ซิป้า ปลื้มนิสิตจุฬาฯ คว้าแชมป์เป็นครั้งแรก สำหรับการประกวด ACM – ICPC Asia Regional Programming Contest 2016 ที่ประเทศเมียนมา

พุธ ๑๔ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๔:๕๖
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมแสดงความยินดีกับทีมจากวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่ง ACM – ICPC Asia Regional Programming Contest 2016 จัดขึ้นที่ประเทศเมียนมา โดยมีทีมจากมหาวิทยาลัยต่างๆ 60 ทีม เช่น Peking University, Shanghai Jiao Tong University, Universitas Indonesia, Osaka University, National University of Singapore, Nanyang Technological University, Yonsei University (South Korea), National Chiao Tung University (Taiwan), FPT University (Vietnam) เป็นต้น เมื่อวันที่ 8 – 9 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ได้รับรางวัลดังกล่าว ตลอดเวลากว่า 7 ปี ซิป้าได้ส่งเสริมและสนับสนุนเยาวชนไทยในการแข่งขันการเขียนโปรแกรม ACM - ICPC เรื่อยมาและเห็นพัฒนาการของเยาวชนเหล่านี้

นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ กล่าวว่า สำหรับการแข่งขัน ACM International Collegiate Programming Contest (ACM - ICPC) เป็นการแข่งขันการเขียนโปรแกรมสำหรับอุดมศึกษาในระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียงที่สุด แบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ลำดับคือ Local Contest หรือการแข่งขันระดับประเทศ ซึ่งซิป้าได้เริ่มทำการส่งเสริมการแข่งขันดังกล่าวตั้งแต่ปี 2552 เริ่มแรกได้รับความร่วมมือจากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้ในปีต่อมามีการจัดแข่งขันโดยตัวแทนจากมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่าง ๆ คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้การจัดการแข่งขันกระจายครอบคลุมทั่วประเทศมากยิ่งขึ้นและในปี 2555 ซิป้าได้เพิ่มศูนย์การแข่งขันในเขตภาคกลางอีกแห่ง เนื่องจากมีมหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนเกี่ยวกับด้านนี้เป็นจำนวนมาก โดยทีมที่ผ่านการแข่งขันในระดับภูมิภาคก็จะมีโอกาสเข้าแข่งในระดับประเทศเพื่อหาตัวแทนเข้าแข่งขันในระดับนานาชาติหรือ Regional Contest และผู้ที่ผ่านการแข่งขันในระดับนี้ก็จะได้เป็นตัวแทนไปแข่งระดับโลกหรือ World Finals ต่อไป อย่างไรก็ดีในระหว่างการเก็บตัวเพื่อไปแข่งระดับ Regional Contest ซิป้ายังได้เตรียมความพร้อมเยาวชนที่เป็นตัวแทนทั้งหลายเข้าโครงการ Boost Up camp เพื่อฝึกฝนและเพิ่มความชำนาญก่อนแข่งขัน

ทั้งนี้ที่ผ่านมาเป้าหมายในการสนับสนุนการแข่งขัน ACM - ICPC ของซิป้าเพื่อส่งเสริมและสร้างทักษะ ความสามารถในการเขียนโปรแกรม ความรู้ด้านอัลกอริทึม ของนิสิตนักศึกษา และสร้างกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพราะเราถือเป็นหน่วยงานแรกที่ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว และนอกจากนี้การสนับสนุนตั้งแต่ระดับภูมิภาค ก็เพื่อเตรียมความพร้อมของเยาวชนไทย ในการเข้าแข่งขันระดับนานาชาติและเพิ่มโอกาสให้เยาวชนของเรามีโอกาสเข้าสู่รอบ World Final ต่อไปและนอกจากนี้ยังเป็นการสร้างเวที ให้เกิดนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ของประเทศที่มีคุณภาพ เพื่อป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นภารกิจหลักของซิป้า

"ซิป้ามีความหวังว่าเยาวชนไทยจะประสบความสำเร็จในรอบ World Final ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2560 และเชื่อว่าความสำเร็จในปีนี้ เป็นก้าวสำคัญที่จะผลักดันให้เยาวชนไทยหันมาพัฒนาศักยภาพตนเองเพื่อการแข่งขันในระดับนานาชาติและสร้างแรงบันดาลใจว่าเยาวชนไทยไม่ได้ด้อยกว่าประเทศอื่น โดยเวทีเหล่านี้เป็นสนามเก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อช่วยสร้างบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ไทยที่มีคุณภาพต่อไป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจหลักสำคัญของซิป้าที่ต้องการพัฒนาบุคลากรด้านนี้ให้เข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และจะเป็นส่วนสำคัญช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลตามนโยบายของรัฐบาล"นายฉัตรชัยกล่าว

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรรถสิทธิ์ สุรฤกษ์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ดูแลนิสิตทีมจุฬาลงมหาวิทยาลัย กล่าวว่า ซิป้าได้ให้การสนับสนุนการแข่งขัน ACM – ICPC มาตลอด และเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ โดยที่ผ่านมาซิป้าได้สนับสนุบการจัดการแข่งขันในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ นอกจากนี้ได้สนับสนุนทุนในการไปแข่งขันระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นการสร้างสนามให้เด็กๆได้ฝึกฝน โดยเป็นปัจจัยสำคัญให้ครั้งนี้ประเทศไทยได้รับรางวัลกลับมา เพราะการแข่งขัน ACM – ICPC นั้น ผู้แข่งขันจะต้องเขียนโปรแกรมแก้ไขปัญหาโจทย์ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และอัลกอริทึม ภายในเวลาที่จำกัด การที่จะชนะได้ต้องได้รับการฝึกฝนและอาศัยความชำนาญในการแก้โจทย์ที่ซับซ้อน ดังนั้นการมีเวทีเช่นนี้ก็เป็นส่วนที่ทำให้เด็กๆ เยาวชนไทยสามารถพัฒนาศักยภาพตนเองได้และที่สำคัญจากการแข่งขันในทุกปี สังเกตได้ว่าผู้สมัครเข้าร่วม ให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ และมีความสามารถมากขึ้นตาม นอกจากนี้เยาวชนหลายคนเริ่มหันมาสนใจเรียนการเขียนโปรแกรมมากขึ้นเนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัว ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องเร่งพัฒนาและสนับสนุนในเรื่องดังกล่าวเพื่อสร้างบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ให้มีศักยภาพ พร้อมผลิตซอฟต์แวร์ไทยเพิ่มมากขึ้นจนสามารถส่งออกได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4