เทียบกันชัดๆ QLED VS OLED ทีวีแบบไหนคือตัวจริง

อังคาร ๒๐ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๐๙:๓๐
ในช่วงนี้ผู้บริโภคที่กำลังเลือกซื้อทีวีอาจจะสับสนระหว่าง QLED TV และ OLED TV ว่าเทคโนโลยีสองชนิดนี้แตกต่างกันอย่างไร ซึ่งถึงแม้ว่าสองคำนี้จะเขียนคล้ายกันและเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นสำหรับหน้าจอ แต่มีประสิทธิภาพและความเหมาะสมในการใช้งานต่างกัน หน้าจอ QLED คือทีวีที่ใช้เทคโนโลยีแบบควอนตัมดอท ในขณะที่ OLED ใช้โครงสร้างหน้าจอแบบออร์แกนิคในการสร้าง backlight แต่ก็ไม่เหมือนกับหน้าจอ AMOLED บนมือถือ ดังนั้นความแตกต่างของโครงสร้างหน้าจอจึงทำให้ QLED และOLED มอบประสบการณ์การรับชมทีวีที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง วันนี้ขออาสาเปรียบเทียบความแตกต่างของหน้าจอแบบ QLEDและ OLED ให้ได้รู้กันไปเลยว่านวัตกรรมใดกันแน่ที่เป็นนิยามใหม่ของทีวีอย่างแท้จริง

· การแสดงผลภาพแบบ RGB

ทีวีโดยทั่วไปใช้การเปล่งแสงสีแดง เขียวและน้ำเงินเพื่อแสดงภาพที่ผู้ชมเห็นบนหน้าจอ ดังนั้นภาพบนหน้าจอควรจะมีสีสันแม่นยำคมชัดทุกครั้งที่เปิดใช้งาน แต่กระบวนการแสดงผลภาพของทีวีแต่ละเครื่องนั้นต่างกัน เทคโนโลยีแบบควอนตัมดอทสามารถแสดงสีแดง เขียว น้ำเงินได้อย่างถูกต้องตามค่า RGB ในขณะที่ OLED ใช้หน้าจอแบบ WOLED ในการผลิตสี ซึ่ง W ในคำนี้ หมายถึง สีขาว นั่นหมายถึง ใช้การผสมสีขาวร่วมกับ RGB ทำให้สีสันไม่ถูกต้องตามจริงนั่นเอง

· ความเข้มข้นของสี (Color Volume)

ระดับความเข้มข้นของสีคือการที่แสงส่องผ่านเม็ดพิกเซลสี เกิดเป็นเฉดต่างๆ ของภาพบนหน้าจอ ซึ่งมีความแตกต่างกันหลายระดับ ตั้งแต่มืดที่สุดจนถึงสว่างที่สุด QLED TV สามารถแสดงสีได้แม่นยำ 100% ให้ผู้ชมสัมผัสกับสีสันต่างๆ ได้อย่างเต็มอิ่ม ในขณะที่ OLED TV ไม่สามารถแสดงสีบนภาพที่มีความสว่างมากๆ ได้ 100% โดยที่สี จะถูกทำให้จางลงเหลือ 70% เท่านั้น สีสันต่างๆ บนหน้าจอจะดูซีดลง

· การแสดงผลแบบ HDR

ลองจินตนาการว่ากำลังดูภาพยนตร์แอ็คชั่นแล้วตัวร้ายกำลังยืนแอบอยู่ในมุมมืด ผู้ชมย่อมอยากเห็นรายละเอียดในฉากนั้นชัดๆ แต่การเร่งความสว่างหน้าจอสูงเกินไปไม่ดีต่อสายตา QLED TV แสดงผลแบบ HDR สูงถึง 1,500-2,000 แรงเทียน (nit) ซึ่งใกล้เคียงกับกับระดับแสงสว่างตามธรรมชาติที่สายตามนุษย์สามารถมองเห็นได้ ในขณะที่ OLED ให้ค่าการแสดงผล HDR เพียงแค่ครึ่งหนึ่งของ QLED TV เท่านั้น ทำให้รายละเอียดของภาพที่แสดงบนหน้าจอไม่ครบถ้วน

· มุมมองของการรับชม (Viewing Angle)

QLED TV มีอัตราการกระจายแสงบนหน้าจอที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยให้การแสดงผลไม่ผิดเพี้ยน ไม่ว่าผู้ชมจะอยู่มุมซ้าย ขวาหรือกลาง ทำให้ทุกที่นั่งคือที่ๆ ดีที่สุด แต่ OLED TV มีมุมมองการรับชมที่จำกัด ผู้ชมที่นั่งอยู่ด้านข้างของหน้าจอจะเห็นสีภาพในทีวีผิดเพี้ยน

·

อายุการใช้งาน (Lifespan)

ทีวีเครื่องหนึ่งจะอยู่กับเราไปอีกนาน ดังนั้นผู้บริโภคจึงต้องการทีวีที่มีความทนทานสมกับเป็นศูนย์กลางความบันเทิงภายในบ้านQLED TV ผลิตจากวัสดุเมทัลควอนตัมดอทที่ทนทานมากขึ้นถึง 4 เท่าและแสดงผลได้ถูกต้องตลอดอายุการใช้งาน ส่วนหน้าจอOLED ใช้โครงสร้างหน้าจอที่เป็นออร์แกนิค จึงเสื่อมสภาพได้ตามอายุการใช้งาน กล่าวคือ เมื่อใช้ไปนานๆ สีที่ให้จะไม่สดเท่าเดิม

· ปัญหาภาพค้างที่หน้าจอ (Burn-in)

ปัญหาภาพค้างบนหน้าจอทีวีถือเป็นปัญหาโลกแตกและน่ารำคาญใจมาก โครงสร้างจอของ QLED TV ผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ซึ่งทำให้ปัญหาภาพค้างบนหน้าจอหมดไปแม้จะเปิดใช้งานในระดับความสว่างสูงสุด แต่ OLED ใช้โครงสร้างหน้าจอแบบออร์แกนิคที่ส่งผลให้ภาพเงาค้างบนหน้าจอได้ เมื่อมีภาพนิ่งค้างอยู่บนหน้าจอเป็นระยะเวลานาน (เช่น โลโก้มุมขวาของช่องทีวี) ซึ่งเป็นปัญหาหลักของหน้าจอแบบ OLED ดังนั้นผู้ชมจะเพลิดเพลินกับรายการต่างๆ ได้ดีกว่าเมื่อรับชมจาก QLED TV

ผู้เชี่ยวชาญจากซัมซุงกล่าวว่า หน้าจอแบบ OLED เหมาะสำหรับการผลิตสมาร์ทโฟนที่มีระยะเวลาการใช้งานต่อครั้งน้อยแต่ใช้ถี่ และอายุการใช้งานที่ไม่ยาวนานเท่าทีวี เนื่องจากแนวโน้มผู้บริโภคเปลี่ยนสมาร์ทโฟนบ่อยกว่าทีวี ซึ่งอันที่จริงแล้ว ซัมซุงเป็นผู้ผลิตทีวีรายแรกที่พัฒนาทีวีหน้าจอแบบ OLED ตั้งแต่ปี 2555 แต่เนื่องจากหน้าจอแบบ OLED ไม่เหมาะกับการแสดงผลบนหน้าจอทีวี ซัมซุงจึงไม่หยุดยั้งความตั้งใจที่จะพัฒนานวัตกรรมใหม่เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีประสบการณ์การรับชมทีวีที่เหนือระดับ ได้อรรถรสที่เต็มอิ่มกว่าเคย จนล่าสุดเปิดตัว Samsung QLED TV ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีล่าสุดในวงการทีวีโลก สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Samsung QLED TV ติดตามได้ที่ www.samsung.com/th/qled/

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest