สจล. แนะพัฒนา กทม. ให้เป็น “สมาร์ท ซิตี้” บอกลาปัญหา ฝนตก - น้ำท่วม – รถติด ยกคุณภาพชีวิตคนกรุง

พฤหัส ๑๑ มกราคม ๒๐๑๘ ๑๕:๑๕
สจล. ชวนเช็คสภาพอากาศวางแผนชีวิตและการเดินทาง ผ่านแอพพลิเคชั่น WMApp ที่มีความแม่นยำที่สุดในอาเซียน เผยสภาพอากาศ ช่วง 6 วันจากนี้ ต้องจับตาฝนบริเวณภาคใต้ ชี้ 13 ม.ค. อุณหภูมิจะต่ำสุด จากนั้นจะค่อยๆ อุ่นขึ้น

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) แนะแนวทางการพัฒนากรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมืองอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบ ระบุหน่วยงานรัฐต้องศึกษาและปรับทุกระบบให้มีพร้อมในหลายด้าน โดยเฉพาะระบบเตือนภัยพิบัติอัจฉริยะ (Smart Disaster) ระบบการขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) ระบบสาธารณูปโภคอัจฉริยะ (Smart Infrastructure) และระบบสารสนเทศอัจฉริยะ (Smart IT) เนื่องจากระบบเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนโดยตรง ชี้ปัญหา "ฝนตก" "น้ำท่วมขัง" และ "รถติด" คือสิ่งบั่นทอนคุณภาพชีวิตคนเมืองหลวง ชวนตรวจสอบสภาพอากาศ เพื่อวางแผนการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ผ่านแอพพลิเคชั่น "WMApp" ที่มีความแม่นยำที่สุดในอาเซียน ความพิเศษคือสามารถระบุตำแหน่งพื้นที่ พร้อมบอกความหนักเบา และเวลาที่ฝนจะตก ได้ทั้งระยะสั้นล่วงหน้า 28 ชม. หรือ 1 วัน และระยะยาวล่วงหน้า 5.5 วัน หรือติดตามได้ทางเฟสบุ๊กแฟนเพจ "สจล. พยากรณ์อากาศประเทศไทย" ย้ำ 11-16 ม.ค. จับตาฝนบริเวณภาคใต้ ขณะที่ตอนบนของประเทศส่วนใหญ่ค่อนข้างโล่ง อุณหภูมิจะต่ำสุดวันที่ 13 ม.ค. นี้ จากนั้นจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น และจะอุ่นขึ้นชัดเจนในวันที่ 16 ม.ค.

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า ทุกวันนี้ชีวิตคนเมืองหลวงต้องเผชิญกับปัญหาหลากหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่สภาพอากาศแปรปรวน เกิดฝนตกหนักเป็นระยะเวลานานเกินกว่าศักยภาพการระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร ส่งผลทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังและรถติดเป็นอัมพาตยาวนาน จนกลายเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าที่ผ่านมาหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาทางแก้ไข แต่ในทางปฏิบัติยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดข้อมูลข่าวสารที่ช่วยในการตัดสินใจ การวางแผน และการวิเคราะห์ เพื่อหนทางลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างทันท่วงที เป็นเหตุทำให้การแก้ไขและจัดการปัญหาต่างๆ ใน ล่าช้าไม่ทันสถานการณ์ อย่างเช่นเหตุการณ์ฝนตกหนักเมื่อช่วงเช้าวานนี้ ที่ชาวกรุงเทพมหานครได้รับผลกระทบอย่างหนัก ในความเป็นจริง สจล. สามารถทำนายล่วงหน้าได้แล้วว่าฝนจะตกจุดไหน เวลาอะไร เพราะเรามีแอพพลิเคชั่นพยากรณ์อากาศที่แม่นยำ หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้มมูลไปใช้ จะช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ลดการสูญเสียทางด้านเวลา ค่าใช้จ่าย และสุขภาพจิต

"วันนี้ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทย โดยเฉพาะในเมืองหลวงอย่าง กทม. เมืองที่มีความวุ่นวายไม่หยุดนิ่ง ต้องก้าวข้ามปัญหาและข้อจำกัดเดิมๆ โดยการพัฒนาสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีอันชาญฉลาด ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือฝนตก น้ำท่วม รถติด ทั้งสามเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อกันเป็นทอดๆ ปัญหานี้ไม่เพียงเกิดจากระบบการทำงานที่ไม่เท่าทันสถานการณ์ แต่ยังรวมไปถึงความรวดเร็วในการส่งต่อข้อมูลข่าวสาร จากหน่วยงานรัฐไปถึงมือประชาชนด้วย ฉะนั้น หากมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ทั้งในแง่ของการพยากรณ์อากาศที่มีความแม่นยำสูง การประสานข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกประกาศคำแนะนำต่อประชาชนได้อย่างทันท่วงที จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนกรุงให้ดีขึ้นได้ เช่น ถ้ารู้ว่าพรุ่งนี้เช้าฝนจะตกหนักจนน้ำระบายไม่ทัน เมื่อผู้บริหารกรุงเทพมหานครได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว ควรเร่งออกประกาศแจ้ง เตือนไปยังประชาชน เพื่อให้แต่ละคน แต่ละหน่วยงาน หามาตรการรองรับที่เหมาะสม เช่น การหยุดเรียนครึ่งวัน การทำงานที่บ้าน เป็นต้น" ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าว

ด้าน ดร.ประพัทธ์พงษ์ อุปลา สถาบันวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจจริยะ (Smart City innovative Research Academy – SCiRA) สจล. กล่าวว่า ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สจล. ได้ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาและผลกระทบดังกล่าว เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพมหานครให้ดีขึ้น โดยจัดตั้งสถาบันวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจจริยะ (SCiRA) ขึ้น เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมือง Smart City ที่สมบูรณ์แบบ โดยการจัดการและพัฒนาเมืองในอนาคตอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องศึกษาและปรับทุกระบบให้พร้อมในหลายด้าน โดยเฉพาะระบบเตือนภัยพิบัติอัจฉริยะ (Smart Disaster) ระบบการขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) ระบบสาธารณูปโภคอัจฉริยะ (Smart Infrastructure) ระบบสารสนเทศอัจฉริยะ (Smart IT) และระบบเศรษฐศาสตร์อัจฉริยะ (Smart Economy) เนื่องจากระบบเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนโดยตรง ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการใช้ที่ดินอัจฉริยะ (Smart Land Use) ระบบการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) ระบบสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) ระบบพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) ระบบสุขภาพอัจฉริยะ (Smart Health) และระบบอาหารอัจฉริยะ (Smart Food) โดย SCiRA จะทำหน้าที่เป็นศูนย์ปฎิบัติการที่คอยรวบรวมองค์ความรู้และข้อมูล เผยแพร่ไปสู่ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ด้วยรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

ด้าน ผศ.ดร.ชินวัชร์ สุรัสวดี ผู้รับผิดชอบโครงการจัดตั้งวิทยาลัยวิศวกรรมอากาศและระบบโลก (SESE) สจล. กล่าวว่า เนื่องจากในสภาพอากาศของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วฉับพลัน ประชาชนจึงควรหมั่นตรวจสอบสภาพอากาศ เพื่อวางแผนการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ด้วยการตรวจเช็คผ่านแอพพลิเคชั่น WMApp เนื่องจากมีความแม่นยำและความละเอียดสูงที่สุด รายเขตปกครองในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ "อาเซียน" สามารถระบุตำแหน่งพื้นที่ พร้อมบอกความหนักเบาและเวลาที่ฝนจะตก ได้ทั้งระยะสั้นล่วงหน้า 28 ชม. (1 วัน) และระยะยาวล่วงหน้า 5.5 วัน อันเป็นผลมาจากการวิจัยพัฒนาอัลกอริทึมประมาณค่าหยาดน้ำฟ้า (ฝน หิมะ ลูกเห็บ) จากการสังเกตของดาวเทียม และพัฒนาระบบพยากรณ์อากาศเชิงเลขความละเอียดสูงสำหรับเขตร้อน (Tropics) ต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี ซึ่งใช้ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ iOS และเพื่อความสะดวกในการอัพเดทข้อมูล และขณะนี้ได้เปิดเฟสบุ๊กแฟนเพจ "สจล. พยากรณ์อากาศประเทศไทย" ขึ้นอีกหนึ่งช่องทาง เพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงข้อมูลการพยากรณ์อากาศได้สะดวกยิ่งขึ้น

สำหรับผลการพยากรณ์อากาศในช่วงนี้มีรายละเอียด ที่ต้องเฝ้าระวังและจับตาอย่างใกล้ชิด ดังนี้

1. ฝน ผลการพยากรณ์ฝน ประเทศไทย ละเอียดเป็นรายชั่วโมง ถึงวันที่ 16 ม.ค. 61 แสดงอัตราการตกของฝนในหน่วยมิลลิเมตรต่อชั่วโมง พบว่า ในช่วงนี้พื้นที่หลักที่ต้องจับตาเรื่องฝนคือภาคใต้ ขณะที่ตอนบนของประเทศส่วนใหญ่จะโล่ง จนกระทั่งวันที่ 16 ม.ค. จะมีกลุ่มฝนบริเวณอีสานล่าง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

11 ม.ค. 61 : ภาคใต้ จะมีกลุ่มฝนแนวยาวเคลื่อนที่เข้าภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย เรียงยาวลงมาตั้งแต่ชุมพร วันไล่ลงมาถึงนราธิวาส บริเวณที่น่าจะมีฝนตกหนักคือบริเวณ ปัตตานี ยะลา สงขลา กลุ่มฝนดังกล่าวเคลื่อนที่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ จะทำให้มีฝนตกในหลายพื้นที่ภาคใต้

12 ม.ค. 61 : ภาคใต้ กลุ่มฝนเคลื่อนที่เข้าสุราษฎร์ฯ นครศรีฯ สมุย สงขลา ยะลา นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ตรังสตูล กระบี่ ภูเก็ต

13 ม.ค. 61 : ภาคใต้ กลุ่มฝนบริเวณ สงขลา นราธิวาส ยะลา นครศรีฯ สตูล

14 ม.ค. 61 : ภาคใต้ กลุ่มฝนบริเวณ สงขลา พัทลุง สมุย นครศรีฯ สตูล ตรัง กระบี่ นราธิวาส

15 ม.ค. 61 : ภาคใต้ กลุ่มฝนบริเวณ สงขลา พัทลุง นครศรีฯ สุราษฎร์ฯ สมุย ยะลา นราธิวาส ปัตตานี ตรัง กระบี่

2. ลม ผลการพยากรณ์ลมและความสูงของคลื่น ถึงวันที่ 16 ม.ค. 61 แสดงผลการพยากรณ์ความเร็วและทิศทางลม และ ความสูงของคลื่น ระยะยาวละเอียดเป็นรายชั่วโมง โดยใช้ Beaufort Scale แบ่งความเร็วลมเป็นช่วงๆ พบว่า

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ :

1) 11-13 ม.ค. 61 : ความเร็วลมสูงสุด อยู่ในช่วง "ลมจัด" ประมาณ 39-49 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

2) ตั้งแต่ 14 ม.ค. 61 ถึง15 ม.ค. 61 ก่อนเที่ยง : ความเร็วลมสูงสุดอยู่ในช่วง "ลมแรง" ประมาณ 29-38 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

3) 15 ม.ค. 61 หลังเที่ยง ถึง 16 ม.ค. 61 เวลา 7.00 น. : ความเร็วลมลดลงชัดเจน ความเร็วลมสูงสุดอยู่ในช่วง "ลมปานกลาง" ประมาณ 20-28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ภาคใต้ :

1) 10-14 ม.ค. 61 : ความเร็วลมสูงสุดอยู่ในช่วง "ลมจัด" ประมาณ 39-49 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 3-4 เมตร

2) 15 ม.ค. 61 ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง : ความเร็วลมในภาพรวมลดลง แต่บริเวณประจวบฯ ชุมพร ความเร็วลมสูงสุดยังอยู่ในช่วง "ลมจัด" ประมาณ 39-49 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 3-4 เมตร

3) 15 ม.ค. 61 หลังเที่ยงเป็นต้นไป ถึง 16 ม.ค. 61 เวลา 7.00 น. : ความเร็วลมสูงสุดอยู่ในช่วง "ลมแรง" ประมาณ 29-38 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 2-3 เมตร

3. อุณหภูมิ คำถามยอดฮิต "จะเย็นกี่วัน" พรุ่งนี้ 12 ม.ค. จะเย็นกว่าวันนี้ ส่วนวันที่ 13 ม.ค. จะเย็นลงอีก และวันที่ 14 ม.ค. จะอุ่นขึ้นเล็กน้อย 15 ม.ค. 61 จะอุ่นขึ้นอีก 16 ม.ค. 61 จะอุ่นขึ้นชัดเจน

"วันนี้อากาศเย็นสบายรู้สึกได้ถึงกรุงเทพฯ ซึ่งสอดคล้องกับผลการพยากรณ์ที่ได้พยากรณ์ไว้ล่วงหน้า คำถามยอดฮิตตอนนี้คือจะเย็นกี่วัน จากระบบของแอพพลิเคชั่น WMApp พบว่า วันที่ 11-13 ม.ค. นี้ ลมจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดเข้าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิลดลงชัดเจน ความเร็วลมจะเริ่มลดลงวันที่ 14 ม.ค. และลมจะลดลงชัดเจนหลังเที่ยงของวันที่ 15 ม.ค. ส่วนผลรายวันในวันพรุ่งนี้ 12 ม.ค. 61 อุณหภูมิบริเวณครึ่งบนของประเทศจะลดลงกว่าวันนี้ โดย 13 ม.ค. จะเป็นวันที่อุณหภูมิต่ำสุด ในช่วง 6 วันหลังจากนี้" ผศ.ดร.ชินวัชร์

นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 หรือเข้าไปที่ www.kmitl.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?