและบริการ (iProduct) นวัตกรรมและทิศทางภาพรวมการตลาด (iMarket) และนวัตกรรมที่ส่งผลต่อช่องทางการทำธุรกิจ (iChannel)

รศ.ดร. ณัฐสิทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมเรื่อง นวัตกรรมในด้านพัฒนาสินค้าและบริการ (iProduct & Service) ว่า นวัตกรรมกลายเป็นหนึ่งในตัววัดผลสำคัญของธุรกิจ อันเห็นได้จากการที่หลายบริษัทหันมาให้ความสนใจ และลงทุนกับด้านการทำวิจัยและพัฒนา (Research & Development)เพื่อค้นหานวัตกรรมใหม่ในการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ บริการ หรือแม้กระทั่งรูปแบบธุรกิจแบบใหม่ๆมากขึ้น แต่มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทเหล่านั้น ลงทุนไปกับการวิจัยและพัฒนาอย่างเปล่าประโยชน์ เนื่องจากบริษัทเหล่านั้นมองเห็นว่าการทำวิจัยและพัฒนาเป็นคนละเรื่องกับการทำธุรกิจที่ทำอยู่ทุกวัน เช่น การแยกแผนกวิจัยและพัฒนา ออกจากผู้ประกอบกิจกรรมต่างๆในธุรกิจ ซึ่งนำไปสู่การขาดอินไซท์ที่แท้จริงของผู้ปฏิบัติงาน โดยที่ความจริงแล้วการทำวิจัยและพัฒนาควรเป็นการใช้กระบวนการอย่างมีระบบ(Systematic Process) หรือปลูกฝังให้อยู่ในวัฒนธรรมขององค์กร (Organization Culture) ซึ่งหากบริษัทต่างๆหันมาปฏิบัติเช่นนี้แล้ว ผลการวิจัยและพัฒนาที่ได้ลงทุนไป จะมีโอกาสสำเร็จขึ้นอีกกว่าเท่าตัว

หลังจากได้แนวคิดที่น่าสนใจแล้ว การทำให้แนวคิดหรือไอเดียต่างๆเหล่านั้นสามารถเกิดขึ้นได้จริงและเป็นประโยชน์กับธุรกิจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ท้าทายกับทุกองค์กร โดยเฉพาะหากแนวคิดเหล่านั้นเป็นเรื่องใหม่ ที่ทางองค์กรไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในเรื่องดังกล่าว หนึ่งตัวแปรสำคัญซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถขจัดปัญหาต่างๆเหล่านี้คือ Crowdsourcing หรือการระดมความคิดเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาแบบออนไลน์ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวทำหน้าที่ในการเป็นตัวกระจายปัญหาไปยังวงกว้างเพื่อหาคำตอบ และสามารถนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาธุรกิจตามโจทย์ที่ได้รับมาจากการทำวิจัยและพัฒนา รศ.ดร. ณัฐสิทธิ์ กล่าวต่อ

อาจารย์บุริม โอทกานนท์ รองคณบดีงานสนับสนุนการศึกษา และอาจารย์ประจำสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กล่าวเพิ่มเติมในหัวข้อ นวัตกรรมและภาพรวมทิศทางการตลาด (iMarket) ว่า ปัจจุบันนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทอย่างมากกับภาพรวมการตลาด และถือได้ว่าเป็นตัวแปรสำคัญในการปฏิวัติแนวความคิดการทำธุรกิจยุคใหม่ เพราะในสภาวะที่เหล่าธุรกิจสตาร์ทอัพได้มีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเข้าสู่ตัวธุรกิจ หากผู้ประกอบการธุรกิจใดยังไม่ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม ย่อมเสี่ยงต่อการเสียโอกาสในการยึดครองพื้นที่ในการตลาดมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่ทำให้เห็นว่า นวัตกรรมเป็นตัวกำหนดทิศทางการตลาดในปัจจุบันและสามารถคาดการณ์ถึงทิศทางการตลาดในอนาคตอันใกล้ได้เป็น 7 ลักษณะดังต่อไปนี้

1. Accelerated Change – การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนโลกจะรวดเร็วขึ้นและทั่วถึงมากขึ้น

2. Fast Innovation – นวัตกรรมใหม่ๆจะถูกพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

3. Smart Technology – วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในทุกตัวแปรของธุรกิจ ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ บริการ โมเดลธุรกิจ

4. Predictive System – ทุกอย่างจะสามารถวัด และคาดการณ์อนาคตได้ โดยระบบการคาดการณ์นี้จะสำคัญต่อเรื่องทิศทางการตลาดเป็นอย่างมาก

5. Connected Markets – ทุกตลาดจะเชื่อมโยงกันหมดทั่วโลก การซื้อขายแลกเปลี่ยนทั่วโลกจะสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิม

6. Digital Everything – ทุกอย่างจะเข้าสู่ระบบดิจิตอล ตั้งแต่การเก็บข้อมูล ประมวลผล และปฏิบัติการต่างๆจะผ่านระบบดิจิตอล

7. Mobile Commerce – ช่องทางการซื้อขายแบบติดตัว ที่ผู้ใช้โทรศัพท์ทุกคนสามารถติดต่อ ซื้อ ขาย ได้อย่างสะดวก ตลอดเวลา

ด้าน อาจารย์กิตติชัย ราชมหา อาจารย์ประจำสาขาผู้ประกอบการและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กล่าวเสริมในเรื่อง นวัตกรรมที่ส่งผลต่อช่องทางการทำธุรกิจ (iChannel) ว่า นอกจากนวัตกรรมจะส่งผลต่อการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ และภาพรวมการตลาดแล้ว อีกหนึ่งผลกระทบสำคัญจากนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงช่องทางในการทำธุรกิจ และเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตในด้านต่างๆ (Disruption) โดยหนึ่งในนวัตกรรมที่เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่องการอำนวยความสะดวกด้านการเงิน และธุรกรรมทางการเงินกับธุรกิจต่างๆ คือ ฟินเทค (FinTech) ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน ฟินเทคเป็นมากกว่าสิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่องธุรกรรมทางการเงิน แต่ฟินเทคได้กลายเป็น"อาวุธ" สำคัญที่ทำให้นวัตกรรมที่ถูกคิดค้นขึ้น สามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจและสร้างโอกาสการเติบโตแบบก้าวกระโดดสำหรับโมเดลธุรกิจที่พัฒนาขึ้น (Commercialization) และถูกแพร่กระจายต่อ (Diffusion) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ฟินเทค คือนวัตกรรมที่ส่งผลต่อช่องทางการทำธุรกิจ สามารถสังเกตได้จากสถานการณ์ของฟินเทคในเวทีโลกที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง มูลค่าการลงทุนในธุรกิจฟินเทคเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยในไตรมาสแรกของปี 2559 นี้ มีการเติบโตขึ้นถึง 67เปอร์เซ็นต์ ต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่ารวมถึง 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง 62 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการลงทุนนั้นเกิดขึ้นในเอเชียและยุโรป และจากการสำรวจแบบเจาะลึกถึงการเติบโตของมูลค่าการลงทุนในเอเชียของปี 2557 – 2558 พบว่า มีการเติบโตขึ้นถึง 445 เปอร์เซ็นต์ โดยหลักๆมาจาก 2ประเทศมหาอำนาจ คือ จีน (2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ อินเดีย (1.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) อาจารย์กิตติชัย กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ได้จัดสัมมนาพิเศษในหัวข้อ "นวัตกรรมสามประสาน สำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่"ในงาน "CMMU โชว์เคส" เมื่อเร็วๆนี้ ณ อาคารมิว วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์ 02-206-2000 หรือเข้าไปที่ www.cmmu.mahidol.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?