สนช. ดึงกูรูจุดประกายสร้างนักรบธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรรุ่นใหม่

พุธ ๑๒ กรกฎาคม ๒๐๑๗ ๑๕:๒๖
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) ได้มอบนโยบายให้ศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร (ABC center) สร้างนักรบธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรรุ่นใหม่ AgTech Innovation Startup เพื่อปรับเปลี่ยนแนวทางการเกษตรของไทย สู่การสร้างสาขาธุรกิจใหม่ ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ผนวกกับพื้นฐานองค์ความรู้ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อมุ่งให้เกิดแนวทางการแก้ไขปัญหาในรูปแบบใหม่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรฐานรากของประเทศ จุดประกายความคิดและเปิดมุมมองใหม่ให้กับนักรบธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรรุ่นใหม่

ดร. พันธ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สนช. กล่าวว่า ในฐานะองค์กรหลักในการพัฒนาระบบนวัตกรรมแห่งชาติของประเทศไทย โดยอาศัยกลไกทั้งทางด้านวิชาการและการเงิน โดยประเทศไทยเป็นฐานการผลิตผลิตผลเกษตรและเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญอันดับต้นๆ ของโลก เช่น ผู้ผลิตและส่งออกยางเป็นอันดับหนึ่งของโลก ผู้ส่งออกมันสำปะหลังเป็นอันดับหนึ่งของโลก จึงนับว่าภาคเกษตรนั้นมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แต่ด้วยเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมที่ให้ผลผลิตต่ำ ทำให้เกษตรกรของไทยยังคงมีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจน การผลิตที่ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนการผลิต ตลอดจนปัญหาที่คุกคามการทำการเกษตร เช่น ปัญหาการขยายพื้นที่ของชุมชนเมือง ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอาการ ตลอดจนปัญหาการสูญเสียจากกระบวนการแปรรูปและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ดังนั้น สนช. จึงได้จัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์นวัตกรรมการเกษตร หรือ Agro Business Creative Center เรียกสั้นๆ ว่า ABC Center ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการสร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมด้านการเกษตรอย่างครบวงจร ซึ่งนับได้ว่าเป็นโอกาสและความท้าทายของนักรบธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรรุ่นใหม่เป็นอย่างยิ่ง ที่จะร่วมกันสร้างสร้างธุรกิจนวัตกรรมสตาร์ทอัพด้านการเกษตร หรือ AgTech Innovation Startup ให้เกิดเพิ่มมากขึ้นทั้งในด้านจำนวนและคุณภาพ ด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดธุรกิจนวัตกรรมเกษตร ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่มีการทำการเกษตรด้วยเทคโนโลยีทันสมัย เป็นเกษตรกรรมของอนาคต เช่น เกษตรกรรมแบบแม่นยำสูงหรือฟาร์มอัจฉริยะ เกษตรหุ่นยนต์ การจัดการเกษตรแปลงใหญ่ และการจัดการผลิตผลเกษตรแบบครบวงจร ทั้งนี้เพื่อนำนวัตกรรมการเกษตรมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยแก้ปัญหาของเกษตรกรไทยให้มีความเป็นอยู่ทีดีขึ้น สนช. ได้เปิดรับแนวคิดในการร่วมกันแก้ปัญหาและยกระดับการเกษตรของไทยอย่างครบวงจรภายใต้โครงการ AgTech Innovation Challenge สามารถส่งแนวคิดข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาโครงการภายใน 30 กันยายน 2560 นี้

นายนที แสง CEO & Founder บริษัท เมกเกอร์สเปซ จำกัด จากแนวคิดการสร้าง co-working space ที่มีเครื่อง 3D-printer ในการได้ทดลองเปลี่ยนจากแนวคิดมาสู่เครื่องต้นแบบที่ใกล้คียงกับการทำงานจริง ให้ข้อคิดเห็นว่า คนไทยเป็นคนเก่งมากในการปรับเปลี่ยนและแก้ไขปรับปรุงในการสร้างนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเกษตร ซึ่งเป็นพื้นฐานชีวิตของคนไทย ขอให้กล้าคิดและลงมือทำ เพื่อนำแนวคิดไปสู่การปฏิบัติจริง มีอยู่หลากหลายหลายสาขาที่ต้องพัฒนาปรับปรุง โดยมีตัวอย่างของการลงมือทำแล้วที่เชียงใหม่นั่นคือ โรงงานเพาะปลูกในโรงเรือนโดยหลอดแอลอีดีในการเลียนแบบสถาะธรรมชาติที่จะให้พืชเกิดการสังเคราะห์แสง ทำให้จะลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมี ตลอดจนลดระยะเวลาการเพาะปลูกพืชลงกว่า 3 เท่า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าของแฟนเพจชื่อดัง "เกษตรอัจฉริยะ" ที่มีผู้ติดตามกว่า 400,000 คน ได้ให้มุมมองและโอกาสในการสร้างสตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ที่เกษตรไทยต้องปรับตัวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก และแนวคิดใหม่ของประเทศมหาอำนาจทั่วโลกที่จะเปลี่ยนจากน้ำมันใต้ดิน สู่การสร้างการเกษตรแนวคิดใหม่เป็นน้ำมันบนดินในการฐานอำนาจใหม่ โดยได้เสนอกรอบแนวทางของการสร้างสตาร์ทอัพด้านการเกษตรไว้ 3 แนวทาง ได้แก่ 1) การสร้างเกษตรคลื่นลูกใหม่ (New Wave) เป็นแนวทางใหม่ที่จะไม่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ในการทำเกษตรกรรม สามารถปลูกพืชได้ทั่วโลก เช่น การปลูกกล้วยในตุรกี การปลูกผักในเมืองของประเทศจีน หรือ แนวคิดของ circular economy ตัวอย่างเช่น มีกลุ่มสตาร์ทอัพที่จะรวบรวมเศษอาหารจากบ้านเรือนเพื่อนำไปเลี้ยงหนอนแมลงสำหรับการใช้เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสัตว์ จะเกิดการใช้ประโยชน์ของเสียอย่างคุ้มค่า 2) การสร้างเกษตรรูปแบบใหม่ (New Platform) เป็นการปรับเปลี่ยนธุรกิจการเกษตรจากรูปแบบเดิมๆ เช่น จากเลี้ยงสัตว์ เป็นการปลูกสัตว์ ที่จะผลิตโปรตีนชนิดใหม่ที่เรียกว่า เนื้อของซิลิคอนวัลเลย์ ที่จะมาเป็นคู่แข่งและสร้างทางเลือกใหม่ของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกลุ่มของ google และการพัฒนาธุรกิจเกษตรที่ไม่มีของเสีย 3) การสร้างเกษตรในอนาคต (New Frontier) เป็นการสร้างเกษตรในพื้นที่ใหม่ เช่น การปลูกพืชในดาวอังคาร หรือการสร้างระบบการสื่อสารกับพืชเพื่อให้เกิดการผลิตตามที่ต้องการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4