กระทรวงดิจิทัลฯ หนุน DEPA ออกมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์ ระดับ SME ของไทย สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเวทีโลก

พฤหัส ๒๑ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๒:๐๑
กระทรวงดิจิทัลฯ สนับสนุนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ช่วยเหลือผู้ประกอบการ ด้านซอฟต์แวร์ระดับ SME ของไทย ด้วยมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้ ลดข้อจำกัดในการแข่งขัน หวังผลักดันผู้ประกอบการและผู้ให้บริการด้านซอฟต์แวร์ในประเทศสู่เวทีระดับโลก

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า ในการเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตามนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล หรือ Digital Economy การส่งเสริมและวางรากฐานถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ซึ่งการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ในทุกกระบวนการธุรกิจเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และทำให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาด AEC และตลาดโลกได้ ซึ่งในอดีตมีเพียงองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น ที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการลงทุนระบบซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ แต่ปัจจุบันความเหลื่อมล้ำดังกล่าวได้ถูกทดแทนด้วยผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ภายในประเทศที่มีศักยภาพ ซึ่งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลฯ ได้สนับสนุนและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยอย่างต่อเนื่องจนสามารถเกิดกลุ่มนักพัฒนาที่มีศักยภาพในการสร้างซอฟต์แวร์เพื่อรองรับความต้องการของตลาดธุรกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ได้ออกมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการด้านซอฟแวร์ไทย เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระดับสากล โดยประกาศมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้ 100% สำหรับผู้ประกอบการ SME เมื่อซื้อหรือใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากนักพัฒนาหรือผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ของประเทศไทยที่ขึ้นทะเบียนกับ DEPA ซึ่งภาษีที่หักต้องอยู่ในหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนดในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท เพิ่มเติมถึงคำว่าลดภาษี 200% ว่า หัก 100% เป็นค่าใช้จ่าย และหักค่าเสื่อมได้อีก 3 ปี รวมเป็น 200%

สำหรับเงื่อนไขของผู้ประกอบการหรือ SME มีดังนี้ 1) ต้องเลือกใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากนักพัฒนาหรือผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่ขึ้นทะเบียนกับ DEPA หรือมีรายชื่ออยู่กับ DEPA เท่านั้น 2) ผู้ประกอบการต้อง จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และมีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย มีหุ้นเป็นทุนตั้งแต่ 51% ของนิติบุคคลนั้น และถือหุ้นโดยบุคคลที่มีสัญชาติไทย

ทั้งนี้ ในด้านเงื่อนไขผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ที่อยากขึ้นทะเบียนมีชื่อใน DEPA ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 1) เป็นผู้ทำธุรกิจด้านพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น ไม่ใช่ตัวแทนขายจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2) ได้รับการรับรองมาตรฐานกระบวนการผลิตหรือพัฒนาบริการซอฟต์แวร์ เช่น ISO/IEC 29110 หรือ CMMI หรือมาตรฐานอื่นตามที่สำนักงานฯ กำหนดการลดภาษีดังกล่าว เป็นนโยบายส่งเสริมให้ SME และผู้ประกอบการ มีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์กรเพื่อยกระดับมาตรฐานและก้าวทันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ยุคไทยแลนด์ 4.0 อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมผู้ผลิตและผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ของคนไทย เกิดการกระตุ้นให้ผลิตซอฟต์แวร์รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการธุรกิจในไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๓๙ สมาคมธนาคารไทย ออกแนวทางช่วยเหลือเพิ่มเติม เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบางทั้งลูกค้าบุคคลและSME
๑๔:๐๒ ผู้ลงทุนเชื่อมั่น โลตัส (Lotus's) จองซื้อหุ้นกู้เต็มจำนวน 9 พันล้านบาท
๑๔:๑๕ สมัครบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า รูดช้อปรับคุ้ม! รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 5%
๑๔:๔๘ MASTER ประชุมผู้ถือหุ้นปี 67 ผ่านฉลุย ไฟเขียวจ่ายปันผล เดินหน้าสร้างโอกาสโตตามกลยุทธ์ MP
๑๔:๔๓ ธนาคารกรุงเทพ จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนาม MOU ส่งเสริมการผลิตบุคลากร-พัฒนาศักยภาพ-ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีดิจิทัล
๑๔:๒๐ ITEL จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. เห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผลอัตรา 0.0696 บ./หุ้น
๑๔:๒๙ ไทยพาณิชย์ ตอกย้ำกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch เปิดตัว โปรจีน อาฒยา นักกอล์ฟหญิงระดับโลก เป็น Brand
๑๔:๓๐ KCG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 พร้อมอนุมัติจ่ายปันผล 0.30 บาทต่อหุ้น
๑๔:๔๙ บาฟส์ ประกาศความสำเร็จ ลุยขยายโครงข่ายขนส่งน้ำมันทางท่อ เชื่อมต่อเครือข่ายพลังงานทั่วไทย
๑๔:๓๙ บีโอไอจับมือพันธมิตร จัดงาน SUBCON Thailand 2024